เมนู

อรรถกถาทาสวัตถุกถา


วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ทาโส นี้ว่า ทาสมี 4 จำพวกคือ
ทาสเกิดภายใน 1 ทาสที่ช่วยมาด้วยทรัพย์ 1 ทาสที่เขานำมาเป็นเชลย 1
บุคคลที่ยอมเป็นทาสเอง 1 ในทาส 4 จำพวกนั้น ลุกนางะทาสีในเรือน
เป็นทาสโดยกำเนิด ชื่อว่าทาสเกิดภายใน. บุตรที่เขาช่วยมาจากสำนัก
มารดาก็ดี ทาสที่เขาช่วยมาจากสำนักนายเงินก็ดี บุคคลที่เขาใช้ทรัพย์แทน
แล้วยกขึ้นสู่จารีตแห่งทาสถ่ายเอาไปก็ดี ชื่อว่าทาสทีช่วยมาด้วยทรัพย์. ทาส
ทั้งสองจำพวกนี้ไม่ควรให้บวช เมื่อจะให้บวช ต้องทำให้เป็นผู้มิใช่ทาสด้วย
อำนาจจารีสตในที่ชนบทนั้น ๆ แล้ว จึงควรให้บวช. ทาสที่ชื่อว่าเขานำมาเป็น
เชลย คือ พระราชาทั้งหลายทรงทำการรบนอกแว่นแคว้น หรือรับสั่งให้เกลี้ย
กล่อมกวาดต้อนเอาทั้งหมู่มนุษย์ซึ่งเป็นไททั้งหลาย มาจากภายนอกแว่นแคว้น
ก็ดี พระราชารับสั่งให้ริบบ้านบางตำบล ซึ่งกระทำผิดภายในแว่นแคว้นนั่นเอง
ราชบุรุษทั้งหลายกวาดต้อนทั้งหมู่มนุษย์มาจากบ้านตำบลนั้นก็ดี ในหมู่มนุษย์
เหล่านั้น ผู้ชายทั้งหมดเป็นทาส ผู้หญิงทั้งหมดเป็นทาสี บุคคลเห็นปานนี้
จัดเป็นทาสซึ่งเจ้านำมาเป็นเชลย. ทาสนี้ เมื่ออยู่ในสำนักชนทั้งหลายผู้นำตน
มา หรือถูกขังไว้ไนเรือนจำ หรืออันบุรุษทั้งหลายควบคุมอยู่ ไม่ความให้บวช.
แต่ขาหนีไปแล้ว พึงให้บวชในที่ซึ่งเขาไปได้. ครั้นเมื่อพระราชาทรงพอ
พระหฤทัย ทรงทำการปลดจากจำโดยตรัสว่า จงปล่อยพวกทาสที่นำมาเป็น
เชลย หรือโดยนัยเป็นสรรพสาธารณ์ พึงให้บวชเถิด. บุคคลที่ยอมตัวเป็น
ทาสเองทีเดียวว่า ข้าพเจ้าเป็นทาสของท่าน ดังนี้ เพราะเหตุแห่งชีวิตก็ตาม
เพราะเหตุแห่งความคุ้มครองก็ตาม ชื่อว่าผู้ยอมเป็นทาสเองเหมือนคนเลี้ยงช้าง