เมนู

ครั้นมารดาบิดาของเขาสืบหาอยู่ ได้เห็นเขาบวชแล้ว ในสำนักภิกษุ
จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านั้น
ช่างไม่ละอาย เป็นคนทุศีล พูดเท็จ รู้อยู่แท้ ๆ บอกว่าไม่รู้ เห็นอยู่ชัด ๆ
บอกว่าไม่เห็น เด็กคนนี้บวชแล้วในสำนักภิกษุ ภิกษุทั้งหลายได้ยินมารดา
บิดาของบุตรช่างทองศีรษะโล้นนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้อปโลกน์ต่อสงฆ์ เพื่อการปลงผม.

พวกเด็กชายสัตตรสวัคคีย์บวช


[111] ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์มีเด็กชายพวกหนึ่ง 17 คน
เป็นเพื่อนกัน เด็กชายอุบาลีเป็นหัวหน้าของเด็กพวกนั้น ครั้งนั้น มารดา
บิดาของเด็กชายอุบาลีได้หารือกันว่า ด้วยวิธีอะไรหนอ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับ
ไปแล้วเจ้าอุบาลีจะอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก ครั้นแล้วหารือกันต่อไป
ว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจะพึงเรียนหนังสือ ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับ
ไปแล้วเจ้าอุบาลีจะพึงอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก แล้วหารือกันต่อไปอีก
ว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนหนังสือ นิ้วมือก็จักระบม ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณ
ด้วยอุบายอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลีจะพึงอยู่เป็น
สุข และไม่ต้องลำบาก ครั้นต่อมาจึงหารือกันอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชา
คำนวณเขาจักหนักอก ถ้าจะพึงเรียนวิชาดูรูปภาพ ด้วยอุบายอย่างนี้แหละ
เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลีก็จะพึงอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก
ครั้นต่อมา จึงหารือกันอีกว่าถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาดูรูปภาพ นัยน์ตาทั้งสอง

ของเขาจักชอกช้ำ พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล มีปรกติเป็นสุข
มีความพระพฤติเรียบร้อย ฉันอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้าเจ้า
อุบาลีจะพึงบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีนี้แหละ เมื่อ
เราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก.
เด็กชายอุบาลีได้ยินถ้อยคำที่มารดาบิดาสนทนาหารือกัน ดังนี้ จึงเข้า
ไปหาเพื่อนเด็กเหล่านั้น ครั้นแล้วได้พูดชวนว่า มาเถิดพวกเจ้า พวกเราจัก
พากันไปบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร.
เด็กชายเหล่านั้นพูดว่า ถ้าเจ้าบวช แม้พวกเราก็จักบวชเหมือนกัน.
เด็กชายเหล่านั้นไม่รอช้า ต่างคนต่างก็เข้าไปหามารดาบิดาของตน ๆ
แล้วขออนุญาตว่า ขอท่านทั้งหลายจงอนุญาตให้ข้าพเจ้า ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตเถิด.
มารดาบิดาของเด็กชายเหล่านั้นก่อนุญาตทันที ด้วยติดเห็นว่า เด็ก
เหล่านั้นต่างก็มีฉันทะร่วมกัน มีความมุ่งหมายดีด้วยกัน ทุกคน.
เด็กพวกนั้นเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายให้
พวกเขาบรรพชาอุปสมบท.
ครั้นปัจจุสมัยแห่งราตรี ภิกษุใหม่เหล่านั้น ลุกขึ้นร้องไห้ วิงวอนว่า
ขอท่านทั้งหลายจงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว.
ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย จงขอให้ราตรีสว่างก่อน
ถ้าข้าวต้มมี จักได้ดื่ม, ถ้าข้าวสวยมี จักได้ฉัน, ถ้าของเคี้ยวมี จักได้เคี้ยว.
ถ้าข้าวต้มข้าวสวย หรือของเดียวไม่มี ต้องเที่ยวบิณฑบาตฉัน ภิกษุใหม่
เหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลาย แม้กล่าวอยู่อย่างนี้แล ก็ยังร้องไห้วิงวอนอยู่อย่าง
นั้นแลว่า จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว ถ่ายอุจจาระรดบ้าง
ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง ซึ่งเสนาสนะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดื่มบรรทมในปัจจุสสมัยแห่งราตรี ทรงได้ยิน
เสียงเด็ก ครั้นแล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ นั่น
เสียงเด็ก หรือ ?
จึงท่านพระอานนท์กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายรู้อยู่ ให้บุคคลผู้มีอายุหย่อน 20 ปี อุปสมบท จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
โมฆบุรุษพวกนั้นรู้อยู่ จึงได้ให้บุคคลมีอายุหย่อน 20 ปี อุปสมบทเล่า. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายบุคคลมีอายุหย่อน 20 ปี เป็นผู้ไม่อดทนต่อ เย็น ร้อน หิว
ระหาย เป็นผู้มีปรกติไม่อดกลั้นต่อสัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์
เลื้อยคลาน ต่อคลองแห่งถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย อันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนา
ทางกายที่เกิดขึ้นแล้วอันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ
อันอาจนำชีวิตเสียได้ ส่วนบุคคลมีอายุ 20 ปี ย่อมเป็นผู้อดทนต่อ เย็นร้อน
หิว ระหาย เป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แด สัตว์
เลื้อยคลาน ต่อคลองแห่งถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย อันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนา
ทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว อันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ
อันอาจนำชีวิตเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น
นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใส่ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ ไม่พึงให้บุคคลมีอายุหย่อน 20 ปี
อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องปรับธรรม.

อรรถกถาทาสวัตถุกถา


วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ทาโส นี้ว่า ทาสมี 4 จำพวกคือ
ทาสเกิดภายใน 1 ทาสที่ช่วยมาด้วยทรัพย์ 1 ทาสที่เขานำมาเป็นเชลย 1
บุคคลที่ยอมเป็นทาสเอง 1 ในทาส 4 จำพวกนั้น ลุกนางะทาสีในเรือน
เป็นทาสโดยกำเนิด ชื่อว่าทาสเกิดภายใน. บุตรที่เขาช่วยมาจากสำนัก
มารดาก็ดี ทาสที่เขาช่วยมาจากสำนักนายเงินก็ดี บุคคลที่เขาใช้ทรัพย์แทน
แล้วยกขึ้นสู่จารีตแห่งทาสถ่ายเอาไปก็ดี ชื่อว่าทาสทีช่วยมาด้วยทรัพย์. ทาส
ทั้งสองจำพวกนี้ไม่ควรให้บวช เมื่อจะให้บวช ต้องทำให้เป็นผู้มิใช่ทาสด้วย
อำนาจจารีสตในที่ชนบทนั้น ๆ แล้ว จึงควรให้บวช. ทาสที่ชื่อว่าเขานำมาเป็น
เชลย คือ พระราชาทั้งหลายทรงทำการรบนอกแว่นแคว้น หรือรับสั่งให้เกลี้ย
กล่อมกวาดต้อนเอาทั้งหมู่มนุษย์ซึ่งเป็นไททั้งหลาย มาจากภายนอกแว่นแคว้น
ก็ดี พระราชารับสั่งให้ริบบ้านบางตำบล ซึ่งกระทำผิดภายในแว่นแคว้นนั่นเอง
ราชบุรุษทั้งหลายกวาดต้อนทั้งหมู่มนุษย์มาจากบ้านตำบลนั้นก็ดี ในหมู่มนุษย์
เหล่านั้น ผู้ชายทั้งหมดเป็นทาส ผู้หญิงทั้งหมดเป็นทาสี บุคคลเห็นปานนี้
จัดเป็นทาสซึ่งเจ้านำมาเป็นเชลย. ทาสนี้ เมื่ออยู่ในสำนักชนทั้งหลายผู้นำตน
มา หรือถูกขังไว้ไนเรือนจำ หรืออันบุรุษทั้งหลายควบคุมอยู่ ไม่ความให้บวช.
แต่ขาหนีไปแล้ว พึงให้บวชในที่ซึ่งเขาไปได้. ครั้นเมื่อพระราชาทรงพอ
พระหฤทัย ทรงทำการปลดจากจำโดยตรัสว่า จงปล่อยพวกทาสที่นำมาเป็น
เชลย หรือโดยนัยเป็นสรรพสาธารณ์ พึงให้บวชเถิด. บุคคลที่ยอมตัวเป็น
ทาสเองทีเดียวว่า ข้าพเจ้าเป็นทาสของท่าน ดังนี้ เพราะเหตุแห่งชีวิตก็ตาม
เพราะเหตุแห่งความคุ้มครองก็ตาม ชื่อว่าผู้ยอมเป็นทาสเองเหมือนคนเลี้ยงช้าง