เมนู

จึงท้าวเธอได้ตรัสถามมหาอำมาตย์ผู้พิพากษาว่า ดูก่อนพนาย ภิกษุ
รูปใด ให้ราชภัฏบวช ภิกษุรูปนั้น จะต้องโทษสถานไร.
คณะมหาอำมาตย์ผู้พิพากษากราบทูลว่า ขอเดชะ พระบารมีปกเกล้า
ปกกระหม่อม พระอุปัชฌายะต้องถูกตัดศีรษะ พระอนุสาวนาจารย์ต้องถูกดึง
ลิ้นออกมา พระคณะปูรกะต้องถูกหักซี่โครงแถบทนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า.
จึงท้าวเธอเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นถึงแล้วจึงถวายบังคมพระผู้-
มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลขอประทาน
พรต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย
ที่ไม่มีศรัทธาไม่ทรงเลื่อมใสจะพึงเบียดเบียนภิกษุทั้งหลาย แม้ด้วยกรณีเพียง
เล็กน้อย หม่อมฉันขอประทานพระวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้เป็นเจ้า
ทั้งหลายไม่พึงให้ราชภัฏบวช ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระ
เจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรงเห็นแจ้ง ทรงสมาทาน ทรงอาจหาญ ทรง
ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นท้าวเธออันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจง ให้ทรงเห็น
แจ้งทรงสมาทาน ทรงอาจหาญ ทรงร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจาก
พระที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ .

ทรงห้ามบวชราชภัฏ


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้า
มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ราชภัฏภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

อรรถกถาราชภัฏวัตถุ


พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องราชภัฏต่ออไป:-
สองบทว่า ปจฺจนฺตํ ยุจฺจินเถ มีความว่า ท่านทั้งหลายจงยังปัจจันต
ชนบทให้เจริญ มีคำอธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงขับไล่พวกโจรเสียแล้ว จัดแจง
บ้านที่พ้นโจรภัยแล้วให้ราบคาบ จัดการรักษาโดยกวดขัน ให้การกสิกรรมเป็น
ต้นเป็นไป. ฝ่ายพระราชาเพราะพระองค์เป็นพระโสดาบัน จึงไม่ทรงบังคับว่า
จงฆ่า จงประหารพวกโจร. พวกอำมาตย์ซึ่งเป็นหมอกฎหมาย คิดว่า ใน
บรรพชา อุปัชฌาย์เป็นใหญ่ รองไปอาจารย์ รองลงไปคณะ จึงพากันกราบ
ทูลคำทั้งปวงมีอาทิ ว่า ขอเดชะ พึงให้ตัดศีรษะอุปัชฌาย์เสีย ด้วยติดเห็นว่า
นี้มาในข้อวินิจฉัยแห่งกฎหมาย.
ในข้อว่า น ภิกฺขเว ราชภโฏ ปพฺพาเชตพฺโพ นี้ มีวินิจฉัยว่า
จะเป็นอำมาตย์ หรือมหาอำมาตย์ หรือเสวกหรือผู้ได้ฐานันดรเล็กน้อย หรือ
ผู้ไม่ได้ก็ตามที บุคคลผู้ผู้หนึ่งซึ่งได้รับเลี้ยงด้วยอาหารหรือเบี้ยเลี้ยงของ
พระราชา ถึงความนับว่า ราชภัฏ ทั้งหมด ราชภัฏนั้นไม่ควรให้บวช. ฝ่าย
บุตรที่น้องชายและหลานชายเป็นต้น ของราชภัฏนั้น ไม่ได้รับอาหาหรือเบี้ย
เลี้ยงจากพระราชา จะให้ชนเหล่านั้นบวช ควรอยู่. ฝ่ายผู้ใดถวายโภคะประจำ
หรือเงินเดือนเบี้ยหวัดรายปี ซึ่งตนได้รับพระราชทาน คืนแด่พระ-
ราชา หรือให้บุตรและพี่น้องชายรับตำแหน่งนั้นแทน แล้วทูลลาพระราชาว่า
บัดนี้ ข้าพเจ้าไม่ใช่ผู้ได้รับเลี้ยงของเทวะแล้ว. หรือว่าอาหารและเบี้ยเลี้ยง ซึ่งผู้
ใดได้รับเพราะเหตุแห่งราชการใด. ราชการนั้นเป็นกิจอันตนทำเสร็จแล้ว หรือ
ผู้ใดเป็นผู้ได้บรมราชานุญาตว่า เจ้าจงบวช จะให้บุคคลแม้นั้นบวช ควรอยู่.

อรรถกถาราชภัฏวัตถุ จบ