เมนู

สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
ทุติยมิปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นทิ่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง
ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง
ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง
ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม
ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม
ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์นั้น พึงเข้าไปหา
สงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุทั้งหลายนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้ว
กล่าวคำขอติตถิยปริวาสอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

คำขอติตถิยปริวาส


ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าผู้มีชื่อนี้ เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังอุปสมบท
ในพระธรรมวินัยนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น ขอปริวาส 4 เดือนต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม
วาจาว่าดังนี้:-

กรรมวาจาให้ติตถิยปริวาส


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อผู้นี้ เคยเป็น
อัญญเดียรถีย์ หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ เธอขอปริวาส 4
เดือนต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงแล้ว สงฆ์พึงให้ปริวาส
4 เดือน แก่ผู้มีชื่อนี้ ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนิ้ เคยเป็นอัญญ-
เดียรถีย์ หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ เธอขอปริวาส ถ เดือน
ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส 4 เดือนแก่ผู้มีชื่อ ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์
การให้ปริวาส 4 เดือนแก่ผู้มีชื่อนี้ ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
พูด.
ปริวาส 4 เดือน สงฆ์ให้แล้ว แก่ผู้มีชื่อนี้ ผู้เคยเป็นอัญญู-
เดียรถีย์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย
อย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เป็นผู้ปฏิบัติให้
สงฆ์ยินดี อย่างนี้แล เป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดีอย่างนี้.

ข้อปฏิบัติที่มิให้สงฆ์ยินดี


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ชื่อ
ว่า เป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี.
1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ในพระธรรม
วินัยนี้ เข้าบ้านเช้าเกินไป กลับสายเกินไป แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติ
มิให้สงฆ์ยินดี.