เมนู

ในข้อซึ่งว่า หรือถึงความพบปะกับอุปัชฌาย์ นี้ พึงทราบการพบปะกัน
ด้วยอำนาจการได้เห็นและได้ยิน. ก็ถ้าสัทธิวิหาริกอาศัยอาจารย์อยู่ เห็น
อุปัชฌาย์ไหว้พระเจดีย์อยู่ในวัคที่อยู่เดียวกันหรือเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในบ้านเดียว
กัน นิสัยย่อมระงับ. อุปัชฌาย์เห็น แต่สัทธิวิหาริกไม่เห็น นิสัยไม่ระงับ
สัทธิวิหาริกเห็น อุปัชฌาย์เดินทางไป หรือไปทางอากาศ ทราบว่า เป็นภิกษุ
แต่ไกล แต่ไม่ทราบว่า อุปัชฌาย์ นิสัยไม่ระงับ. ถ้าทราบ นิสัยระงับ
อุปัชฌาย์อยู่บนปราสาท สัทธิวิหาริกอยู่ข้างล่างแต่ไม่ทันเห็นท่าน ดื่มยาคูแล้ว
หลีกไป หรือไม่ทันเห็นท่านซึ่งนั่งที่หอฉัน ฉัน ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วหลีกไป
หรือไม่ทันเห็นท่านแม้นั่งในมณฑปทีฟังธรรม ฟังธรรมแล้วหนีไป, นิสัยไม่
ระงับ พึงทราบการพบปะกันด้วยอำนาจการเห็นก่อนด้วยประการฉะนี้.
ส่วนการพบปะกันด้วยอำนาจการได้ยิน พึงทราบดังนี้:-
ถ้าเมื่ออุปัชฌาย์กล่าวธรรมอยู่ หรือทำอนุโมทนาอยู่ ในวัดที่อยู่ก็ดี
ในละแวกบ้านก็ดี สัทธิวิหาริกได้ยินเสียงแล้ว จะได้ว่า เสียงอุปัชฌาย์ของเรา
นิสัยระงับ เมื่อจำไม่ได้ ไม่ระงับ. วินิจฉัยในการพบปะกันเท่านี้.

โสฬสปัญจกวินิจฉัย


ลักษณะแห่งอุปัชฌาย์อาจารย์ โดยย่ออันใด ที่พระผู้มีพระภาคะเจ้าตรัส
ไว้ในหนหลังว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดสามารถมีพรรษาครบ
10 หรือเกินกว่า 10 ให้กุลบุตรอุปสมบท ให้นิสัย ดังนี้, บัดนี้ เพื่อแสดงลักษณะ
อันนั้น โดยพิสดาร จึงตรัสดำว่า ปญฺจหื ภิกฺขเว องฺเคหิ สมนฺนาคเตน
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ปญฺจหิ องฺเคหิ ได้แก่องค์ไม่เป็น
คุณ 5. จริงอยู่ ภิกษุนั้นเป็นผู้ชื่อว่าประกอบด้วยองค์ไม่เป็นคุณก็เพราะไม่ประ
กอบด้วยกองแห่งธรรม 5 มีกองศีลเป็นต้น.

ข้อว่า น อุปสมฺปาเทตพฺพํ ได้แก่ ไม่พึงเป็นอุปัชฌาย์ให้กุลบุตร
อุปสมบท.
ข้อว่า น นิสฺสโย ทาตพฺโพ ได้แก่ ไม่พึงเป็นอาจารย์ให้นิสัย.
ก็คำว่า อเสเขน เป็นต้น ในองค์ 5 นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
หมายเอา ศีล สมาธิ ปัญญา ผล และ ปัจจเวกขณญาณแห่งพระอรหันต์.
ก็สามปัญจกะข้างต้นเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้
ไม่สมควร หาได้ตรัสด้วยอำนาจองค์แห่งอาบัติไม่.
ก็แล บรรดาปัญจกะเหล่านี้ เฉพาะ 3 ปัญญขกะ มีคำเป็นต้น ว่า
อเสขน ลีลกฺขนฺเธน 1 อตฺตนา น อเสเขน 1 อสฺสทฺโธ 1 ทรงทำการ
ห้ามด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้ไม่สมควร หาได้ทรงทำด้วยอำนาจองค์แห่งอาบัติไม่.
จริงอยู่ ภิกษุใด ไม่ประกอบด้วยกองธรรม 5 ของพระอเสขะมีกองศีลเป็นต้น
ทรงไม่สามารถชักนำผู้อื่นในกองธรรมเหล่านั้น, แต่เป็นผู้ประกอบด้วยโทษมี
อัสสัทธิยะเป็นเต้น ปกครองบริษัท, บริษัทของภิกษุนั้น ย่อมเสื่อมจากคุณทั้ง
หลายมีศีลเป็นต้นแท้ ย่อมไม่เจริญ. เพราะเหตุ นั้น คำเป็นต้นว่า อันภิกษุ
นั้นไม่พึงให้กุลบุตรอุปสมบท ดังนี้ จึงชื่อว่า ตรัสด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้ไม่
สมควร หาได้ตรัสด้วยอำนาจองค์แห่งอาบัติไม่. อันการที่พระขีณาสพเท่านั้น
เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้วหามิได้ ถ้า
จักเป็นอันทรงอนุญาตเฉพาะพระขีณาสพนั้นเท่านั้นไซร้ พระองค์คงไม่ตรัสคำ
ว่า ถ้าความเบื่อหน่ายเกิดขึ้นแก่อุปัชฌาย์ ดังนี้ เป็นต้น ก็เพราะเหตุที่บริษัท
ของพระขีณาสพ ไม่เสื่อมจากคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสคำเป็นต้นว่า:- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 พึงให้กุลบุตร
อุปสมบทได้ ดังนี้ .
ในองค์ทั้งหลายเเป็นต้นว่า อธิสีเล สีลวิปิปนฺโน มีวินิจฉัยว่า ภิกษุ
ผู้ต้องอาบัติปาราชิกสังฆาทิเสส ชื่อว่าผู้วิบัติด้วยศีลในอธิศีล. ผู้ต้องอาบัติ 5

กองนอกจากนี้ ชื่อว่าผู้วิบัติด้วยอาจาระในอัชฌาจาร. ผู้ละสัมมาทิฏฐิเสีย
ประกอบด้วยอันตคาหิกมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าผู้วิบัติด้วยทิฏฐิในอติทิฏฐิ. สุตะมี
ประมาณเท่าใดอันภิกษุผู้ปกครองบริษัทพึงปรารถนา เพราะปราศจากสุตะนั้น
ชื่อว่าผู้มีสุตะน้อย. เพราะไม่รู้ส่วนที่เธอควรรู้มีอาบัติเป็นต้น จึงชื่อว่าผู้มี
ปัญญาทราม. ก็ในปัญจกะนี้ สามบทเบื้องต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วย
อำนาจแห่งภิกษุผู้ไม่สมควรเท่านั้น สองบทเบื้องปลายตรัสด้วยอำนาจองค์แห่ง
อาบัติ.
ข้อว่า อาปตฺตึ น ชานาติ มีความว่า เมื่อสัทธิวิหาริกหรืออัน
เตวาสิกบอกว่า กรรมเช่นนี้ ผมทำเข้าแล้ว ดังนี้ เธอไม่ทราบว่า ภิกษุนี้
ต้องอาบัติชื่อนี้.
ข้อว่า วุฏฺฐานํ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้จักว่า ความออกจาก
อาบัติ ที่เป็นวุฏฐาานคามินี หรือเทศนาคามินี เป็นอย่างนี้. ในปัญจกะนี้
2 บทเบื้องต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้ไม่สมควร สาม
บทเบื้องปลาย ตรัสด้วยอำนาจองค์แห่งอาบัติ.
ข้อว่า อภิสมาจาริกาย สิกฺขาย มีความว่า เป็นผู้ไม่สามารถ
เพื่อจะแนะนำในขันธกวรรค.
ข้อว่า อาทิสมาจาริกาย มีความว่า เป็นผู้ไม่สามารถเพื่อจะแนะ
นำในพระบัญญัติควรศึกษา.
ข้อว่า อภิธมฺเม มีความว่า เป็นผู้ไม่สามารถเพื่อจะแนะนำในนาม
รูปปริจเฉท.
ข้อว่า อภิวินเย มีความว่า เป็นผู้ไม่สามารถจะแนะนำในวินัยปิฎก
ล้วน. ส่วนสองบทว่า วิเนตุํ น ปฏิพโล มีความว่าย่อมไม่อาจเพื่อให้
ศึกษาในทุกอย่าง.

ข้อว่า ธมฺมโต วิเวเจตุํ มีความว่า เพื่อให้สละเสีย โดยธรรม
คือตามเหตุ.
ในปัญจกะนี้ ปรับอาบัติทุก ๆ บท. แม้ในปัญจกะซึ่งมีบทต้นว่า ไม่
รู้จักอาบัติ ก็ปรับอาบัติทุก ๆ บท.
ในปัญจกะนั้น ข้อว่า อุภยานิ โข ปนสฺส ปาฏิโมกฺขานิ
วิตฺถาเรน สฺวาคตานิ โหนฺติ
ได้แก่ ปาฏิโมกข์ 2 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสด้วยอำนาจอุภโตวิภังค์.
บทว่า สุวิภตฺตานิ ได้แก่ ที่ตรัสด้วยอำนาจมาติกาวิภังค์.
บทว่า สุปฺปวตฺตีนิ ได้แก่ ที่ตรัสด้วยอำนาจที่คล่องปาก.
หลายบทว่า สุวินิจฺฉิตานิ สุตฺตโส อนุพฺยญฺชนโส ได้แก่ที่
วินิจฉัยดีแล้ว โดยมาติกาและวิภังค์. แม้ในปัญจกะซึ่งมีบทท้ายว่า มีพรรษา
หย่อน 10 ก็มีนัยเหมือนกันนั่นแล. 3 ปัญจกะข้างต้น 3 บทในปัญจกะที่ 4
2 บทในปัญจกะที่ 5 รวมทั้งหมดเป็น 4 ปัญจกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้ไม่สมควร. 2 บทในปัญจกะที่ 4 3 บทในปัญจกะที่ 5
3 ปัญจกะ คือ ที 6 ที่ 7 ที่ 8 รวมทั้งหมดเป็น 4 ปัญจกะ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจองค์แห่งอาบัติ ด้วยประการฉะนี้. ในศุกลปักษ์
ไม่มีอาบัติเลย ทั้ง 8 ปัญจกะ ฉะนั้นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในฉักกะทั้งหลาย ดังนี้ อูนทสวัสสบท เป็นข้อพิเศษ.
บทนั้นปรับอาบัติในทุก ๆ หมวด. คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
อรรถกถาโสฬสปัญจกวินิจฉัย จบ

ติตถิยาปริวาสกถา


[100] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ อันพระ
อุปัชฌาย์ว่ากล่าวอยู่ โดยชอบธรรม ได้ยกวาทะของอุปัชฌายะเสีย แล้วเข้า
ไปสู่ลัทธิเดียรถีย์นั้นดังเดิม เธอกลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ อันพระอุปัชฌาย์
ว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม ได้ยกวาทะของอุปัชฌายะเสีย แล้วเข้าไปสู่ลัทธิ
เดียรถีย์นั้นดังเดิม มาแล้ว ไม่พึงอุปสมบทให้ แม้ผู้อื่นที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์
หวังบรรพชา อุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ พึงให้ปริวาส 4 เตือนแก่เธอ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้ติตถิยปริวาสอย่างนี้:-

วิธีให้ติตถิยปริวาส


ชั้นต้นพึงให้กุลบุตรที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ปลงผมและหนวด ให้
ครองผ้ากาสายะ ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย แล้วให้นั่ง
กระโหย่งให้ประคองอัญชลีสั่งว่า จงว่าอย่างนี้ แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้:-

ไตรสรณคมน์


พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง