เมนู

อรรถกถามุจจลินทกลา


หลายบทว่า อถ โข มุจฺจลินฺโท นาคราชา มีความว่า พระยานาค
ผู้มีอานุภาพใหญ่ เกิดขึ้นที่สระโบกรณีใกล้ต้นไม้จิกนั่นเอง.
หลายบทว่า สตฺตกฺขตฺตุํ โภเคหิ ปริกฺขิปิตฺวา มีความว่า
เมื่อพระยานาคนั้นวงรอบพระกาย ด้วยขนด 7 รอบ แผ่พังพานใหญ่ปก
เบื้องบนพระเศียรอยู่อย่างนั้น ร่วมในแห่งวงขนดของพระยานาคนั้น มีประมาณ
เท่าห้องเรือนคลังในโลหปราสาท, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็น
เหมือนประทับนั่งในปราสาทอันอับลม มีประตูหน้าต่างปิด.
คำว่า มา ภควนฺตํ สีตํ เป็นต้น แสดงเหตุที่พระนาคนั้น
ทำอย่างนั้น. จริงอยู่ พระยานาคนั้นได้ทำอย่างนั้น ก็ด้วยตั้งใจว่า หนาวอย่า
ได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า. ร้อนอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า
และสัมผัสเหลือบเป็นต้น อย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า อันที่จริง
เมื่อมีฝนตกพรำตลอด 7 วัน ในที่นั้น ไม่มีความร้อนเลย. ถึงอย่างนั้น
ก็สมควรที่พระยานาคนั้นจะคิดอย่างนี้ว่า ถ้าเมฆจะหายไประหว่าง ๆ ความ
ร้อนคงจะมี แม้ความร้อนนั้นอย่าได้เบียดเบียนพระองค์เลย.
บทว่า วทฺธํ ได้แก่ หายแล้ว อธิบายว่า เป็นของมีไกลเพราะหมด
เมฆ.
บทว่า วิคตวลาหกํ ได้แก่ ปราศจากเมฆ.
บทว่า เทวํ ได้แก่ อากาศ.
บทว่า สกวณฺณํ ได้แก่ รูปของตน.