เมนู

ช่วยพยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกผู้อาพาธ, เป็นผู้สามารถระงับเองหรือ
ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสันของอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก เป็นผู้สามารถ
บรรเทาเองหรือให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความรังเกียจ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วเสียโดยธรรม,
เป็นผู้สมามารถแนะนำในอภิธรรม แนะนำในอภิวินัย.1

ว่าด้วยทรงอนุญาตนิสยาจารย์


บทว่า ปกฺขสงฺกนฺเตสุ ได้แก่ ไปเข้าพวกเดียรถีย์.
ข้อว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อาจริยํ มีความว่า เราอนุญาตอาจารย์
ผู้ฝึดหัดอาจาระและสมาจาร.
คำทั้งปวงเเป็นต้นว่า อาจริโย ภิกฺขเว อนฺเตวาสิกมฺหิ พึงทราบ
ด้วยอำนาจคำที่ กล่าวแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า อุปชฺฌาโย ภิกฺขเว สทฺธิ-
วิหารริกมฺหิ
นั่นแล. เพราะว่า ในคำว่า อาจริโย เป็นต้น ต่างกันแต่เพียง
ชื่อเท่านั้น.
ส่วนในคำว่า อันเทวาสิกทั้งหลายไม่พระพฤติชอบในอาจารย์ทั้งหลาย
นี้ผู้ศึกษาพึงทราบว่า เป็นอาบัติแก่นิสสยันเตวาสิก โดยลักษณะที่ข้าพเจ้า
กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแลว่า ก็ในการไม่ประพฤติชอบ มีวินิจฉัยดังนี้:-
เมื่อสัทธิวิหาริกไม่ทำวัตรเพียงย้อมจีวร ความเสื่อมย่อมมีแก่อุปัชฌาย์ เพราะ
เหตุนั้น จึงเป็นอาบัติเหมือนกันทั้งผู้พ้นนิสัยแล้ว ทั้งผู้ยังไม่พ้น ซึ่งไม่ทำวัตร
นั้นและว่า ตั้งแต่ให้บาตรแก่คนบางคนไป เป็นอาบัติแก่ผู้ยังไม่พ้น นิสัยเท่านั้น
เพราะว่านิสสยันเตวาสิก ควรทำอาจริยวัตรทั้งปวง เพียงเวลาที่ตนอาศัย
อาจารย์อยู่. ฝ่ายปัพพชันเตวาสิก อุปสัมปทันเตวาสิกและธัมมันเตวาสิกแม้พ้น

1. ดูกำอธิบายหน้า 232.

นิสัยแล้ว ก็คงทำวัตรตั้งแต่ต้นจนถึงย้อมจีวร แต่ไม่เป็นอาบัติแก่อันเตวาสิก
เหล่านั้น ในเพราะเหตุมีไม่เรียนถามก่อนแล้วให้บาตรเป็นต้น. และในอัน
เตวาสิกเหล่านี้ ปัพพชันเตวาสิกและอุปสัมปทันเตวาสิก เป็นภาระของอาจารย์
ตลอดชีวิต นิสสยันเตวาสิกและธัมมันเทวาสิก ยังอยู่ในสำนักเพียงใด เป็น
ภาระของอาจารย์เพียงนั้นทีเดียว เพราะเหตุนั้น ฝ่ายอาจารย์จึงต้องประพฤติใน
อันเตวาสิกเหล่านั้นด้วย เพราะว่า ทั้งอาจารย์ ทั้งอันเตวาสิก ฝ่ายใด ๆ ไม่
ประพฤติชอบย่อมเป็นอาบัติแก่ฝ่ายนั้น ๆ.
อรรถกถาว่าด้วยองค์แห่งอุปัชฌาย์จบ

ว่าด้วยองค์เป็นเหตุระงับนิสัย


ในองค์เป็นเหตุระงับนิสัยจากอุปัชฌาย์ เป็นต้นว่า อุปัชฌาย์หลีกไป
เสียก็ดี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปกฺกนฺโต มีความว่า อุปัชฌาย์ใคร่จะย้ายไปจากอาวาสนั้น
หลีกไปเสีย คือ ไปสู่ทิศ. ก็แลเมื่อท่านไปแล้วอย่างนั้น. ถ้าในวิหารมีภิกษุ.
ผู้ให้นิสัย. หรือแม้ในกาลอื่น ตนเคยถือนิสัยในสำนักภิกษุใด. หรือภิกษุใด
มีสมโภคและบริโภคเป็นอย่างเดียวกัน พึงถือนิสัยในสำนักภิกษุนั้น. แม้วัน
เดียวก็คุ้มอาบัติไม่ได้. ถ้าภิกษุเช่นนั้นไม่มี ภิกษุอื่นที่เป็นลัชชีมีศีลเป็นที่รักมี
อยู่ เมื่อทราบว่าเธอเป็นลัชชี มีศีลเป็นที่รัก พึงขอนิสัยในวันนั้นทีเดียว. ถ้า
เธอให้ การให้อย่างนั้นนั่นเป็นการดี แต่ถ้าเธอถามว่า อุปัชฌาย์ของท่าน
จักกลับเร็วหรือ และอุปัชฌาย์ได้พูดไว้อย่างนั้น พึงตอบว่า ถูกละขอรับ แล
ถ้าเธอกล่าวว่า ถ้ากระนั้น จงคอยอุปัชฌาย์มาเถิด จะรออุปัชฌาย์กลับก็ควร.