เมนู

เศียรสถิตอยู่ด้วยหวังใจว่า ความร้อน อย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน อย่าเบียดเบียนพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นล่วง 7 วัน มุจจลินทนาคราชรู้ว่า อากาศปลอดโปร่ง
ปราศจากฝนแล้ว จึงคลายขนดจากพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า จำแลงรูป
ของตนเป็นเพศมาณพ ได้ยืนประคองอัญชลีถวายมันสการพระผู้มีพระภาค
เจ้าทางเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-

พุทธอุทานกถา


ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้สันโดษ
มีธรรมปรากฏแล้ว เห็นอยู่ ความไม่พยาบาท
คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขใน
โลก ความปราศจากกำหนัด คือความล่วง
กามทั้งหลายเสียได้ เป็นสุขในโลก การกำ
จัดอัสมิมานะเสียได้นั้นแล เป็นสุขอย่างยิ่ง.

มุจจลินทกถา จบ

อรรถกถามุจจลินทกลา


หลายบทว่า อถ โข มุจฺจลินฺโท นาคราชา มีความว่า พระยานาค
ผู้มีอานุภาพใหญ่ เกิดขึ้นที่สระโบกรณีใกล้ต้นไม้จิกนั่นเอง.
หลายบทว่า สตฺตกฺขตฺตุํ โภเคหิ ปริกฺขิปิตฺวา มีความว่า
เมื่อพระยานาคนั้นวงรอบพระกาย ด้วยขนด 7 รอบ แผ่พังพานใหญ่ปก
เบื้องบนพระเศียรอยู่อย่างนั้น ร่วมในแห่งวงขนดของพระยานาคนั้น มีประมาณ
เท่าห้องเรือนคลังในโลหปราสาท, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็น
เหมือนประทับนั่งในปราสาทอันอับลม มีประตูหน้าต่างปิด.
คำว่า มา ภควนฺตํ สีตํ เป็นต้น แสดงเหตุที่พระนาคนั้น
ทำอย่างนั้น. จริงอยู่ พระยานาคนั้นได้ทำอย่างนั้น ก็ด้วยตั้งใจว่า หนาวอย่า
ได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า. ร้อนอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า
และสัมผัสเหลือบเป็นต้น อย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า อันที่จริง
เมื่อมีฝนตกพรำตลอด 7 วัน ในที่นั้น ไม่มีความร้อนเลย. ถึงอย่างนั้น
ก็สมควรที่พระยานาคนั้นจะคิดอย่างนี้ว่า ถ้าเมฆจะหายไประหว่าง ๆ ความ
ร้อนคงจะมี แม้ความร้อนนั้นอย่าได้เบียดเบียนพระองค์เลย.
บทว่า วทฺธํ ได้แก่ หายแล้ว อธิบายว่า เป็นของมีไกลเพราะหมด
เมฆ.
บทว่า วิคตวลาหกํ ได้แก่ ปราศจากเมฆ.
บทว่า เทวํ ได้แก่ อากาศ.
บทว่า สกวณฺณํ ได้แก่ รูปของตน.