เมนู

3. บรรพชาอาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้น
ตลอดชีวิต อาดิเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น
ถ้า.
4. บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอด
ชีวิต อดิเรกลาภ คือ เนยใส เนยขึ้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย.

อุปัชฌายวัตรภาณวาร จบ

อรรถกถาญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา


วินิจฉัยในเรื่องราธพราหมณ์ต่อไป. พระสารีบุตรผู้มีอายุย่อมทราบ
บรรพชาและอุปสมบท ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตด้วยไตรสรณคมน์
ที่กรุงพาราณสี แม้โดยแท้ ถึงกระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะ
ห้ามอุปสมบทอันเพลานั้นแล้ว ทรงอนุญาตอุปสมบททำให้กวดขัน ด้วย
ญัตติจตุตถกรรม คราวนั้น พระเถระทราบพระอัธยาศัยของพระองค์ จึงกราบ
ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จะให้พราหมณ์นั้นบรรพชาอุปสมบทอย่างไร ?
จริงอยู่ บริษัทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ฉลาดในอัธยาศัย
และพระผู้มีอายุสารีบุตรนี้ เป็นผู้ประเสริฐเป็นยอดของพุทธบริษัท.
ในคำว่า พฺยตฺเตน ภิกฺขุนา ปฏิพเลน นี้ มีวินิจฉัยว่า วินัยปิฎก
พร้อมทั้งอรรถกถาของภิกษุใด ช่ำชองคล่องปาก ภิกษุนั้น จัดว่าผู้ฉลาด เมื่อ
ภิกษุเช่นนั้นไม่มี พุทธวจนะ โดยที่สุด แม้เพียงญัตติจตุตถกัมมวาจานี้ ของ
ภิกษุใด เป็นของที่จำได้ถูกต้องช่ำของคล่องปาก แม้ภิกษุนี้ ก็จัดว่าเป็นผู้ฉลาด
ในอรรถนี้ได้. ฝ่ายภิกษุใดไม่สามารถสวดกัมมวาจาด้วยบทและพยัญชนะอัน

เรียบร้อย คือว่า พยัญชนะหรือบทให้เสีย หรือควรจะว่าอย่างอื่น ว่าเป็นอย่าง
อื่นไปเสีย เพราะความเจ็บไข้ มีไอ หืด และเสมหะ เป็นต้น หรือเพราะ
อวัยวะมีริมผีปาก ฟันและลิ้น เป็นต้น ใช้การไม่ได้ หรือเพราะไม่ได้ทำ
ความสั่งสมไว้ในพระปริยัติ ภิกษุนี้จัดว่าเป็นผู้ไม่สามารถ ภิกษุผู้แผกจากนั้น
พึงทราบว่าเป็นผู้สามารถในอรรถนี้.
ข้อว่า สงฺโฆ ญาปตพฺโพ มีความว่า สงฆ์อันภิกษุนั้นพึงให้ทราบ.
เบื้องหน้าแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดำว่า สุณาตุ เม ภนฺเต
เป็นต้น เพื่อแสดงข้อที่ภิกษุนั้นควรให้สงฆ์ทราบ.
ข้อว่า อุปสมฺปปนฺนสมนนฺตรา มีความว่า เป็นผู้พออุปสมบทแล้ว
ย่อมประพฤติอนาจาร1 ในกาลเป็นลำดับต่อติดกันไป.
ข้อว่า อนาจารํ อาจรติ มีความว่า ย่อมทำความละเมิดพระบัญญัติ.
บทว่า อุลฺลุมฺปตุ มํ มีความว่า ขอจงยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด อธิบาย
ว่า ขอให้ข้าพเจ้าออกจากอกุศล ให้ตั้งเฉพาะในกุศลเถิด หรือว่า ขอจงยก
ขึ้นจากความเป็นสามเณร ให้ตั้งเฉพาะในความเป็นภิกษุเถิด.
สองบทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ได้แก่ อาศัยความสงสาร อธิบายว่า
กระทำความเอ็นดูในข้าพเจ้า.
สองบทว่า อฏฺฐิตา โหติ มีความว่า เป็นของเป็นไปเป็นนิตย์.
สองบทว่า จตฺตาโร นิสฺสเย ได้แก่ ปัจจัยสี่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า นิสัย เพราะเหตุว่า เป็นที่อาศัยเป็นไปของอัตภาพ.
อรรถกถาญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา จบ

1. ถ้า อุปสมฺปนฺโน หุตฺวาว . . . อาจรติ เป็นประโยคเดียวกันก็จะงาน เพราะเมื่อแปลเสร็จ
แล้ว เอา อนาจารํ อาจรติ มาเป็นบทตั้งแก้อรรถอีกครั้ง.

มาณพคนหนึ่ง


[88] ก็โดยสมัยนั้นแล มาณพคนหนึ่งเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้ว
ขอบรรพชา พวกภิกษุได้บอกนิสัยแก่เธอก่อนบวช เธอจึงพูดอย่างนี้ว่า ถ้า
เมื่อกระผมบวชแล้ว พระคุณเจ้าทั้งหลายพึงบอกนิสัยแก่กระผม กระผมก็จะยิน
ดียิ่งบัดนี้ กระผมจักไม่บวชละ เพราะนิสัยเป็นสิ่งที่น่าเกลียด เป็นปฏิกูลแก่
กระผม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบอกนิสัยก่อนบวช รูปใด
บอก ต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พออุปสมบทแล้ว เราอนุญาต
ให้บอกนิสัย.

อุปสมบทด้วยคณะ


[89] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายให้อุปสมบทด้วยคณะมีพวก
2 บ้าง มีพวก 3 มีพวก มีพวก 4 บ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่
พึงให้อุปสมบทด้วยคณะ ซึ่งมีพวกหย่อน 10 รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทด้วยคณะมีพวก 1 . .

พระอุปเสนวังคันตบุตรอุปสมบทสัทธิวิหาริก


[90] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายมีพรรษาหนึ่งบ้าง มีพรรษา
สองบ้าง อุปสมบทสัทธิวิหาริก แม้ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร มีพรรษาเดียว
อุปสมบทสัทธิวิหาริก ท่านออกพรรษาแล้ว มีพรรษาสอง ได้พาสัทธิวิหาริก