เมนู

อรรถกถาอชปาลนิโครธกถา


ในคำว่า อถ โข ภควา ตสฺส สตฺตาหสฺส อจฺจเยน ตมฺหา
สมาธิมฺหา วุฏฺฐหิตฺวา โพธรุกฺขมูลา, เยน อชปาลนิโคตรโธ เตนุป-
สงฺกมิ
นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยดังนี้:-
พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากสมาธินั้นแล้ว เสด็จเข้าไปที่ต้นอชปาล-
นิโครธ จากโคนโพธิพฤกษ์ ในทันทีทีเดียวหามิได้ เหมือนอย่างว่าในคำที่
พูดกัน ว่า ผู้นี้กินแล้วก็นอน จะได้มีคำอธิบายอย่างนี้ว่า เขาไม่ล้างมือ ไม่
บ้วนปาก ไม่ไปใกล้ที่นอน ไม่ทำการเจรจาปราศรัยอะไรบ้าง อย่างอื่น แล้ว
นอน หามิได้ แต่ในคำนี้มีความหมายที่ผู้กล่าวแสดงดังนี้ว่า เขานอนภายหลัง
แต่การรับประทาน เขาไม่ได้นอนหามิได้ ข้อนี้ฉันใด แม้ในคำนี้ ก็ฉันนั้น
จะได้คำอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากสมาธินั้นแล้ว เสด็จหลีกไปใน
ทันทีทีเดียว หามิได้ ที่แท้ในคำนี้ มีความหมายที่ท่านผู้กล่าวแสดงดังนี้ ว่า
พระองค์เสด็จหลีกไปภายหลังแต่การออก ไม่ได้เสด็จหลีกไปหามิได้.
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จหลีกไปในต้นทีแล้ว ได้ทรงทำ
อะไรเล่า ?.
ตอบว่า ได้ทรงให้ 3 สัปดาห์แม้อื่นอีกผ่านพ้นไปในประเทศใกล้เคียง
โพธิพฤกษ์นั่นเอง.
ในข้อนั้น มีอนุปุพพีกถาดังนี้:- ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ประทับนั่งด้วยการนั่งชัดสมาธิอันเดียว สัปดาห์
1 เทวดาบางพวกเกิดความแคลงใจขึ้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จลุกขึ้น
ธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้า แม้อื่น จะมีอีกละกระมัง ? ลำดับนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าออกจากสมาบัติในวันที่ 8 ทรงทราบความแคลงใจของเหล่า
เทวดา เพื่อตัดความแคลงใจจึงทรงเหาะขึ้นไปในอากาศ แสดงยมกปาฏิหาริย์
กำจัดความแคลงใจของเหล่าเทวดาเหล่านั้นแล้ว ประทับยืนจ้องดูด้วยพระเนตร
มิได้กระพริบ ซึ่งพระบังลังก์ และโพธิพฤกษ์ อันเป็นสถานที่บรรลุผลแห่ง
พระบารมีที่ทรงสร้างมาตลอด 4 อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัลป์ ให้สัปดาห์ 1 ผ่าน
พ้นไปทางด้านทิศอุดรเฉียงไปทางทิศปราจีนหน่อยหนึ่ง (ทิศอีสาน) แต่พระ
บัลลังก์ สถานที่นั้น ชื่ออนิมมิสเจดีย์
ลำดับนั้น เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมอันยาวยืดไปข้างหน้าและข้าง
หลังระหว่างพระบัลลังก์กับที่เสด็จประทับยืน (อนิมมิสเจดีย์) สัปคาห์ 1 ผ่าน
พ้นไป. สถานที่นั้น ชื่อรัตนจงกรมเจดีย์.
ต่อจากนั้น เทวดาทั้งหลายนิรมิตเรือนแก้วขึ้นทางด้านทิศประจิม พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จนั่งขัดสมาธิ ณ เรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาอภิธรรมปิฏก
คือสมันตปัฏฐาน ซึ่งมีนัยไม่สิ้นสุดในอภิธรรมปิฏกนี้ โดยพิสดารให้สัปดาห์ 1
ผ่านพ้นไป. สถานที่นั้น ชื่อรัตนฆรเจดีย์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ 4 สัปดาห์ผ่านพ้นไป ในประเทศใกล้เคียง
โพธิพฤกษ์นั่นเอง จึงในสัปดาห์คำรบ 5 เสด็จจากโคนโพธิพฤกษ์เข้าไปที่ต้น
อชปาลนิโครธ ด้วยประการฉะนี้.
ได้ยินว่า คนเลี้ยงแพะไปนั่งที่ร่มเงาแห่งต้นนิโครธนั้น เพราะเหตุ
นั้น ต้นนิโครธจึงเกิดชื่อว่า อชปาลนิโครธ.
สองบทว่า สตฺตาหํ วิมุตฺติสุขปฏิสํเวที มีความว่า เมื่อทรง
พิจารณาธรรมอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธแม้นั้นนั่นแล ชื่อว่าประทับเสวยวิมุตติสุข
ต้นไม้นั้น อยู่ด้านทิศตะวันออกจากต้นโพธิ. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่งอย่างนั้นที่ต้นอชปาลนิโครธนี้ พราหมณ์คนหนึ่งได้มาทูลถามปัญหา
กะพระองค์. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำว่า อถ โข
อญฺญตโร
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หุํหุํกชาติโก มีความว่า ได้ยินว่า
พราหมณ์นั้น ชื่อทิฏฐมังคลิกะ เที่ยวตวาดว่า หึหึ ด้วยอำนาจความถือตัว และ
ด้วยอำนาจความโกรธ เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกแกว่า พราหมณ์หุงหุงกะชาติ
บางอาจารย์ก็กล่าวว่า พราหมณ์หุหุกชาติบ้าง.
สองบทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบใจความสำคัญแห่งคำที่แกกล่าวนั้น จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น.
เนื้อความแห่งอุทานนั้นว่า พราหมณ์ใด ชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เพราะมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว จึงได้เป็นผู้ประกอบด้วยบาปธรรมมีกิเลส
เป็นเครื่องขู่ผู้อื่นว่า หึหึ และกิเลสดุจน้ำฝากเป็นต้น เพราะด่าที่มาถือว่า สิ่งที่
เห็นแล้วเป็นมงคล ปฏิญาณข้อที่ตนเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุสักว่าชาติอย่างเดียว
หามิได้ พราหมณ์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีบาปธรรมอันลอยแล้ว เพราะเป็นผู้ลอย
บาปธรรมเสีย ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องขู่ผู้อื่นว่า หึหึ เพราะมาละกิเลส
เป็นเครื่องขู่ผู้อื่นว่า หึหึ เสียได้ ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสดุจน้าฝาด เพราะไม่มีกิเลส
ดุจน้ำฝาดมีราคะเป็นต้น ชื่อว่ามีตนสำรวมแล้ว เพราะเป็นผู้มีจิตประกอบด้วย
ภาวนานุโยค อนึ่ง ชื่อว่าผู้มีตนสำรวมแล้ว เพราะเป็นผู้มีจิตสำรวมแล้วด้วย
ศีลสังวร ชื่อว่าผู้จบเวทแล้ว เพราะเป็นผู้ถึงทีสุดด้วยเวททั้งหลาย กล่าวคือ
จตุมรรคญาณ หรือเพราะเป็นผู้เรียนจบไตรเพท ชื่อว่าผู้จบพรหมจรรย์แล้ว
เพราะพรหมจรรย์คือมรรค 4 อันตนได้อยู่เสร็จแล้ว.

บาทพระคาถาว่า ธมฺเมน โส พฺรหฺมวาทํ วเทยฺย มีความว่า
กิเลสเครื่องฟูขึ้น 5 อย่างนี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ในเพราะ
อารมณ์น้อยหนึ่ง คือว่า แม้ในเพราะอารมณ์อย่างหนึ่ง ในโลกทั้งมวลไม่มีแก่
พราหมณ์ใด พราหมณ์นั้นโดยทางธรรม ควรกล่าววาทะนี้ว่า เราเป็นพราหมณ์.
เมฆที่เกิดขึ้นในเมื่อยังไม่ถึงฤดูฝน ชื่อว่า อกาลเมฆ ก็แลเมฆนี้เกิด
ขึ้นในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน.
บทว่า สตฺตาหวทฺทลิกา มีความว่า เมื่ออกาลเมฆนั้นเกิดขึ้นแล้ว
ได้มีฝนตกพรำตลอด 7 วัน.
บทว่า สีตวาตทุทฺทินี มีความว่า ก็แลฝนตกพรำตลอด 7 วันนั้น
ได้ชื่อว่า ฝนเจือลมหนาว เพราะเป็นวันที่ลมหนาวเจือเม็ดฝนพัดวนไปโดย
รอบโกรกแล้ว.
อรรถกถาอชปาลนิโครธกถา จบ

มุจจลินทกถา


เรื่องมุจลินทนาคราช


[5] ครั้นล่วง 7 วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาธินั้น
เสด็จจากควงไม้อชปาลนิโครธเข้าไปยังต้นไม้มุจจลินท์ แล้วประทับนั่งด้วย
บัลลังก์เดียวเสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้มุจจลินท์ตลอด 7 วัน
ครั้งนั้น เมฆใหญ่ในสมัยมิใช่ฤดูกาลตั้งขึ้นแล้ว ฝนตกพรำเจือด้วยลม
หนาว ตลอด 7 วัน ครั้งนั้น มุจจลินทนาคราชออกจากที่อยู่ของตนได้แวด
วงพระกายพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยขนด 7 รอบ ได้แผ่พังพานใหญ่เหนือพระ-