เมนู

เหตุเป็นเค้ามูลนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตอาราม.
ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จบ

อรรถกถาพิมพิสารวัตถุ


บทว่า ลฏฺฐิวเน ได้แก่ สวนตาล.
สองบทว่า สุปฺปติฏฺเฐ เจติเย ได้แก่ ที่ต้นไทรต้นใดต้นหนึ่ง.
ได้ยินว่า คำว่า สุประดิษฐเจดีย์ นี้ เป็นเชื่อของต้นไทรนั้น. 1 หมื่น เป็น
1 นหุต ในคำว่า ทฺวาทสนหุเตหิ นี้.
บทว่า อปฺเปกจฺเจ ตัดบทว่า อปิ เอกจฺเจ.
บทว่า อชฺฌภาสิ มีความว่า ได้ตรัสสำทับ เพื่อตัดความสงสัยของ
พรามณ์และคฤหบดีเหล่งนั้น.
สองบทว่า กิเมว ทิสฺวา มีความว่า เห็นอะไรเล่า ?
บทว่า อุรุเวลวาสี คือผู้มีปกติอยู่ที่อุรุเวลประเทศ. ท่านย่อมเป็น
ผู้ละไฟที่คนบูชาแล้วบวช, มีอุบายอะไร ?
บทว่า กิสโกวทาโน มีความว่า เป็นผู้ตักเตือนพร่ำสอนดาบสทั้ง
หลาย ซึ่งได้นามว่า ผู้ผอม เพราะมีร่างกายผอม ด้วยความประพฤติของผู้
ย่างกิเลส.
อีกอย่างหนึ่ง มีความว่า เป็นดาบสผู้ผอมเอง และเป็นผู้ให้โอวาท
อธิบายว่า ตัดเตือนพร่ำสอนดาบสผู้ผอมเหล่าอื่นด้วย.
สองบทว่า กถํ ปหีนํ มีความว่า เพราะเหตุไรจึงละเสีย

มีคำอธิบายว่า ท่านอยู่อุรุเวลามานาน คนเองเคยเป็นอาจารย์สั่งสอน
เหล่าดาบสผู้บำเรอไฟ เห็นอุบายอะไรเล่า จึงละไฟเสีย ? เราถามเนื้อความ
นี้กะท่าน เหตุไฉน ท่านจึงละการบูชาเพลิงของท่านเสีย ?
ในคาถาที่ 2 มีเนื้อความดังนี้:-
ยัญทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญกามทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น เหล่านี้และสตรี
ทั้งหลาย ข้าพเจ้านั้น ได้ทราบชนิดของกามมีรูปเป็นต้น ทั้งหมดนี้ว่า เป็น
มลทินในขันธ์เป็นที่หอบทุกข์ไว้ จึงมิได้ยินดีในการเซ่นและการบูชา อธิบายว่า
ไม่อภิรมย์แล้วการเซ่นหรือการบูชา เพราะยัญทั้งหลาย ต่างโดยการเซ่นและ
การบูชาเหล่านี้กล่าวสรรเสริญผลเป็นมลที่ทั้งนั้น.
วินิจฉัยในคาถาที่ 3:-
บทว่า อถ โกจรหิ มีความว่า ก็ที่นั้น . . . ในสิ่งไรเล่า ? บทที่
เหลือตื้นทั้งนั้น.
วินิจฉัยในคาถาที่ 4:-
บทว่า ปทํ เป็นต้น มีความว่า ทางคือพระนิพพาน จัดว่าสงบ
และมีความสงบเป็นสภาพ จัดว่าไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุหอบทุกข์ เพราะไม่มี
กิเลสทั้งหลายที่เข้าไปหอบเอาทุกข์ไว้, จัดว่าหากังวลมิได้ เพราะไม่มีกิเลส
เครื่องกังวลทั้งหลายมีราคะเป็นต้น จัดว่าไม่ติดข้องแม้ในกามภพ ซึ่งเป็นที่
กล่าวสรรเสริญแห่งยัญทั้งหลายเพราะไม่ติดอยู่ในภพทั้ง 3 แล้ว, จัดว่ามีอันจะ
ไม่แปรเป็นอย่างอื่น เพราะไม่มีเกิด แก่ ตาย, จัดว่าไม่ใช่ธรรมที่ผู้อื่นจะพึง
แนะให้ได้ เพราะต้องบรรลุด้วยมรรคซึ่งตนเองเจริญแล้วเท่านั้น อันคนอื่นจะ
เป็นใครก็ตามจะพึงให้บรรลุไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่ยินดีแล้วในการเซ่นและการบูชา
ก็เพราะเห็นทางเช่นนี้. พระอุรุเวลกัสสปแสดงอย่างไร ? ด้วยคำว่า ได้เห็น

ทางอันสงบ เป็นต้นนั้น ? แสดงว่า ข้าพเจ้ามิได้ยินดีแล้วในการเซ่นและการ
บูชา ซึ่งให้สำเร็จสมบัติในเทวโลกและมนุษยโลก ข้าพเจ้านั้นจะกล่าวาอย่างไร ?
ครั้งนั้นแล พระอุรุเวลกัสสปผู้มีอายุ ครั้นประกาศความไม่ยินดีใน
โลกทั้งปวงอย่างนี้ว่า ใจของข้าพเจ้าไม่ยินดีแล้วในเทวโลกและมนุษยโลก ชื่อ
นี้ ดังนี้แล้ว จึงประกาศข้อที่คนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าเป็นสาวก ก็แลท่านแสดงปาฏิหาริย์หลายอย่างในอากาศ เพื่อประกาศ
ข้อที่ตนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล แล้วลงถวายบังคมพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ได้แก่ โสดาปัตติมรรคญาณ.
บทว่า อสฺสาสกา ได้แก่ ความหวัง อธิบายว่า ความปรารถนา.
ก็วินิจฉัยในข้อว่า เอสาหํ ภนฺเต นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้:-
อันที่จริง สรณคมน์ของพระเจ้าพิมพิสารนั้น สำเร็จแล้วด้วยความ
ตรัสรู้มรรคเป็นแท้ แต่ว่าท้าวเธอทรงตัดสินตกลงพระหฤทัยในสรณคมน์นั้น
แล้ว บัดนี้จึงทรงทำการมอบพระองค์ถวายด้วยพระวาจา คือว่า พระเจ้าพิมพิ-
สารนี้ ได้ทรงถึงสรณคมน์ที่แน่นอน ด้วยอำนาจแห่งมรรคทีเดียวแล้ว เมื่อ
จะทรงทำการถึงสรณะนั้นให้ปรากฏแก่ผู้อื่นด้วยพระวาจา และเมื่อจะทรงถึง
ด้วยความนอบน้อม จึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า สิงฺคีนิกฺขสุวณฺโณ มีความว่า มีวรรณะเสมอด้วยลิ่มทองคำ
ชื่อสิงดี.
บทว่า ทสวาโส ได้แก่ ทรงอยู่ประจำในธรรมเป็นที่อยู่ของพระ
อริยเจ้า 10 ประการ.
บทว่า ทสธมฺมวิทู ได้แก่ ทรงทราบกรรมบถ 10 ประการ.
สองบทว่า ทสภิ จุเปโต ได้แก่ ทรงประกอบด้วยองค์ของพระอเสข-
บุคคล 10 อย่าง1.

1. สัมมาทิฎฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ. 9. สัมมญาน 10. สัมมานิมุตติ. ม.ม. 13/174

สองบทว่า พพฺพธิ ทนฺโต ได้แก่ ผู้ทรมานแล้วในอินทรีย์ทั้งปวง
จริงอยู่ บรรดาอินทรีย์มีจักขุนทรีย์เป็นต้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อินทรีย์ไร ๆ ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้ทรมาน ย่อมไม่มี.
ข้อว่า ถควนฺตํ ภุตฺตาวึ โอนีตปตฺตปาณึ เอกมนฺตํ นิสีทิ
มีความว่า สังเกตเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ชักพระหัตถ์ออกจาก
บาตรแล้ว จึงประทับนั่งที่ประเทศแห่งหนึ่ง.
บทว่า อตฺถิกานํ มีความว่า ผู้มีความต้องการด้วยการไปเฝ้าพระ-
พุทธเจ้า และด้วยการฟังธรรม.
บทว่า อภิกฺกมนียํ มีความว่า พึงอาจไปเฝ้าได้.
บทว่า อปฺปกิณฺณํ คือไม่พลุกพล่าน.
บทว่า อปฺปสทฺทํ ได้แก่ เงียบเสียงที่พูดจากัน.
บทว่า อปฺปนิคฺโสํ ได้แก่ เงียบเสียงกึกก้อง ด้วยเสียงอื้ออึงใน
พระนคร.
บทว่า วิชนวาตํ ได้แก่ ปราศจากลมในสรีระของชนที่สัญจรเนื่องๆ.
บาลีว่า ปราศจากการพูดจาของชนบ้าง. อธิบายว่า ปราศจากการพูด
จาของตนภายใน.
บาลีว่า ปราศจากการเที่ยวไปของชนบ้าง อธิบายว่า เว้นจากการ
ท่องเที่ยวของชน.
บทว่า มนุสฺสราหเสยฺยกํ ได้แก่ ควรเป็นที่กระทำกรรมลับของ
หมู่มนุษย์.
บทว่า ปฏิสลฺลานสารุปฺปํ คือสมควรเป็นที่สงัด.
อรรถกถาพิมพิสารวัตถุ จบ

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา


พระอัสสชิเถระ


[64] ก็โดยสมัยนั้นแล สญชัยปริพาชกอาศัยอยู่ในพระนครราชคฤห์
พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ จำนวน 250 คน ก็ครั้งนั้น พระสารีบุตร
พระโมคคัลลานะประพฤติพรหมจรรย์อยู่ในสำนักสญชัยปริพาชก ท่านทั้งสอง
ได้ทำกติกากันไว้ว่า ผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่อีกคนหนึ่ง
ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอัสสชินุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไป
บิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน
เหยียดแขน น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ สารีบุตร
ปริพาชก ได้เห็นท่านพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ มี
มรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส มี
นัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า บรรดา
พระอรหันต์ หรือท่านผู้ได้บรรลุพระอรหัตมรรคในโลก ภิกษุรูปนี้คงเป็นผู้
ใดผู้หนึ่งแน่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุรูปนี้ แล้วถามว่า ท่านบวช
เฉพาะใคร ใครเป็นศาลดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร แล้วได้
ดำริต่อไปว่า ยังเป็นการไม่สมควรจะถามภิกษุรูปนี้ เพราะท่านกำลังเข้าละแวก
บ้านจนเที่ยวบิณฑบาต ผิฉะนั้นเราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไปข้างหลัง ๆ เพราะเป็น
ทางอันผู้มุ่งประโยชน์ทั้งหลายจะต้องสนใจ ครั้งนั้นท่านพระอัสสชิเทียวบิณฑ-
บาตในพระนครราชคฤห์ ถือบิณฑบาตกลับไป จึงสารีบุตรปริพาชกเข้าไปหา
ท่านพระอัสสชิ ถึงแล้วได้พูดปราศรัยกับท่านพระอัสสชิ ครั้นผ่านการพูด
ปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน