เมนู

[ว่าด้วยการขาดอธิษฐานของบาตร]


ถามว่า การขาดอธิษฐาน พึงมีแก่ภิกษุผู้ไม่ประมาทอย่างนี้ได้
หรือ ?
ตอบว่า พึงมีได้.
หากว่า ภิกษุนี้ให้บาตรแก่ภิกษุอื่นก็ดี หมุนไปผิดก็ดี บอก
ลาสิกขาก็ดี กระทำกาละเสียก็ดี เพศของเธอกลับก็ดี ปัจจุทธรณ์เสียก็ดี
บาตรมีช่องทะลุก็ดี บาตรย่อมขาดอธิษฐาน. และคำนี้แม้พระอาจารย์
ทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้ว่า
การขาดอธิษฐาน ย่อมมีได้ด้วยการให้ 1 หมุน
ไปผิด 1 ลาสิกขา 1 กระทำกาลกิริยา 1 เพศ
กลับ 1 ปัจจุทธรณ์ (ถอน) 1 เป็นที่ 7 กับช่องทะลุ 1
ดังนี้.

แม้เพราะโจรลักและการถือเอาโดยวิสาสะ บาตรก็ขาดอธิษฐาน
เหมือนกัน. บาตรจะขาดอธิษฐานด้วยช่องทะลุประมาณเท่าไร ? จะขาด
อธิษฐานด้วยช่องทะลุพอเมล็ดข้าวฟ่างลอดออกได้ และลอดเข้าได้.
จริงอยู่ บรรดาธัญชาติ 7 ชนิด เมล็ดข้าวฟ่างนี้ เป็นเมล็ด
ธัญชาติอย่างเล็ก. เมื่อช่องนั้นอุดให้กลับ เป็นปกติด้วยผงเหล็ก หรือ
ด้วยหมุดแล้วพึงอธิษฐานบาตรนั้นใหม่ภายใน 10 วัน.
ในการอธิษฐานที่ตรัสไว้ในคำว่า อนฺโตทสาหํ อธิฏฺเฐติ วิกปฺเปติ
นี้ มีวินิจฉัยเพียงเท่านี้ก่อน.

[ว่าด้วยการวิกัปบาตร]


ก็ในการวิกัป มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- วิกัปมี 2 อย่าง คือวิกัป
ต่อหน้าอย่าง 1 วิกัปลับหลังอย่าง 1. วิกัปต่อหน้าเป็นอย่างไร ? คือ
ภิกษุพึงรู้ว่าบาตรมีใบเดียวหรือหลายใบ และวางไว้ใกล้หรือมิได้วางไว้
ใกล้ แล้วกล่าวว่า อิมํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนี้ หรือว่า อิเม ปตฺเต ซึ่ง
บาตรเหล่านี้ ก็ดี ว่า เอตํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนั่น หรือว่า เอเต ปตฺเต
ซึ่งบาตรเหล่านั้น ก็ดี แล้วกล่าวว่า ตุยฺหํ วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัปแก่
ท่าน นี้ชื่อว่าวิกัปต่อหน้าอย่าง 1. ด้วยวิธีวิกัปเพียงเท่านี้จะเก็บไว้ควร
อยู่. แต่จะใช้สอย จะจำหน่าย หรือจะอธิษฐานไม่สมควร. แต่เมื่อ
ภิกษุผู้รับวิกัปกล่าวอย่างนี้ว่า มยฺหํ สนฺตกํ ปริภุญฺช วา วิสฺสชฺเชหิ
วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ
บาตรนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอย จง
จำหน่าย หรือจงกระทำตามปัจจัยก็ตาม ดังนี้ ชื่อว่าถอน. จำเดิมแต่
นั้น แม้การใช้สอยเป็นต้นควรอยู่.
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุทราบว่าบาตรมีใบเดียวหรือหลายใบ และวางไว้
ใกล้หรือมิได้วางไว้ใกล้อย่างนั้นเหมือนกัน แล้วกล่าวว่า อิมํ ปตฺตํ ซึ่ง
บาตรนี้ หรือว่า อิเม ปตฺเต ซึ่งบาตรทั้งหลายเหล่านี้ ก็ดี ว่า เอตํ
ปตฺตํ ซึ่งบาตรนั่น หรือว่า เอเต ปตฺเต ซึ่งบาตรทั้งหลายเหล่านั่น
ก็ดี ในสำนักของภิกษุนั้นนั่นแหละ แล้วระบุชื่อแห่งบรรดาสหธรรมิก
ทั้ง 5 รูปใดรูปหนึ่ง คือ ท่านใดท่านหนึ่ง ที่ตนชอบใจแล้วพึงกล่าวว่า
ติสฺสสฺส ภิกฺขุโน วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัปแก่ภิกษุชื่อว่าติสสะ ดังนี้
ก็ดี ว่า ติสฺสาย ภิกฺขุนิยา... ติสฺสาย สิกฺขมานาย... ติสฺสสฺส
สามเณรสฺส... ติสฺสาย สามเณริยา วิกปฺเปมิ
ข้าพเจ้าวิกัปแก่ภิกษุณี