เมนู

ใช้สอยอย่างใช้สอยภาชนะ ไม่ควรอธิษฐาน ไม่ควรวิกัป. ส่วนบาตร
7 ชนิดนอกนี้ พึงอธิษฐานหรือวิกัปไว้ใช้เถิด.
เมื่อภิกษุไม่กระทำอย่างนี้ ให้บาตรนั้นล่วง 10 วันไป เป็น
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือ เมื่อภิกษุให้บาตรแม้ทั้ง 7 ชนิด ล่วงกาลมี
10 วันเป็นอย่างยิ่งไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ แล.
ข้อว่า นิสฺสคฺคิยํ ปตฺตํ อนิสฺสชฺชิตฺวา ปริภุญฺชติ พึงทราบ
ความว่า เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ประโยคอย่างนี้ คือ เมื่อภิกษุดื่มยาคูแล้ว
ล้างบาตร เป็นทุกกฏ. เมื่อฉันของควรเคี้ยว ฉันภัตตาหารแล้วล้างบาตร
เป็นทุกกฏ.

[อธิบายบาตรที่ควรอธิษฐานและวิกัป]


ก็ในคำว่า อนาปตฺติ อนฺโตทสาหํ อธิฏฺเฐติ วิกปฺเปติ นี้ ผู้ศึกษา
พึงทราบแม้บาตรที่ได้ประมาณเป็นบาตรควรอธิษฐานและวิกัป โดยนัย
ดังจะกล่าวอย่างนี้:-
บาตรเหล็ก ระบมแล้วด้วยการระบม 5 ไฟ บาตรดินระบมแล้ว
ด้วยการระบม 2 ไฟ จึงควรอธิษฐาน. บาตรทั้ง 2 ชนิด เมื่อให้มูลค่า
ที่ควรให้แล้วนั่นแล ถ้าระบมยังหย่อนอยู่แม้เพียงหนึ่งไฟหรือยังไม่ได้ให้
มูลค่าแม้เพียงกากณิกหนึ่ง ไม่ควรอธิษฐาน. ถ้าเจ้าของบาตรกล่าวว่า
ท่านจงให้ในเวลาท่านมีมูลค่า ท่านจงอธิษฐานใช้สอยเถิด ดังนี้ ก็ยัง
ไม่ควรอธิษฐานแท้. เพราะว่า ยังไม่ถึงการนับว่าเป็นบาตร เพราะการ
ระบมยังหย่อนอยู่, ยังไม่ถึงความเป็นบาตรของตน ยังเป็นของผู้อื่นอยู่
ทีเดียว เพราะมูลค่าทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งยังไม่ได้ให้; เพราะฉะนั้น