เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ ยังอีกนานเท่าไร
สารีบุตรจึงจะกลับมา
พระอานนท์กราบทูลว่า ท่านจะกลับมาในวันที่ 9 หรือที่ 10
พระพุทธเจ้าข้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอติเรกบาตรไว้ได้ 10 วัน เป็น
อย่างยิ่ง อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้-

พระอนุบัญญัติ


40. 1. ก. พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ 10 วัน เป็นอย่างยิ่ง
ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอานนท์ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[119] บทว่า 10 วัน เป็นอย่างยิ่ง คือ ทรงไว้ได้ 10 วัน เป็น
อย่างมาก
ที่ชื่อว่า อติเรกบาตร ได้แก่ บาตรที่ยังมิได้อธิษฐาน ยังไม่ได้
วิกัป
ที่ชื่อว่า บาตร มี 2 อย่าง คือ บาตรเหล็ก 1 บาตรดินเผา 1

ขนาดของบาตร


บาตร 3 ขนาด คือ บาตรขนาดใหญ่ 1 บาตรขนาดกลาง 1
บาตรขนาดเล็ก 1

บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกแห่งข้าวสารกึ่งอาฬหก ของเคี้ยวเท่า
ส่วนที่ 4 กับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกแห่งข้าวสาร 1 นาฬี ของเคี้ยวเท่าส่วน
ที่ 4 กับข้าวพอสมควรแก่ข้างสุกนั้น
บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกแห่งข้าวสาร 1 ปัตถะ ของเคี้ยวเท่าส่วน
ที่ 4 กับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
ใหญ่กว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้ เล็กกว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ได้.
[120] คำว่า ให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ ความว่า
เมื่ออรุณที่ 11 ขึ้นมา บาตรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละ
แก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละบาตรนั้น อย่างนี้:-

วิธีเสียสละ


เสียสละแก่สงฆ์


[121] ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้
ว่า:-
ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้าล่วง 10 วัน เป็นของจำจะ
สละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ
พึงคืนบาตรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุมีชื่อนี้