เมนู

ในเพราะการจ้างซักผ้าเป็นต้นแม้นี้ เหมือนแสดงปาจิตตีย์ ในเพราะ
นิสสัคคิยวัตถุ ที่ตนใช้สอยแล้ว หรือเสียหายแล้วฉะนั้น.

[อธิบายอนาปัตติวาร]


ในคำว่า กยวิกฺกเย กยวิกฺกยสญฺญี เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบใจ
ความอย่างนี้ว่า ภิกษุใด ถึงการซื้อขาย, ภิกษุนั้นจงเป็นผู้มีความสำคัญ
ในการซื้อขายนั้นว่าเป็นการซื้อขาย หรือมีความสงสัย หรือมีความสำคัญ
ว่าไม่ใช่การซื้อชายก็ตามที เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ทั้งนั้น. ในจูฬติกะ
เป็นทุกกฏเหมือนกันทั้ง 2 บท.
สองบทว่า อคฺฆํ ปุจฺฉติ มีความว่า ภิกษุถามว่า บาตรของท่านนี้
ราคาเท่าไร ? แต่เมื่อเจ้าของบาตรกล่าวว่า ราคาเท่านี้ ถ้ากัปปิยภัณฑ์
ของภิกษุนั้นมีราคามาก, และภิกษุตอบอุบาสกนั้นไปอย่างนี้ว่า อุบาสก !
วัตถุของเรานี้มีราคามาก, ท่านจงให้บาตรของท่านแก่คนอื่นเถิด. ฝ่าย
อุบาสกได้ยินคำนั้น กล่าวว่า ผมจะแถมกระถางอื่นให้อีก จะรับเอาไว้
ก็ควร. ของนั้นตกไปในลักษณะที่ตรัสไว้ว่า เรามีสิ่งนี้ เป็นต้น. ถ้า
บาตรนั้นมีราคาแพง, สิ่งของของภิกษุมีราคาถูก, และเจ้าของบาตรไม่
รู้ว่าของนั้นราคาถูก, ภิกษุอย่าพึงรับเอาบาตร. พึงบอกว่า ของของเรา
มีราคาถูก. จริงอยู่ เมื่อภิกษุกล่าวหลอกลวงว่า มีราคามากรับเอา (บาตร)
ไป จะถึงความเป็นผู้อันพระวินัยธรพึงให้ตีราคาสูงของแล้วปรับอาบัติ.
ถ้าเจ้าของบาตรกล่าวว่า ช่างเถอะ ขอรับ ! ที่เหลือจักเป็นบุญแก่ผม แล้ว
ถวาย ควรอยู่.
สองบทว่า กปฺปิยการกสฺส อาจิกฺขติ มีความว่า ภิกษุทำคนอื่น

เว้นคนที่ตนรับภัณฑะจากมือ โดยที่สุดแม้เป็นบุตร หรือพี่น้องชายของ
เขา ให้เป็นกัปปิยการกแล้วบอกว่า เธอจงเอาสิ่งนี้ด้วย สิ่งนี้ ให้ด้วย.
ถ้าบุตรหรือพี่น้องชายนั้น เป็นคนฉลาดคัดเลือกต่อรองซ้ำ ๆ ซาก ๆ แล้ว
จึงรับเอา, ภิกษุพึงยืนนิ่งอยู่. ถ้าเขาเป็นคนไม่ฉลาด ไม่รู้จักจะถือเอา
พ่อค้า จะลวงเขา, ภิกษุพึงบอกเขาว่า เธออย่าเอา ดังนี้.
ในคำว่า เรามีสิ่งนี้ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุกล่าวว่า
น้ำมัน หรือเนยใสที่รับประเคนแล้วนี้ ของเรามีอยู่, แต่เราต้องการของ
อื่นที่ยังไม่ได้ประเคน ถ้าเขารับเอาน้ำมัน หรือเนยใสนั้น ให้น้ำมันหรือ
เนยใสอื่น. อย่าพึงให้ตวงน้ำมันของตนก่อน. เพราะเหตุไร ? เพราะ
ยังมีน้ำมันที่เหลืออยู่ ในทะนานน้ำมัน. น้ำมันที่เหลือนั้น จะพึงทำน้ำมัน
ที่ยังไม่ได้รับประเคน ของภิกษุผู้ตวงในภายหลังให้เสียไป ฉะนี้แล. คำ
ที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 6 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ.
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
พรรณนากยวิกกยสิกจาบทที่ 10 จบ
และจบวรรคที่ 2

นิสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ 3


ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 1
เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[117] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระฉัพพัคคีย์สั่งสมบาตรไว้เป็นอันมาก ชาวบ้านพากันเที่ยวชมวิหาร
เห็นแล้วพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระ-
ศากยบุตร จึงได้สั่งสมบาตรไว้เป็นอันมาก ท่านจักทำการขายบาตร หรือ
จักตั้งร้านขายภาชนะดินเผา
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่
ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้
ทรงอติเรกบาตรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระ
ฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอทรงอติเรกบาตร
จริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ