เมนู

อยู่ในมือของผู้อื่น ชื่อว่าขาย. แต่ด้วยบทนี้ ในบาลีท่านแสดงภัณฑะ
ของตนก่อน โดยอนุรูปแก่คำว่า อิมํ เป็นต้น.
บทว่า นิสฺสชฺชิตพฺพํ มีความว่า พึงสละกัปปิยภัณฑ์ ที่รับเอา
จากมือของคนอื่น ด้วยอำนาจแห่งการซื้อขายอย่างนี้. ก็การซื้อขายอย่างนี้
กับพวกคฤหัสถ์ และนักบวชที่เหลือ เว้นสหธรรมิกทั้ง 5 โดยที่สุด
แม้กับมารดาบิดา ก็ไม่ควร.
วินิจฉัยในการซื้อขายนั้นดังต่อไปนี้:- ผ้ากับผ้าก็ตาม อาหารกับ
อาหารก็ตาม จงยกไว้, ภิกษุกล่าวถึงกัปปิยภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งว่า
ท่านจงให้สิ่งนี้ ด้วยสิ่งนี้ เป็นทุกกฏ. ภิกษุกล่าวอย่างนั้นแล้วให้ภัณฑะ
ของตนแม้เเก่มารดาก็เป็นทุกกฏ. ภิกษุอันมารดากล่าวว่า ท่านจงให้สิ่งนี้
ด้วยสิ่งนี้ หรือกล่าวว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ฉันจักให้สิ่งนี้แก่ท่าน แล้วถือ
เอาภัณฑะแม้ของมารดาเพื่อตนก็เป็นทุกกฏ. เมื่อภัณฑะของตนถึงมือของ
คนอื่น และเมื่อภัณฑะของคนอื่นถึงมือของตน เป็นนิสสัคคีย์. แต่เมื่อ
ภิกษุกล่าวกะมารดาหรือบิดาว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ไม่เป็นการออกปากขอ.
เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้ ไม่เป็นการยังสัทธาไทยให้ตกไป.
เมื่อภิกษุพูดกะผู้มิใช่ญาติว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ เป็นการออกปากขอ, เมื่อ
พูดว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้ เป็นการยังสัทธาไทยให้ตกไป. เมื่อภิกษุถึง
การซื้อขายว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ด้วยสิ่งนี้ เป็นนิสสัคคีย์. เพราะฉะนั้น
อันภิกษุผู้จะแลกเปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ พึงแลกเปลี่ยนกับมารดาบิดาให้พ้น
การซื้อขาย กับพวกคนผู้มิใช่ญาติให้พ้นอาบัติ 3 ตัว.

[อธิบายวิธีการแลกเปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์]


ในกัปปิยภัณฑ์นั้น มีวิธีการแลกเปลี่ยนดังต่อไปนี้:- ภิกษุมีข้าว -

สารเป็นเสบียงทาง. เธอเห็นบุรุษถือข้าวสุกในระหว่างทางแล้วพูดว่า เรา
มีข้าวสาร, และเราไม่มีความต้องการด้วยข้าวสารนี้ แต่มีความต้องการ
ด้วยข้าวสุก ดังนี้. บุรุษรับเอาข้าวสารแล้วถวายข้าวสุก ควรอยู่. ไม่เป็น
อาบัติทั้ง 3 ตัว. ชั้นที่สุด แม้เพียงสักว่านิมิตกรรมก็ไม่เป็น. เพราะ-
เหตุไร ? เพราะมีมูลเหตุ. และพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ข้างหน้า
นั่นแลว่า ภิกษุพูดว่า เรามีสิ่งนี้, แต่มีความต้องการด้วยสิ่งนี้และสิ่งนี้
ดังนี้.
อนึ่ง ภิกษุใด ไม่กระทำอย่างนี้ แลกเปลี่ยนว่า ท่านจงให้สิ่งนี้
ด้วยสิ่งนี้ เป็นอาบัติตามวัตถุแท้. ภิกษุเห็นคนกินเดนกล่าวว่า เธอจง
กินข้าวสุกนี้แล้ว นำน้ำย้อมหรือฟืนมาให้ แล้วให้ (ข้าวสุก). เป็น
นิสสัคคีย์หลายตัวตามจำนวนสะเก็ดน้ำย้อมและจำนวนฟืน. ภิกษุกล่าวว่า
พวกท่านบริโภคข้าวสุกนี้แล้ว จงทำกิจชื่อนี้ แล้วใช้พวกช่างศิลป์มีช่าง
แกะสลักงาเป็นต้น ให้ทำบริขารนั้น ๆ บรรดาบริขารมีธมกรกเป็นต้น
หรือใช้พวกช่างย้อมให้ซักผ้า, เป็นอาบัติตามวัตถุทีเดียว. ภิกษุให้พวก
ช่างกัลบกปลงผมให้พวกกรรมกรทำนวกรรม, เป็นอาบัติตามวัตถุเหมือน
กัน. ก็ถ้าภิกษุไม่กล่าวว่า พวกท่านบริโภคอาหารนี้แล้ว จงทำกิจนี้
กล่าวว่า เธอจงบริโภคอาหารนี้, เธอบริโภคแล้ว, (หรือ) จักบริโภค,
จงช่วยทำกิจชื่อนี้ ย่อมสมควร. ก็ในการให้ทำบริขารเป็นต้นนี้ ภัณฑะ
ของผู้อื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน ชื่อว่าอันภิกษุพึงสละ ย่อมไม่มี
ในการซักผ้าหรือในการปลงผม หรือในนวกรรม มีการถางพื้นที่เป็นต้น
แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น เพราะท่านกล่าวไว้หนักแน่นในมหาอรรถกถา
ใคร ๆ ไม่อาจคัดค้านคำนั้นได้; เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงแสดงปาจิตตีย์

ในเพราะการจ้างซักผ้าเป็นต้นแม้นี้ เหมือนแสดงปาจิตตีย์ ในเพราะ
นิสสัคคิยวัตถุ ที่ตนใช้สอยแล้ว หรือเสียหายแล้วฉะนั้น.

[อธิบายอนาปัตติวาร]


ในคำว่า กยวิกฺกเย กยวิกฺกยสญฺญี เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบใจ
ความอย่างนี้ว่า ภิกษุใด ถึงการซื้อขาย, ภิกษุนั้นจงเป็นผู้มีความสำคัญ
ในการซื้อขายนั้นว่าเป็นการซื้อขาย หรือมีความสงสัย หรือมีความสำคัญ
ว่าไม่ใช่การซื้อชายก็ตามที เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ทั้งนั้น. ในจูฬติกะ
เป็นทุกกฏเหมือนกันทั้ง 2 บท.
สองบทว่า อคฺฆํ ปุจฺฉติ มีความว่า ภิกษุถามว่า บาตรของท่านนี้
ราคาเท่าไร ? แต่เมื่อเจ้าของบาตรกล่าวว่า ราคาเท่านี้ ถ้ากัปปิยภัณฑ์
ของภิกษุนั้นมีราคามาก, และภิกษุตอบอุบาสกนั้นไปอย่างนี้ว่า อุบาสก !
วัตถุของเรานี้มีราคามาก, ท่านจงให้บาตรของท่านแก่คนอื่นเถิด. ฝ่าย
อุบาสกได้ยินคำนั้น กล่าวว่า ผมจะแถมกระถางอื่นให้อีก จะรับเอาไว้
ก็ควร. ของนั้นตกไปในลักษณะที่ตรัสไว้ว่า เรามีสิ่งนี้ เป็นต้น. ถ้า
บาตรนั้นมีราคาแพง, สิ่งของของภิกษุมีราคาถูก, และเจ้าของบาตรไม่
รู้ว่าของนั้นราคาถูก, ภิกษุอย่าพึงรับเอาบาตร. พึงบอกว่า ของของเรา
มีราคาถูก. จริงอยู่ เมื่อภิกษุกล่าวหลอกลวงว่า มีราคามากรับเอา (บาตร)
ไป จะถึงความเป็นผู้อันพระวินัยธรพึงให้ตีราคาสูงของแล้วปรับอาบัติ.
ถ้าเจ้าของบาตรกล่าวว่า ช่างเถอะ ขอรับ ! ที่เหลือจักเป็นบุญแก่ผม แล้ว
ถวาย ควรอยู่.
สองบทว่า กปฺปิยการกสฺส อาจิกฺขติ มีความว่า ภิกษุทำคนอื่น