เมนู

อยู่ในมือของผู้อื่น ชื่อว่าขาย. แต่ด้วยบทนี้ ในบาลีท่านแสดงภัณฑะ
ของตนก่อน โดยอนุรูปแก่คำว่า อิมํ เป็นต้น.
บทว่า นิสฺสชฺชิตพฺพํ มีความว่า พึงสละกัปปิยภัณฑ์ ที่รับเอา
จากมือของคนอื่น ด้วยอำนาจแห่งการซื้อขายอย่างนี้. ก็การซื้อขายอย่างนี้
กับพวกคฤหัสถ์ และนักบวชที่เหลือ เว้นสหธรรมิกทั้ง 5 โดยที่สุด
แม้กับมารดาบิดา ก็ไม่ควร.
วินิจฉัยในการซื้อขายนั้นดังต่อไปนี้:- ผ้ากับผ้าก็ตาม อาหารกับ
อาหารก็ตาม จงยกไว้, ภิกษุกล่าวถึงกัปปิยภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งว่า
ท่านจงให้สิ่งนี้ ด้วยสิ่งนี้ เป็นทุกกฏ. ภิกษุกล่าวอย่างนั้นแล้วให้ภัณฑะ
ของตนแม้เเก่มารดาก็เป็นทุกกฏ. ภิกษุอันมารดากล่าวว่า ท่านจงให้สิ่งนี้
ด้วยสิ่งนี้ หรือกล่าวว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ฉันจักให้สิ่งนี้แก่ท่าน แล้วถือ
เอาภัณฑะแม้ของมารดาเพื่อตนก็เป็นทุกกฏ. เมื่อภัณฑะของตนถึงมือของ
คนอื่น และเมื่อภัณฑะของคนอื่นถึงมือของตน เป็นนิสสัคคีย์. แต่เมื่อ
ภิกษุกล่าวกะมารดาหรือบิดาว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ไม่เป็นการออกปากขอ.
เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้ ไม่เป็นการยังสัทธาไทยให้ตกไป.
เมื่อภิกษุพูดกะผู้มิใช่ญาติว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ เป็นการออกปากขอ, เมื่อ
พูดว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้ เป็นการยังสัทธาไทยให้ตกไป. เมื่อภิกษุถึง
การซื้อขายว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ด้วยสิ่งนี้ เป็นนิสสัคคีย์. เพราะฉะนั้น
อันภิกษุผู้จะแลกเปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ พึงแลกเปลี่ยนกับมารดาบิดาให้พ้น
การซื้อขาย กับพวกคนผู้มิใช่ญาติให้พ้นอาบัติ 3 ตัว.

[อธิบายวิธีการแลกเปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์]


ในกัปปิยภัณฑ์นั้น มีวิธีการแลกเปลี่ยนดังต่อไปนี้:- ภิกษุมีข้าว -