เมนู

คำว่า ราโค จิตฺตํ อนุทฺธํเสติ ความว่า กามราคะย่อมกำจัด
ทำลาย คือ ซัดส่ายจิตไปมา และทำจิตให้เหี่ยวแห้ง.
ข้อว่า ตทา หตฺเถน อุปกฺกมิตฺวา อสุจิ โมเจหิ มีความว่า
ในกาลนั้น เธอจงเอามือพยายามกระทำการไปล่อยอสุจิ, จริงอยู่ด้วยการ
กระทำอย่างนี้ เอกัคคตาจิต จักมีแก่เธอ อุปัชฌาย์พร่ำสอนเธออย่างนี้
เช่นกับคนโง่สอนคนโง่ คนใบ้สอนคนใบ้ฉะนั้น.

(แก้อรรคปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุหลายรูป)


คำว่า เตสํ ฯ เป ฯ โอกฺกมฺตานํ มีความว่า เมื่อภิกษุเหล่านั้น
ละสติสัมปชัญญะจำวัด. ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กำลังจำวัด ภวังควารที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่, สติสัมปชัญะวาระ
จะคลาดไป แม้ก็จริง; ถึงกระนั้น ในการจำวัด ภิกษุควรทำมนสิการ.
ภิกษุเมื่อจะจำวัดในกลางวัน พึงจำวัดพร้อมด้วยความอุตสาหะว่า เรา
จักจำวัดชั่วเวลาที่ผมของภิกษุผู้สรงน้ำ ยังไม่แห้ง แล้วจักลุกขึ้น ดังนี้
จะจำวัดในเวลากลางคืน พึงเป็นผู้มีความอุตสาหะจำวัดว่า เราจักหลับ
สิ้นส่วนแห่งราตรี ชื่อมีประมาณเท่านี้ แล้วลุกขึ้นในเวลาที่ดวงจันทร์
หรือดวงดาวโคจรมาถึงสถานที่ชื่อนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงกำหนดกรรมฐานอย่างหนึ่ง ในบรรดากรรมฐาน
ทั้ง 10 มีพุทธานุสติเป็นต้น หรือกรรมฐานที่ใจชอบอย่างอื่น แล้ว
จึงจำวัด . ก็เมื่อภิกษุกระทำเช่นนั้น ท่านเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ คือ
ไม่ละสติและสัมปชัญญะจำวัด, ก็ภิกษุเหล่านั้นเป็นคนโง่ โลเล มีส่วน
เปรียบด้วยเนื้อตื่น ไม่ได้กระทำอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระธรรม-
สังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จงกล่าวว่า เตสํ ฯ ป ฯ โอกฺกมนฺตานํ ดังนี้.