เมนู

ตำหนิ. อธิบายว่า สังฆาฎิของท่านผืนนี้ชำรุด จักอยู่ได้สักกี่วัน, อีก
อย่างหนึ่ง ปาฐะว่า กติหํปิ ตฺยายํ ก็มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
กติหํ คือ สิ้นวัน เท่าไร. มีคำอธิบายว่า ตลอดสักกี่วัน. บทที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน. คำว่า กตีหิปิ มฺยายํ นี้ ก็พึงทราบโดย
นัยนี้เหมือนกัน.
ในคำว่า คิหึปิ นํ คิหิสฺส นี้ ศัพท์ว่า นํ เป็นนิบาต ลงในอรรถ
แห่งนามศัพท์. มีคำอธิบายว่า ธรรมดาว่าแม้คฤหัสถ์ ก็ยังคืนให้แก่
คฤหัสถ์.
บทว่า นานปฺปการกํ คือ มีอย่างมิใช่น้อย ด้วยอำนาจแห่งกัป-
ปิยภัณฑ์ มีจีวรเป็นต้น. เพราะเหตุนั้นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า
นานปฺปการํ นั้น ท่านจึงทรงแสดงเฉพาะกัปปิยภัณฑ์ตั้งต้นแต่จีวร มี
ด้ายชายผ้าเป็นที่สุด. จริงอยู่ การแลกเปลี่ยนด้วยอกัปปิยภัณฑ์ย่อมไม่ถึง
การสงเคราะห์เข้าในการซื้อขาย.

[อธิบายการซื้อและขายที่ทำให้เป็นอาบัติ]


บทว่า กยวิกฺกยํ ได้แก่ การซื้อและการขาย. ภิกษุเมื่อถือเอา
กัปปิยภัณฑ์ของคนอื่นโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ด้วยสิ่งนี้ ชื่อว่า
ย่อมถึงการซื้อ, เมื่อให้กัปปิยภัณฑ์ของตน ชื่อว่าย่อมถึงการขาย.
บทว่า อชฺฌาจรติ คือ ย่อมประพฤติข่มขู่. อธิบายว่า ย่อม
กล่าววาจาล่วงเกิน.
ข้อว่า ยโต กยิตญฺจ โหติ วิกฺกีตญฺจ มีความว่า ในเวลาทำภัณฑะ
ของผู้อื่นให้อยู่ในมือของตน ชื่อว่าซื้อ และในเวลาทำภัณฑะของตนให้

อยู่ในมือของผู้อื่น ชื่อว่าขาย. แต่ด้วยบทนี้ ในบาลีท่านแสดงภัณฑะ
ของตนก่อน โดยอนุรูปแก่คำว่า อิมํ เป็นต้น.
บทว่า นิสฺสชฺชิตพฺพํ มีความว่า พึงสละกัปปิยภัณฑ์ ที่รับเอา
จากมือของคนอื่น ด้วยอำนาจแห่งการซื้อขายอย่างนี้. ก็การซื้อขายอย่างนี้
กับพวกคฤหัสถ์ และนักบวชที่เหลือ เว้นสหธรรมิกทั้ง 5 โดยที่สุด
แม้กับมารดาบิดา ก็ไม่ควร.
วินิจฉัยในการซื้อขายนั้นดังต่อไปนี้:- ผ้ากับผ้าก็ตาม อาหารกับ
อาหารก็ตาม จงยกไว้, ภิกษุกล่าวถึงกัปปิยภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งว่า
ท่านจงให้สิ่งนี้ ด้วยสิ่งนี้ เป็นทุกกฏ. ภิกษุกล่าวอย่างนั้นแล้วให้ภัณฑะ
ของตนแม้เเก่มารดาก็เป็นทุกกฏ. ภิกษุอันมารดากล่าวว่า ท่านจงให้สิ่งนี้
ด้วยสิ่งนี้ หรือกล่าวว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ฉันจักให้สิ่งนี้แก่ท่าน แล้วถือ
เอาภัณฑะแม้ของมารดาเพื่อตนก็เป็นทุกกฏ. เมื่อภัณฑะของตนถึงมือของ
คนอื่น และเมื่อภัณฑะของคนอื่นถึงมือของตน เป็นนิสสัคคีย์. แต่เมื่อ
ภิกษุกล่าวกะมารดาหรือบิดาว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ไม่เป็นการออกปากขอ.
เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้ ไม่เป็นการยังสัทธาไทยให้ตกไป.
เมื่อภิกษุพูดกะผู้มิใช่ญาติว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ เป็นการออกปากขอ, เมื่อ
พูดว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้ เป็นการยังสัทธาไทยให้ตกไป. เมื่อภิกษุถึง
การซื้อขายว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ด้วยสิ่งนี้ เป็นนิสสัคคีย์. เพราะฉะนั้น
อันภิกษุผู้จะแลกเปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ พึงแลกเปลี่ยนกับมารดาบิดาให้พ้น
การซื้อขาย กับพวกคนผู้มิใช่ญาติให้พ้นอาบัติ 3 ตัว.

[อธิบายวิธีการแลกเปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์]


ในกัปปิยภัณฑ์นั้น มีวิธีการแลกเปลี่ยนดังต่อไปนี้:- ภิกษุมีข้าว -