เมนู

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงสำนัก ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระ-
อุปนันทศากยบุตรว่า โปรดนำผ้าสังฆาฎิของท่านไป โปรดคืนผ้าของ
ผมมา
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรพูดว่า ข้าพเจ้าได้บอกท่านแล้วมิใช่หรือ
ว่า จงรู้เอาเองเถิด ข้าพเจ้าจักไม่คืนให้
ปริพาชกนั้น จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาขึ้นในทันใดนั้นแล
ว่า ธรรมดาคฤหัสถ์ก็ยังคืนให้แก่คฤหัสถ์ผู้เดือดร้อน ก็นี่บรรพชิตจักไม่
คืนให้แก่บรรพชิตด้วยกันเทียวหรือ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินปริพาชกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาผู้ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่
ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันท -
ศากยบุตร จึงได้ถึงการแลกเปลี่ยนกับปริพาชกเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระะผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธอถึงการแลก
เปลี่ยนกันปริพาชก จริงหรือ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ

ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้
ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้ถึงการแลกเปลี่ยนกับปริพาชกเล่า
การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่
แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชมชนที่
ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใส
แล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดย
อเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็น
คนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ
คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความ
เป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความ
กำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร
โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม
แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความ
รับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ-
ยาก 1 เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะ
อันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1