เมนู

สิกขาบทนี้ ในเพราะแลกเปลี่ยนภายหลัง. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งมิใช่รูปิยะว่าไม่ใช่รูปิยะ ซื้อ
ขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฏด้วย
กัปปิยวัตถุนั้นนั่นแหละ ไม่เป็นอาบัติ เหมือนอย่างนั้น ในเพราะการ
รับมูลค่า, เป็นทุกกฏด้วยสิกขาบทนี้ ในเพราะการแลกเปลี่ยนภายหลัง.
เพราะเหตุไร ? เพราะซื้อขายสิ่งเป็นอกัปปิยะ.
อนึ่ง เมื่อภิกษุแลกเปลี่ยนกัปปิยวัตถุ ด้วยกัปปิยวัตถุ นอกจาก
พวกสหธรรมิก ไม่เป็นอาบัติ ด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่า.
เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ด้วยวิกกยสิกขาบทข้างหน้า เพราะการแลกเปลี่ยน
ภายหลัง. เมื่อภิกษุถือเอาพ้นการซื้อขายไป ไม่เป็นอาบัติ แม้โดย
สิกขาบทข้างหน้า. (แต่) เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ประกอบการหาผลกำไร.

[อธิบายปัตตจตุกกะเป็นอุทาหรณ์]


อนึ่ง ผู้ศึกษาพึงทราบปัตตจตุกกะนี้ อันแสดงถึงความที่รูปิยสัพ-
โยหารสิกขาบทนี้หนัก. ความพิสดารว่า ภิกษุใด รับเอารูปิยะ แล้ว
จ้างให้ขุดแร่เหล็กขึ้นด้วยรูปิยะนั้น, ให้ช่างเหล็กถลุงแร่เหล็กนั้น แล้ว
ให้ทำบาตรด้วยโลหะนั้น. บาตรนี้ ชื่อว่า เป็นมหาอกัปปิยะ ภิกษุนั้น
ไม่อาจทำให้เป็นกัปปิยะได้ด้วยอุบายไร ๆ. ก็ถ้าว่า ทำลายบาตรนั้นแล้ว
ให้ช่างทำกระถาง. แม้กระถางนั้นก็เป็นอกัปปิยะ. ให้กระทำมีด แม้ไม้
สีพื้นที่ตัดด้วยมีดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ. ให้กระทำเบ็ด แม้ปลาที่เขาให้
ตายด้วยเบ็ดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ. ภิกษุให้ช่างเผาตัวมีดให้ร้อนแล้ว แช่
น้ำ หรือนมสดให้ร้อน. แม้น้ำและนมสดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะเช่นกัน.