เมนู

ที่ชื่อว่าสีสูปคะ เพราะอรรถว่า ประดับศีรษะ. ก็ในคัมภีร์ทั้งหลายเขียนไว้
ว่า สีสูปกํ ก็มี. คำว่า สีสูปกํ นี้ เป็นชื่อของเครื่องประดับศีรษะชนิด
ใดชนิดหนึ่ง. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
ในบทว่า กเตน กตํ เป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบการซื้อขายด้วย
รูปิยะล้วน ๆ เท่านั้น.
ข้าพเจ้า จักกล่าววินิจฉัยในบทว่า รูปิเย รูปิยสญฺญี เป็นต้น
ต่อไป:- บรรดาวัตถุที่กล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน เมื่อภิกษุซื้อขาย
นิสสัคคิยวัตถุด้วยนิสสัคคิยวัตถุ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทก่อน
ในเพราะการรับมูลค่า, ในเพราะการซื้อขายของอื่น ๆ เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้แล. แต่เมื่อซื้อขายทุกกฏวัตถุ หรือกัปปิยวัตถุ
ด้วยนิสสัคคิยวัตถุ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

[ว่าด้วยการซื้อขายรูปิยะด้วยรูปิยะเป็นต้น]


จริงอยู่ ผู้ศึกษาพึงทราบติกะว่า ภิกษุมีความสำคัญในรูปิยะว่าเป็น
รูปิยะ ซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะ เป็นต้น นี้ เป็นอีกติกะหนึ่ง ซึ่งแม้มิได้
ตรัสไว้ เพราะอนุโลมแก่ติกะที่สองที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุมีความสำคัญในสิ่ง
ที่มิใช่รูปิยะว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นต้นนี้. แท้จริง ภิกษุซื้อขาย
รูปิยะของผู้อื่นด้วยสิ่งมิใช่รูปิยะของตนก็ดี ซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะของ
ผู้อื่นด้วยรูปิยะของตนก็ดี แม้โดยการซื้อขายทั้งสองประการ ก็จัดเป็น
ทำการซื้อขายด้วยรูปิยะเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ในบาลี จึงตรัสไว้ติกะ
เดียวเท่านั้น ในฝ่ายรูปิยะข้างเดียวฉะนี้แล.
ก็เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์ ด้วยวัตถุแห่งทุกกฏ เป็น