เมนู

สมันตปาสาทิกาแปล อรรถกถาพระวินัย


มหาวิภังควรรณนา
ภาค 2


เตรสกัณฑวรรณนา


เตรสกะ (หมวด 13) ท่านพระธรรมสังคหกาจารย์
ทั้งหลาย ได้ร้อยกรองไว้ในลำดังแห่งปาราชิกกัณฑ์
มีการพรรณนาบทที่ยังไม่มีในก่อน ดังต่อไปนี้

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 1
สุกกวิสัฏฐิสิกขาบทวรรณนา


[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระเสยยสกะ]


บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทันอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี เขตพระ-
นครสาวัตถี. ก็ในสมัยนั้นแล ท่านพระเสยยสกะไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์นี้ ดังต่อไปนี้.
คำว่า อายสฺมา เป็นคำไพเราะ.
บทว่า เสยฺยสโก เป็นชื่อ ของภิกษุรูปนั้น.
คำว่า อนภิรโต ความว่า เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือ ถูกความ
เร่าร้อนเพราะกำหนัดในกามแผดเผาอยู่ แต่ไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์.

ข้อว่า โส เตน กิโส โหติ ความว่า พระเสยยสกะนั้นย่อม
เป็นผู้ผ่ายผอม เพราะความเป็นผู้ไม่ยินดีนั้น.
ในคำว่า อทฺทสา โข อายสฺมา อุทายี นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
บทว่า อุทายี เป็นชื่อของพระเถระนั้น. จริงอยู่ พระเถระ
ชื่อโลลุทายีนี้ เป็นอุปัชฌาย์ ของพระเสยยสกะ เป็นผู้มีส่วนเปรียบด้วย
เนื้อตื่น คือ เป็นภิกษุโลเลรูปใดรูปหนึ่งหนึ่ง บรรดาภิกษุผู้ตามประกอบ
เหตุแห่งความเกียจคร้าน มีความเป็นผู้มีความหลับนอนเป็นที่มายินดี
เป็นต้น.
บทว่า กจฺจิ โน ตฺวํ ไขความว่า กจฺจ นุ ตฺวํ แปลว่าท่าน.....
ละหรือหนอ. พึงทราบวินิจฉัย ในคำมีอาทิว่า ยาวทตฺถํ ภุญฺช
ดังต่อไปนี้ :- ความต้องการมีประมาณเพียงใด ชื่อว่า ยาวทัตถะ
(เท่าที่ต้องการ). มีคำอธิบายว่า เธอมีความประสงค์ด้วยโภชนะประมาณ
เท่าใด, คือ เธอต้องการประมาณเท่าใด, จงบริโภคประมาณเท่านั้น,
หรือว่า เธอปรารถนาเพื่อจะหลับในเวลากลางคืน หรือกลางวัน สิ้นกาล
ประมาณเท่าใด, จงหลับสิ้นกาลประมาณเท่านั้น เธอปรารถนาการ
ชโลมกายด้วยดินเหนียวเป็นต้น ขัดสีด้วยแป้งเป็นต้น แล้วอาบน้ำ
ประมาณเท่าใด, จงอาบน้ำประมาณเท่านั้น, ไม่มีประโยชน์ด้วยบาลี
อรรถกถา ข้อวัตรปฏิบัติ หรือด้วยกรรมฐาน.
คำว่า ยทา เต อนภิรติ อุปฺปชฺชติ ความว่า ในกาลใด ความ
กระสัน คือ ความเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งความกำหนัด ในกาม
เกิดแก่เธอ.

คำว่า ราโค จิตฺตํ อนุทฺธํเสติ ความว่า กามราคะย่อมกำจัด
ทำลาย คือ ซัดส่ายจิตไปมา และทำจิตให้เหี่ยวแห้ง.
ข้อว่า ตทา หตฺเถน อุปกฺกมิตฺวา อสุจิ โมเจหิ มีความว่า
ในกาลนั้น เธอจงเอามือพยายามกระทำการไปล่อยอสุจิ, จริงอยู่ด้วยการ
กระทำอย่างนี้ เอกัคคตาจิต จักมีแก่เธอ อุปัชฌาย์พร่ำสอนเธออย่างนี้
เช่นกับคนโง่สอนคนโง่ คนใบ้สอนคนใบ้ฉะนั้น.

(แก้อรรคปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุหลายรูป)


คำว่า เตสํ ฯ เป ฯ โอกฺกมฺตานํ มีความว่า เมื่อภิกษุเหล่านั้น
ละสติสัมปชัญญะจำวัด. ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กำลังจำวัด ภวังควารที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่, สติสัมปชัญะวาระ
จะคลาดไป แม้ก็จริง; ถึงกระนั้น ในการจำวัด ภิกษุควรทำมนสิการ.
ภิกษุเมื่อจะจำวัดในกลางวัน พึงจำวัดพร้อมด้วยความอุตสาหะว่า เรา
จักจำวัดชั่วเวลาที่ผมของภิกษุผู้สรงน้ำ ยังไม่แห้ง แล้วจักลุกขึ้น ดังนี้
จะจำวัดในเวลากลางคืน พึงเป็นผู้มีความอุตสาหะจำวัดว่า เราจักหลับ
สิ้นส่วนแห่งราตรี ชื่อมีประมาณเท่านี้ แล้วลุกขึ้นในเวลาที่ดวงจันทร์
หรือดวงดาวโคจรมาถึงสถานที่ชื่อนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงกำหนดกรรมฐานอย่างหนึ่ง ในบรรดากรรมฐาน
ทั้ง 10 มีพุทธานุสติเป็นต้น หรือกรรมฐานที่ใจชอบอย่างอื่น แล้ว
จึงจำวัด . ก็เมื่อภิกษุกระทำเช่นนั้น ท่านเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ คือ
ไม่ละสติและสัมปชัญญะจำวัด, ก็ภิกษุเหล่านั้นเป็นคนโง่ โลเล มีส่วน
เปรียบด้วยเนื้อตื่น ไม่ได้กระทำอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระธรรม-
สังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จงกล่าวว่า เตสํ ฯ ป ฯ โอกฺกมนฺตานํ ดังนี้.