เมนู

บทภาชนีย์


ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์


[107] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
รูปิย ะ ภิกษุสงสัย รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ


ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ


ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[108] ทองเงินตกอยู่ภายในวัดก็ดี ภายในที่อยู่ก็ดี ภิกษุหยิบยก
เองก็ดี ใช้ให้หยิบยกก็ดี แล้วเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า เป็นของผู้ใด ผู้นั้น
จักนำไปดังนี้ 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 8 จบ

โกสิยวรรคที่ 2 สิกขาบทที่ 8


พรรณนารูปิยสิกขาบท


รูปิยสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
ในรูปิยสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปฏิวึโส แปลว่า ส่วน.
ในบทว่า ชาตรูปรชตํ นี้ คำว่า ชาตรูป เป็นชื่อแห่งทองคำ.
ก็เพราะทองคำนั้นเป็นเช่นกับพระฉวีวรรณแห่งพระตถาคต; เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวไว้ในบทภาชนะว่า ท่านเรียกพระฉวีวรรณของพระศาสดา.
เนื้อความแห่งบทภาชนะนั้นว่า โลหะพิเศษมีสีเหมือนพระฉวีวรรณของ
ของพระศาสดา นี้ชื่อว่า ชาตรูป (ทองคำธรรมชาติ ). ส่วนเงินท่านเรียก
ว่า รูปิยะ. ในคำทั้งหลายว่า สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง เป็นต้น.
แต่ในสิกขาบทนี้ ท่านประสงค์เอากหาปณะเป็นต้นอย่างใดอย่างอย่างหนึ่ง
ที่ให้ถึงการซื้อขายได้. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า รชตํ
นั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า กหาปณะ โลหมาสก ดังนี้ เป็นต้น.

[อธิบายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์และทุกกฏ]


บรรดาบทว่า กหาปณะ เป็นต้นนั้น กหาปณะที่เขาทำด้วย
ทองคำก็ดี ทำด้วยเงินก็ดี กหาปณะธรรมดาก็ดี ชื่อว่า กหาปณะ.
มาสกที่ทำด้วยแร่ทองแดงเป็นต้น ชื่อว่า โลหมาสก.
มาสกที่ทำด้วยไม้แก่นก็ดี ด้วยข้อไม้ไผ่ก็ดี โดยที่สุดแม้มาสกที่เขา
ทำด้วยใบตาลสลักเป็นรูป ก็ชื่อว่า มาสกไม้.