เมนู

อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก
ปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลายแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความ
รับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ-
ยาก 1 เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะ
อันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1
เพื่อความเลื่อมใสของชุนชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 1
เพื่อถือตามพระวินัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


35. 6. อนึ่ง ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ภิกษุต้อง
การพึงรับได้ ครั้นรับแล้ว เมื่อคนถือไม่มี พึงถือไปด้วยมือของตนเอง
ตลอดระยะทาง 3 โยชน์เป็นอย่างมาก ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้
คนถือไม่มี เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์


[98] บทว่า แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ได้แก่ ภิกษุเดินทาง.
บทว่า ขนเจียมเกิดขึ้น คือ เกิดขึ้นแต่สงฆ์ก็ตาม แต่คณะ
ก็ตาม แต่ญาติก็ตาม แต่มิตรก็ตาม แต่ที่บังสุกุลก็ตาม แต่ทรัพย์ของ
ตนก็ตาม.
บทว่า ต้องการ คือ เมื่อปรารถนา ก็พึงรับได้.
คำว่า ครั้นรับแล้ว พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอดระยะทาง
3โยชน์เป็นอย่างมาก คือ นำไปด้วยมือของตนเองได้ ชั่วระยะทาง
3 โยชน์เป็นอย่างไกล.
บทว่า เมื่อคนถือไม่มี ความว่า คนอื่น คือสตรี หรือบุรุษ
คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต สักคนหนึ่ง เป็นผู้ช่วยถือไปไม่มี.
คำว่า ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี อธิบายว่า เธอ
ก้าวเกิน 3 โยชน์ เท้าแรกต้องอาบัติทุกกฏ เท้าที่สอง ขนเจียมเหล่านั้น
เป็นนิสสัคคีย์ เธอยืนอยู่ภายในระยะ 3 โยชน์ โยนขนเจียมลงนอกระยะ
3 โยชน์ก็เป็นนิสสัคคีย์ ซ่อนไว้ในยานพาหนะก็ตาม ในห่อถุงก็ตาม
ของคนอื่น ซึ่งเขาไม่รู้ ให้ล่วง 3 โยชน์ไป ก็เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของ
จำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละขนเจียมนั้นอย่างนี้:-

วิธีเสียสละ


เสียสละแก่สงฆ์


ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า