เมนู

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ
พึงคืนสันถัตสำหรับนั่งที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตสำหรับ
นั่งผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.

บทภาชนีย์


จตุกกนิสสัคคิยปาจิตตีย์


[95] สันถัตสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ เป็น
นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตสำหรับนั่ง คนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง เป็น
นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตสำหรับนั่ง คนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ


ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[96] ภิกษุถือเอาสันถัตเก่าหนึ่งคืบสุคตโดยรอบแล้วทำ 1 ภิกษุ
ไม่ได้ถือเอาแต่น้อยแล้วทำ 1 ภิกษุหาไม่ได้ ไม่ถือเอาเลยแล้วทำ 1
ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย 1 ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็น

เครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี 1
ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ

โกสิยวรรคที่ 2 สิกขาบทที่ 5


พรรณนานิสีทนสันถตสิกขาบท


นิสีทนสันถตสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:- ในนิสีทนสันถตสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
สองบทว่า อิจฺฉามหํ ภิกฺขเว ความว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าไม่ทอดพระเนตรเห็นสัตว์ที่ควรให้ตรัสรู้ไร ๆ เลย ตลอดภายใน
ไตรมาสนั้น; เพราะเหตุนั้น จึงตรัสอย่างนี้. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น
พระองค์ก็จะต้องทรงกระทำพระธรรมเทศนา ด้วยสามารถแห่งตันติ-
ประเพณี.
อนึ่ง เพราะพระองค์ได้ทรงมีรำพึงอย่างนี้ว่า เมื่อเราให้ทำโอกาส
หลีกเร้นอยู่ ภิกษุทั้งหลายจักกระทำกติกาวัตรอันไม่เป็นธรรม, อุปเสนะ
จักทำลายกติกาวัตรอันไม่เป็นธรรมนั้น, เราจักเลื่อมใส (ขอบใจ) เธอ
แล้วอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายเฝ้า, แต่นั้น พวกภิกษุผู้ประสงค์จะเยี่ยมเรา
เป็นอันมากจักสมาทานธุดงค์ทั้งหลาย และเราจักบัญญัติสิกขาบท เพราะ
สันถัตที่ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งเป็นปัจจัย. ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
อย่างนั้น. ก็ในการหลีกเร้นนี้ มีอานิสงส์มากอย่างนี้แล.
ข้อว่า สปริโส เยน ภควา เตนูปสงฺกมิ มีความว่า ได้ยินว่า
พระเถระได้รับการตำหนิในขันธกสิกขาบทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !