เมนู

พุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิก
ถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรง
บัญญัติไว้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยทรงอนุญาตให้บรรดาภิกษุผู้ถือ
การอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้า
เฝ้าได้ตามสะดวก ดังนี้
ภิกษุเหล่านั้นเห็นจริงด้วยในทันใดนั้นว่า ท่านพระอุปเสนวังคันต-
บุตรพูดถูกต้องจริงแท้ พระสงฆ์ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่ยังมิได้ทรง
บัญญัติ หรือไม่ควรเพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ ควรสมาทาน
ประพฤติในสิกกาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้.
[93] ภิกษุทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อนุญาตให้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างละทิ้งสันถัตพากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์ บิณฑ-
ปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์
หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จ
เที่ยวประพาสตามเสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นสันถัตซึ่งถูกทอดทิ้งไว้
ในที่นั้น ๆ ครั้นแล้วรับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สันถัตเหล่านี้ของใคร ถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ
จึงภิกษุเหล่านั้น ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท


ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความ
รับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ
ยาก 1 เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะ
อันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 1 เพื่อ
ถือตามพระวินัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้:-

พระบัญญัติ


34. 5. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตสำหรับนั่ง พึงถือเอาคืบสุคต
โดยรอบแห่งสันถัตว่า เพื่อทำให้เสียสี ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดย
รอบแห่งสันถัตเก่า ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งใหม่ เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์


[94] ที่ชื่อว่า สำหรับนั่ง ตรัสหมายผ้ามีชาย.
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ.
บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ตาม ให้เขาทำก็ตาม.