เมนู

โกสิยวรรคที่ 2 สิกขาบทที่ 4


พรรณนาฉัพพัสสสิกขาบท


ฉัพพัสสสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:-
สองบทว่า อูทหนฺติปิ อุมฺมิหนฺติปิ มีรูปความที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พวกเด็ก ๆ ถ่ายอุจจาระรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง เบื้องบนสันถัต
ทั้งหลาย.
พระปุสสเทวเถระกล่าวว่า ภิกษุผู้ได้รับสมมติอย่างนี้ว่า สันถัต
สมมิตสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ ย่อมได้เพื่อทำสันถัตในที่ที่ตนไปถึงตลอด
เวลาที่โรคยังไม่หาย. ถ้าเธอหายโรคแล้ว กลับอาพาธอีกด้วยพยาธิเดิม
นั่นแล, บริหาร (การคุ้มครอง) นั้นนั่นแลยังอยู่, ไม่มีกิจที่จะต้อง
สมมติอีก.
ส่วนพระอุปติสสเถระกล่าวว่า อาพาธนั้นกำเริบขึ้นหรืออาพาธอื่น
ก็ตามที, เธอได้ชื่อว่า เป็นผู้อาพาธ คราวเดียว ก็เป็นอันได้แล้ว
นั่นเที่ยว, ไม่มีกิจที่จะต้องสมมติใหม่.
ข้อว่า โอเรน เจ ฉนฺนํ วสฺสานํ ได้แก่ ส่วนร่วมใน คือ
ภายใน. แต่ในบทภาชนะ เพื่อจะแสดงแต่เพียงสังขยา จึงตรัสว่า ยังหย่อน
6 ปี.
ข้อว่า อนาปตฺติ ฉพฺพสฺสานิ กโรติ มีความว่า ย่อมทำสันถัต
ในเวลาครบ 6 ปีบริบูรณ์. แม้ในบทที่ 2 พึงเห็นใจความอย่างนี้ว่า
ทำในเวลาเกิน 6 ฝนไป. ความจริง ภิกษุนั้นจะทำคลอด 6 ปี หามิได้

แล. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเหมือนโกสิย-
สิกขาบทนั่นแล, แต่สิกขาบทนี้เป็นทั้งกิริยาและอกิริยาแล.
พรรณนาฉัพพัสสสิกขาบทที่ 4 จบ

โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 5
เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร


[91] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
ปรารถนาจะหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา
นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้ารูปให้รูปเดียว.
ภิกษุเหล่านั้นรับพระพุทธาณัติแล้ว ไม่มีใครไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าในพระวิหารนี้เลย นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
โดยแท้ ถึงอย่างนั้น สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีก็ยังตั้งกติกากันไว้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่
ตลอดไตรมาส ใคร ๆ ไม่พึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำ
บิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้
แสดงอาบัติปาจิตตีย์.
[92] ครั้งนั้น ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตกับภิกษุบริษัทเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว