เมนู

ไม่ควร. ถ้าพวกเขาถวายกัปปิยภัณฑ์เสียเอง. ควรรับ, ถ้าพวกเขาไม่ถวาย,
ไม่ควรทวงไม่ควรเตือน. การที่จะตั้งกัปปิยการกในสระที่รับไว้ด้วยอำนาจ
แห่งปัจจัย ควรอยู่. แต่จะทำการโกยดินขึ้นและกั้นคันสระเป็นต้น ไม่
ควร, ถ้าพวกกัปปิยการก กระทำเองเท่านั้น, จึงควร. เมื่อลัชชีภิกษุ
ผู้ฉลาดใช้พวกกัปปิยการกทำการโกยดินขึ้นเป็นต้น สระน้ำจะเป็นกัปปิยะ
ในเพราะการรับ แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้นก็เป็นการบริโภคไม่ดี ดุจ
บิณฑบาตที่เจือยาพิษ และดุจโภชนะที่เจืออกัปปิยมังสะฉะนั้น เพราะ
กัปปิยภัณฑ์ที่เจือด้วยสิ่งของอันเกิดจากประโยคของภิกษุเป็นปัจจัย เป็น
อกัปปิยะแก่พวกภิกษุทั่วไปเหมือนกัน .
แต่ถ้ายังมีโอกาสเพื่อน้ำ ภิกษุจะจัดการเฉพาะน้ำเท่านั้นอย่างนี้ว่า
ท่านจงทำโดยประการที่คันของสระจะมั่นคง จุน้ำได้มาก คือ จงทำให้
น้ำเอ่อขึ้นปริ่มฝั่ง ดังนี้ ควรอยู่.

[วิธีปฏิบัติในพืชผลที่ได้เพราะอาศัยสระน้ำของวัดเป็นต้น]


ชนทั้งหลายกำลังดับไฟที่เตาไฟ จะกล่าวว่า พวกท่านจงได้อุทก-
กรรมก่อนเถิด อุบาสก ดังนี้ ก็ควร. แต่จะกล่าวว่า ท่านจงกระทำข้าวกล้า
แล้วนำมา ไม่ควร. ก็ถ้าว่า ภิกษุเห็นน้ำในสระมากเกินไป ให้ชักเหมือง
ออกจากด้านข้าง หรือด้านหลัง ให้ถางป่า ให้ทำคันนาทั้งหลาย ไม่ถือ
ส่วนปกติในคันนาเดิม ถือเอาส่วนที่เกิน, กะเกณฑ์เอากหาปณะว่า ท่าน
ทั้งหลายจงให้กหาปณะประมาณเท่านี้ ในข้าวกล้านอกฤดูกาล หรือใน
ข้าวกล้าใหม่ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้, เป็นอกัปปิยะแก่ภิกษุทุกรูป.