เมนู

ถ้าว่าไม่มีความต้องการจีวรนั้น, สงฆ์ลำบากด้วยปัจจัยมีบิณฑบาตเป็นต้น
พึงอปโลกน์เพื่อความเห็นดีแห่งสงฆ์แล้วน้อมไป แม้เพื่อประโยชน์แก่
บิณฑบาตเป็นต้น. แม้ในอกัปปิยวัตถุที่เขาถวาย เพื่อประโยชน์แก่
บิณฑบาตและคิลานปัจจัย ก็นัยนี้.
อนึ่ง อกัปปิยวัตถุที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ พึงน้อม
ไปในเสนาสนะเท่านั้น เพราะเสนาสนะเป็นครุภัณฑ์. ก็ถ้าว่า เมื่อพวก
ภิกษุละทิ้งเสนาสนะไป เสนาสนะจะเสียหาย, ในกาลเช่นนี้พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย แม้จำหน่ายเสนาสนะแล้วบริโภค
(ปัจจัย) ได้.
เพราะฉะนั้น เพื่อรักษาเสนาสนะไว้ ภิกษุอย่ากระทำให้ขาดมูลค่า
พึงบริโภคพอยังอัตภาพให้เป็นไป. และมิใช่แต่เงินทองอย่างเดียวเท่านั้น,
แม้อกัปปิยวัตถุอื่นมีนาและสวนเป็นต้น อันภิกษุไม่ควรรับ.

[วิธีปฏิบัติในบึงและสระน้ำเป็นต้นที่มีผู้ถวาย]


ถ้าใคร ๆ กล่าวว่า บึงใหญ่ให้สำเร็จข้าวกล้า 3 ครั้ง ของข้าพเจ้า
มีอยู่, ข้าพเจ้าขอถวายบึงใหญ่นั้นแก่สงฆ์, ถ้าสงฆ์รับบึงใหญ่นั้น เป็น
อาบัติทั้งในการรับ ทั้งในการบริโภคเหมือนกัน. แต่ภิกษุใดปฏิเสธ
บึงใหญ่นั้น, ภิกษุนั้นอันภิกษุบางรูปไม่ควรว่ากล่าวอะไร ๆ โดยนัยก่อน
เหมือนกัน. เพราะว่าภิกษุใดโจทเธอ, ภิกษุนั่นเองมีอาบัติติดตัว. แต่
เธอรูปเดียวได้ทำให้ภิกษุมากรูปไม่ต้องอาบัติ.
อนึ่ง ผู้ใดแม้กล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายบึงใหญ่เช่นนั้นเหมือนกัน ถูก
พวกภิกษุปฏิเสธว่า ไม่ควร, ถ้ายังกล่าวว่า บึงโน้นและบึงโน้นของสงฆ์

มีอยู่, บึงนั้นย่อมควรได้ อย่างไร ? พึงบอกเขาว่า เขาจักทำให้เป็น
กัปปิยะแล้วถวายกระมัง ? เขาถามว่า ถวายอย่างไร จึงจะเป็นกัปปิยะ ?
พึงกล่าวว่า เขากล่าวถวายว่า ท่านทั้งหลาย จงบริโภคปัจจัย 4 เถิด
ดังนี้. ถ้าเขากล่าวว่า ดีละขอรับ ! ขอท่านทั้งหลายจงบริโภคปัจจัย 4 เถิด
ดังนี้, ควรอยู่.
ถ้าแม้น เขากล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงรับบังเถิด ถูกพวกภิกษุ
ทั้งหลายห้ามว่า ไม่ควร แล้วถามว่า กัปปิยการกมีอยู่หรือ ? เมื่อภิกษุตอบว่า
ไม่มี จึงกล่าวว่า คนชื่อโน้นจักจัดการบึงนี้, หรือว่า จักอยู่ในความ
ดูแลของคนโน้น หรือในความดูแลของข้าพเจ้า, ขอสงฆ์จงบริโภคกัปปิย-
ภัณฑ์เถิด ดังนี้, จะรับควรอยู่. ถ้าแม้นว่า ทายกนั้นถูกภิกษุปฏิเสธว่า
ไม่ควร แล้วกล่าวว่า คนทั้งหลายจักบริโภคน้ำ จักซักล้างสิ่งของ,
พวกเนื้อและนกจักดมกิน, แม้การกล่าวอย่างนี้ ก็สมควร.
ถ้าแม้นว่า ทายกถูกภิกษุปฏิเสธว่า ไม่ควร แล้วยังกล่าวว่า ขอท่าน
ทั้งหลายจงรับโดยมุ่งถึงของสมควรเป็นใหญ่เถิด, ภิกษุจะกล่าวว่า ดีละ
อุบาสก ! สงฆ์จักดื่มน้ำ จักซักล้างสิ่งของ พวกเนื้อและนกจักดื่มกิน
ดังนี้ แล้วบริโภค ควรอยู่. แม้หากว่า เมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายบึง
หรือสระโบกขรณีแก่สงฆ์ ภิกษุจะกล่าวคำเป็นต้นว่า ดีละ อุบาสก !
สงฆ์จักดื่มน้ำ แล้วบริโภคใช้สอย สมควรเหมือนกัน.
ก็ถ้า พวกภิกษุขอหัตถกรรม และขุดกัปปิยปฐพีด้วยมือของตนเอง
ให้สร้างสระน้ำเพื่อต้องการใช้น้ำ, ถ้าพวกชาวบ้านอาศัยสระนั้นทำข้าว
กล้าให้สำเร็จแล้วถวายกัปปิยภัณฑ์ในวิหาร ควรอยู่. ถ้าแม้นว่า พวกชาว
บ้านนั่นแหละ ขุดพื้นที่ของสงฆ์เพื่อต้องการอุปการะแก่สงฆ์ แล้วถวาย

กัปปิยภัณฑ์จากกล้าที่อาศัยสระน้ำนั้นสำเร็จแล้ว, กัปปิยภัณฑ์แม้นี้ ก็
สมควร. ก็เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จงตั้งกัปปิยการกให้พวกผม
คนหนึ่ง แม้ภิกษุจะตั้งก็ได้.
อนึ่ง ถ้าพวกชาวบ้านนั้น ถูกราชพลีรบกวนพากันหนีไป, ชาว
บ้านอื่นจักทำอยู่, และไม่ถวายอะไร ๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย, พวกภิกษุ
หวงห้ามน้ำก็ได้. ก็แลการหวงน้ำนั้น ย่อมได้ในฤดูทำนาเท่านั้น ไม่ใช่
ในฤดูข้าวกล้า (สำเร็จแล้ว). ถ้าพวกชาวบ้านกล่าวว่า ท่านขอรับ ! แม้
เมื่อก่อนพวกชาวบ้านได้อาศัยน้ำนี้ทำข้าวกล้ามิใช่หรือ ? เมื่อนั้นพึงบอก
พวกเขาว่า พวกนั้นเขาได้กระทำอุปการะอย่างนี้ และอย่างนี้แก่สงฆ์,
และได้ถวายแม้กัปปิยภัณฑ์ อย่างนั้น. ถ้าว่า พวกเขากล่าวว่า แม้พวก
ข้าพเจ้า ก็จักถวาย ดังนี้,. อย่างนี้ก็ควร.
ก็ถ้าว่า ภิกษุบางรูปไม่เข้าใจ รับสระหรือให้สร้างสระโดยอกัปปิย-
โวหาร, สระนั้นพวกภิกษุไม่ควรบริโภคใช้สอย. แม้กัปปิยภัณฑ์ที่อาศัย
สระนั้นได้มา ก็เป็นอกัปปิยะเหมือนกัน. ถ้าเจ้าของ (สระ) บุตรและ
ธิดาของเขา หรือใคร ๆ อื่นผู้เกิดในสกุลวงศ์ของเขา ทราบว่า ภิกษุ
ทั้งหลายสละแล้ว จึงถวายด้วยกัปปิยโวหารใหม่, สระนั้น ควร. เมื่อ
สกุลวงศ์ของเขาขาดสูญ ผู้ใดเป็นเจ้าของชนบทนั้น, ผู้นั้นริบเอาแล้ว
ถวายคืน เหมือนราชมเหสีนามว่า อนุฬา ทรงริบเอาฝายน้ำที่ภิกษุใน
จิตตลดาบรรพตชักมาแล้ว ถวายคืนฉะนั้น, แม้อย่างนี้ก็ควร.
จะทำการโกยดินขึ้น และกั้นคันสระใหม่ ในสระที่รับไว้ด้วยอำนาจ
แห่งน้ำ แม้เป็นกัปปิยโวหาร ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มีจิตบริสุทธิ์. แต่การ
ที่ภิกษุเห็นพวกชาวบ้านอาศัยสระนั้น กระทำข้าวกล้าอยู่ จะตั้งกัปปิยการก

ไม่ควร. ถ้าพวกเขาถวายกัปปิยภัณฑ์เสียเอง. ควรรับ, ถ้าพวกเขาไม่ถวาย,
ไม่ควรทวงไม่ควรเตือน. การที่จะตั้งกัปปิยการกในสระที่รับไว้ด้วยอำนาจ
แห่งปัจจัย ควรอยู่. แต่จะทำการโกยดินขึ้นและกั้นคันสระเป็นต้น ไม่
ควร, ถ้าพวกกัปปิยการก กระทำเองเท่านั้น, จึงควร. เมื่อลัชชีภิกษุ
ผู้ฉลาดใช้พวกกัปปิยการกทำการโกยดินขึ้นเป็นต้น สระน้ำจะเป็นกัปปิยะ
ในเพราะการรับ แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้นก็เป็นการบริโภคไม่ดี ดุจ
บิณฑบาตที่เจือยาพิษ และดุจโภชนะที่เจืออกัปปิยมังสะฉะนั้น เพราะ
กัปปิยภัณฑ์ที่เจือด้วยสิ่งของอันเกิดจากประโยคของภิกษุเป็นปัจจัย เป็น
อกัปปิยะแก่พวกภิกษุทั่วไปเหมือนกัน .
แต่ถ้ายังมีโอกาสเพื่อน้ำ ภิกษุจะจัดการเฉพาะน้ำเท่านั้นอย่างนี้ว่า
ท่านจงทำโดยประการที่คันของสระจะมั่นคง จุน้ำได้มาก คือ จงทำให้
น้ำเอ่อขึ้นปริ่มฝั่ง ดังนี้ ควรอยู่.

[วิธีปฏิบัติในพืชผลที่ได้เพราะอาศัยสระน้ำของวัดเป็นต้น]


ชนทั้งหลายกำลังดับไฟที่เตาไฟ จะกล่าวว่า พวกท่านจงได้อุทก-
กรรมก่อนเถิด อุบาสก ดังนี้ ก็ควร. แต่จะกล่าวว่า ท่านจงกระทำข้าวกล้า
แล้วนำมา ไม่ควร. ก็ถ้าว่า ภิกษุเห็นน้ำในสระมากเกินไป ให้ชักเหมือง
ออกจากด้านข้าง หรือด้านหลัง ให้ถางป่า ให้ทำคันนาทั้งหลาย ไม่ถือ
ส่วนปกติในคันนาเดิม ถือเอาส่วนที่เกิน, กะเกณฑ์เอากหาปณะว่า ท่าน
ทั้งหลายจงให้กหาปณะประมาณเท่านี้ ในข้าวกล้านอกฤดูกาล หรือใน
ข้าวกล้าใหม่ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้, เป็นอกัปปิยะแก่ภิกษุทุกรูป.