เมนู

ป่วยกล่าวไปไย ในเรื่องหักการทวงและการยืน ของภิกษุผู้กระทำอย่างนี้
ในต่างวันกันเล่า ?
ข้อว่า ยตสฺส จีวรเจตาปนํ อาภฏํ มีความว่า ทรัพย์สำหรับ
จ่ายจีวร ที่เขานำมาเพื่อภิกษุนั้น จากพระราชา หรือจากราชอำมาตย์ใด.
ปาฐะว่า ยตฺราสฺส ก็มี เนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน. อาจารย์บางพวก
สวดว่า ยตฺถสฺส ก็มี และกล่าวอรรถว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรอันเขา
ส่งมาเพื่อภิกษุนั้นในที่โด. แต่ว่า พยัญชนะไม่สมกัน.
บทว่า ตตฺถ มีความว่า ในสำนักแห่งพระราชา หรือว่าราชอำมาตย์
นั้น. จริงอยู่ คำว่า ตตฺถ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่าใกล้.
ข้อว่า น ตํ ตสฺส ภิกฺขุโน กิญฺจ อตฺถํ อนุโภติ มีความว่า
ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนั้น ไม่ให้สำเร็จกรรมน้อยหนึ่ง คือ แม้มีประมาณ
เล็กน้อย แก่ภิกษุนั้น.
ข้อว่า ยุญฺชนฺตายสฺมนฺโต สกํ มีความว่า ท่านทั้งหลายจงทวง
เอาทรัพย์ของตน คือ จงตามเอาทรัพย์นั่นคืนไปเสีย.
ข้อว่า มา โว สกํ วินสฺส มีความว่า ทรัพย์ส่วนตัวของท่าน
จงอย่าสูญหายไปเลย, อนึ่ง ภิกษุใด ย่อมไม่ไปเอง ทั้งไม่ส่งทูตไป
ภิกษุนั้น ย่อมต้องทุกกฏ เพราะละเลยวัตร.

[ว่าด้วยกัปปิยการกและไวยาวัจกร]


ถามว่า ก็ในกัปปิยการกทั้งปวง จะพึงปฏิบัติอย่างนี้หรือ ?
แก้ว่า ไม่ต้องปฏิบัติ (อย่างนี้เสมอไป).

แท้จริง ชื่อว่า กัปปิยการกนี้ โดยสังเขปมี 2 อย่าง คือ ผู้ที่ถูก
แสดง 1 ผู้ที่มิได้ถูกแสดง 1, ใน 2 พวกนั้น กัปปิยการกผู้ที่ถูกแสดง
มี 2 คือ ผู้ที่ภิกษุแสดงอย่างหนึ่ง ผู้ที่ทูตแสดงอย่างหนึ่ง. แม้กัปปิยการกที่
ไม่ถูกแสดงก็มี 2 อย่าง คือ กัปปิยการกผู้ออกปากเป็นเองต่อหน้า 1
กัปปิการกลับหลัง 1. บรรดากัปปิยการก ที่ภิกษุแสดงเป็นต้นนั้น
กัปปิยการกที่ภิกษุแสดง มี 4 อย่าง ด้วยอำนาจต่อหน้าและลับหลัง.
กัปปิยการกที่ทูตแสดงก็เช่นเดียวกันแล.
อย่างไร ? คือบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมส่งอกัปปิยวัตถุไปด้วย
ทูต เพื่อประโยชน์แก่จีวรสำหรับภิกษุ. ทูตเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น กล่าวว่า
ท่านขอรับ ! ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ ส่งอกัปปิยวัตถุนี้มาเพื่อประโยชน์แก่จีวร
สำหรับท่าน, ขอท่านจงรับอกัปปิยวัตถุนั้น. ภิกษุห้ามว่า อกัปปิยวัตถุนี้
ไม่สมควร. ทูตถามว่า ท่านขอรับ ! ก็ไวยาวัจกรของท่านมีอยู่หรือ ? และ
ไวยาวัจกรทั้งหลายที่พวกอุบาสก ผู้ต้องการบุญสั่งไว้ว่า พวกท่านจงทำ
การรับใช้แก่ภิกษุทั้งหลาย หรือไวยาวัจกรบางพวกเป็นเพื่อนเคยเห็น
เคยคบกันมา ของภิกษุทั้งหลายมีอยู่. บรรดาไวยาวัจกรเหล่านั้น คนใด
คนหนึ่ง นั่งอยู่ในสำนักของภิกษุ ในขณะนั้น. ภิกษุแสดงเขาว่า ผู้นี้
เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ดังนี้. ทูตมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของ
ไวยาวัจกรนั้น สั่งว่า ท่านจงซื้อจีวรถวายพระเถระ ดังนี้ แล้วไป. นี้
ชื่อว่าไวยาวัจกรที่ภิกษุแสดงต่อหน้า.
ถ้าไวยาวัจกร มิได้นั่งอยู่ในสำนักของภิกษุ, อนึ่งแล ภิกษุย่อม
แสดงขึ้นว่า คนชื่อนี้ ในบ้านชื่อโน้น เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย.

ทูตนั้นไปมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของไวยาวัจกรนั้นสั่งว่า ท่านพึงซื้อ
จีวรถวายพระเถระ มาบอกแก่ภิกษุแล้วจึงไป. ไวยาวัจกรนี้ ชื่อว่า
ผู้อันภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า อย่างหนึ่ง.
ก็แล ทูตนั้นมิได้มาบอกด้วยตนเองเลย แต่กลับวานผู้อื่นไปบอกว่า
ท่านขอรับ ! ทรัพย์สำหรับจ่ายค่าจีวร ผมได้มอบไว้ในมือผู้นั้น, ขอท่าน
พึงรับเอาจีวรเถิด. ไวยาวัจกรนี้ ชื่อว่าผู้อันภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า
อย่างที่สอง.
ทูตนั้น มิได้วานคนอื่นไปเลย, แต่ไปบอกภิกษุเสียเองแลว่า ผม
จักมอบทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ในมือแห่งผู้นั้น, ขอท่านพึงรับเอาจีวรเถิด.
ผู้นี้ชื่อว่า ไวยาวัจกรที่ภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า อย่างที่สาม. ด้วยประการ
ดังกล่าวมานี้ ไวยาวัจกร 4 จำพวกเหล่านี้ คือ ผู้ที่ภิกษุแสดงต่อหน้า
จำพวกหนึ่ง ผู้ที่ภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า 3 จำพวก ชื่อว่าไวยาวัจกรที่
ภิกษุแสดง. ในไวยาวัจกร 4 จำพวกนี้ ภิกษุพึงปฏิบัติ โดยนัยที่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในราชสิกขาบทนี้แล.
ภิกษุอีกรูปหนึ่งถูกทูตถามแล้ว โดยนัยก่อนนั่นแล เพราะไวยาวัจกร
ไม่มี หรือเพราะไม่อยากจะจัดการ จึงกล่าวว่า พวกเรา ไม่มีกัปปิยการก
และในขณะนั้นมีคนบางคนผ่านมา, ทูตจึงมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของ
เขา แล้วกล่าวว่า ท่านพึงรับเอาจีวรจากมือของผู้นี้เถิด แล้วไปเสีย,
ไวยาวัจกรนี้ ชื่อว่าผู้อันทูตแสดงต่อหน้า.
ยังมีทูตอื่นอีกเข้าไปยังบ้านแล้ว มอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของผู้ใด
ผู้หนึ่ง ที่ชอบพอกับตน แล้วมาบอก หรือวานผู้อื่นไปบอกโดยนัยก่อน
นั่นแล หรือกล่าวว่า ผมจักให้ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ในมือของคนชื่อ

โน้น, ท่านพึงรับเอาจีวรเถิด ดังนี้ แล้วไปเสีย. ไวยาวัจกรที่ 3 นี้ชื่อว่า
ผู้ที่ทูตแสดงไม่พร้อมหน้า ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ไวยาจักร 4 จำพวก
เหล่านี้ คือไวยาวัจกรที่ทูตแสดงต่อหน้าจำพวกหนึ่ง ไวยาวัจกรที่ทูตแสดง
ไม่พร้อมหน้า 3 จำพวก ชื่อว่าไวยาวัจกรที่ทูตแสดง. ในไวยาจักร 4
จำพวกเหล่านี้ ภิกษุพึงปฏิบัติ โดยนัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
เมณฑกสิกขาบทนั่นแล.
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย มีอยู่
พวกมนุษย์ที่มีศรัทธาเลื่อมใส, มนุษย์เหล่านั้น ย่อมมอบหมายเงิน และ
ทองไว้ในมือแห่งกัปปิยการกทั้งหลายสั่งว่า พวกท่านจงจัดของที่ควร
ถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า ด้วยเงินและทองนี้ ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาต
ให้ยินดี สิ่งของซึ่งเป็นกัปปิยะจากเงินและทองนั้น, ภิกษุทั้งหลาย ! แต่
เราหากล่าวไม่เลยว่า ภิกษุพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน โดยปริยาย
ไร ๆ.
ในอธิการแห่งไวยาวัจกร 4 จำพวกที่ทูตแสดงนี้ ไม่มีกำหนดการ
ทวง. การที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีมูลค่า ยินดีแต่กัปปิยภัณฑ์โดยการทวงหรือการ
ยืน แม้ตั้งพันครั้ง ก็ควร. ถ้าไวยาวัจกรนั้นไม่ให้, แม้จะพึงตั้งกัปปิย-
การกอื่น ให้นำมาก็ได้. ถ้ากัปปิยการกอื่นปรารถนาจะนำมา, ภิกษุพึง
บอกแม้แก่เจ้าของเดิม. ถ้าไม่ปรารถนา, ก็ไม่ต้องบอก.
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ถูกทูตถามโดยนัยก่อนเหมือนกัน กล่าวว่า พวก
เราไม่มีกัปปิยการก. คนอื่นจากทูตนั้น ยืนอยู่ใกล้ ๆ ได้ยินจึงกล่าวว่า
ผู้เจริญ ! โปรดนำมาเถิด, ผมจักจ่ายจีวรถวายพระคุณเจ้า ดังนี้. ทูตกล่าว
ว่า เชิญเถิด ท่านผู้เจริญ ! ท่านพึงถวาย แล้วมอบไว้ในมือของผู้นั้น

ไม่บอกแก่ภิกษุเลย ไปเสีย. นี้ชื่อว่ากัปปิยการกผู้ออกปากเป็นเองต่อหน้า.
ทูตอีกคนหนึ่งมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมืออุปัฏฐากของภิกษุ หรือคน
อื่นสั่งว่า ท่านพึงถวายจีวรแก่พระเถระ แล้วหลีกไปจากที่นั่นทีเดียว. นี้
ชื่อว่า กัปปิยการกลับหลัง ; ฉะนั้น กัปปิยการกทั้งสองนี้จึงชื่อว่า กัปปิย-
การกที่ทูตไม่ได้แสดง. ในกัปปิยการกทั้ง 2 นี้ พึงปฏิบัติเหมือนในอัญญา-
ตกสิกขาบท และอัปปวาริตสิกขาบทฉะนั้น. ถ้ากัปปิยการกที่ทูตมิได้
แสดงทั้งหลาย นำจีวรมาถวายเอง ภิกษุพึงรับ, ถ้าไม่ได้นำมาถวาย,
อย่าพึงพูดคำอะไร ๆ.
ก็คำว่า ทูเตน จีวรเจตาปนํ ปหิเณยฺย นี้ สักว่าเป็นเทศนาเท่านั้น.
ถึงในพวกกัปปิยการกแม้ผู้นำอกัปปิยวัตถุมาถวาย เพื่อประโยชน์แก่
บิณฑบาตเป็นต้นด้วยตนเอง ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ภิกษุจะรับเพื่อ
ประโยชน์แก่ตนเองอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สมควร.

[วิธีปฏิบัติในเรื่องเงินและทองที่มีผู้ถวาย]


ถ้าใคร ๆ นำเอาทองและเงินมากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายทองและเงิน
นี้แก่สงฆ์, ท่านทั้งหลายจงสร้างอาราม วิหาร เจดีย์ หรือหอฉันเป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม, จะรับทองและเงินแม้นี้ไม่ควร. ในมหาปัจจรี
ท่านกล่าวไว้ว่า ด้วยว่าเป็นทุกกฏแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผู้รับเพื่อประโยชน์
แก่ผู้อื่น. ก็ถ้าเมื่อภิกษุปฎิเสธว่า ภิกษุทั้งหลายจะรับทองและเงินนี้ ไม่
สมควร. เขากล่าวว่า ทองและเงินจักอยู่ในมือของพวกช่างไม้ หรือพวก
กรรมกร, ท่านทั้งหลายจงรับทราบการงานที่เขาทำดี และไม่ดีอย่างเดียว
ดังนี้แล้ว มอบไว้ในมือพวกช่างไม้ หรือพวกกรรมกรเหล่านั้นจึงหลีกไป,