เมนู

สารยมาโน ตํ จีวรํ อภินิปฺผาเทยฺย อิจฺเจตํ กุสลํ จึงตรัสว่า ถ้าภิกษุ
สั่งไวยาวัจกรนั้นให้จัดสำเร็จ การให้จัดสำเร็จได้อย่างนี้นั้น เป็นการดี.
เมื่อทวงถึง 3 ครั้ง อย่างนั้น ถ้าจัดจีวรนั้นให้สำเร็จได้ คือ ย่อมอาจเพื่อ
ให้สำเร็จ ด้วยอำนาจ (ทำ) ให้ตนได้มา. การจัดการให้สำเร็จได้อย่างนี้
นั่นเป็นการดี คือ ให้สำเร็จประโยชน์ ดี งาม.
คำว่า จตุกฺขตฺตุํ ปญฺจกขตตุํ ฉกฺขตฺตุปรมํ ตุณฺหีภูเตน อุทฺทิสฺส
ฐาตพฺพํ
นี้ เป็นการแสดงลักษณะแห่งการยืน. ก็คำว่า ฉกฺขตฺตุปรมํ นี้
บอกภาวนปุงสกลิงค์. จริงอยู่ ภิกษุนี้ พึงยืนนิ่งเฉพาะจีวร 6 ครั้งเป็น
อย่างมาก. ไม่พึงกระทำกิจอะไร ๆ อื่น. นี้เป็นลักษณะแห่งการยืน.
เพื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้นิ่ง (ที่ตรัส) ไว้ในบทว่า ตุณฺหีภูเตน นั้น
ซึ่งเป็นสาธารณะแก่การยืนทุก ๆ ครั้งก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า
ตตฺถ คนฺตฺวา ตุณฺหีภูเตน เป็นต้น ในบทภาชนะ.

[อธิบายการทวงการยืน]


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า น อาสเน นิสีทิตพฺพํ มีความว่า
ภิกษุแม้อันไวยาจักรกล่าวว่า โปรดนั่งที่นี้เถิด ขอรับ ! ก็ไม่ควรนั่ง.
สองบทว่า น อามิสํ ปฏิคฺคเหตพฺพํ ความว่า แม้อันเขา
อ้อนวอนอยู่ว่า โปรดรับอามิสต่างโดยยาคูและของเคี้ยวเป็นต้น สักเล็ก
น้อย ขอรับ ! ก็ไม่ควรรับ.
สองบทว่า น ธมฺโม ภาสิตพฺโพ มีความว่า แม้ถูกเขาอ้อนวอน
อยู่ว่า โปรดกล่าวมงคล หรืออนุโมทนาเถิด ก็ไม่ควรกล่าวอะไรเลย
เมื่อถูกเขาถามอย่างเดียวว่า ท่านมาเพราะเหตุอะไร ? พึงบอบเขาว่า

จงรู้เอาเองเถิด ผู้มีอายุ ! จริงอยู่ คำว่า ปุจฺฉิยมาโน นี้ เป็นปฐมา-
วิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ศึกษาพึงเห็นใจความใน
บทว่า ปุจฉิยมาโน นี้ แม้อย่างนี้ว่า ถูกเขาตั้งปัญหาถาม. จริงอยู่
บุคคลใด ย่อมตั้งปัญหาถาม, ภิกษุควรตอบบุคคลนั้นเท่านี้แล.
สองบทว่า ฐานํ ภญฺชติ คือ ย่อมหักซึ่งเหตุแห่งการมา.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงการเพิ่ม และการลดใน
การทวง 3 ครั้ง และการยืน 6 ครั้ง ที่พระองค์ตรัสไว้แล้ว จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า จตุกฺขตฺตุํ โจเทตฺวา เป็นต้น. อนึ่ง ในพระบาลีนี้ตรัสให้ลด
การยืน 2 ครั้ง โดยเพิ่มการทวงครั้งหนึ่ง; เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันทรง
แสดงลักษณะว่า การทวงหนึ่งครั้งเท่ากับการยืนสองครั้ง. มีคำอธิบายว่า
โดยลักษณะดังกล่าวมานี้ ภิกษุทวง 3 ครั้ง พึงยืนได้ 6 ครั้ง, ทวง
2 ครั้ง พึงยืนได้ 8 ครั้ง, ทวงครั้งเดียว พึงยืนได้ 10 ครั้ง, เหมือน
อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ทวง 6 ครั้งแล้ว ไม่พึงยืน ฉันใด ยืน 12 ครั้ง
แล้ว ก็ไม่พึงทวง ฉันนั้น ดังนี้ก็มีเหมือนกัน.
เพราะฉะนั้น บัณฑิต พึงทราบวินิจฉัยในการทวง และการยืน
ทั้งสองนั่นอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทวงอย่างเดียว ไม่ยืน ย่อมได้การทวง 6 ครั้ง.
ถ้ายืนอย่างเดียว ไม่ทวง ย่อมได้การยืน 12 ครั้ง. ถ้าทวงบ้าง ยืนบ้าง
พึงลดการยืน 2 ครั้ง ต่อการทวงครั้ง 1, บรรดาการทวงและการยืนนั้น
ภิกษุใด ไปทวงบ่อย ๆ วันเดียวเท่านั้นถึง 6 ครั้ง, หรือว่าไปเพียงครั้ง
เดียว แต่พูด 6 ครั้งว่า ผู้มีอายุ รูปต้องการจีวร, อนึ่ง ไปยืนบ่อย ๆ
วันเดียวเท่านั้นถึง 12 ครั้ง, หรือว่าไปเพียงครั้งเดียว แต่ยืนในที่นั้น ๆ
12 ครั้ง, ภิกษุแม้นั้นย่อมหักการทวงทั้งหมด และการยืนทั้งหมด ก็จะ

ป่วยกล่าวไปไย ในเรื่องหักการทวงและการยืน ของภิกษุผู้กระทำอย่างนี้
ในต่างวันกันเล่า ?
ข้อว่า ยตสฺส จีวรเจตาปนํ อาภฏํ มีความว่า ทรัพย์สำหรับ
จ่ายจีวร ที่เขานำมาเพื่อภิกษุนั้น จากพระราชา หรือจากราชอำมาตย์ใด.
ปาฐะว่า ยตฺราสฺส ก็มี เนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน. อาจารย์บางพวก
สวดว่า ยตฺถสฺส ก็มี และกล่าวอรรถว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรอันเขา
ส่งมาเพื่อภิกษุนั้นในที่โด. แต่ว่า พยัญชนะไม่สมกัน.
บทว่า ตตฺถ มีความว่า ในสำนักแห่งพระราชา หรือว่าราชอำมาตย์
นั้น. จริงอยู่ คำว่า ตตฺถ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่าใกล้.
ข้อว่า น ตํ ตสฺส ภิกฺขุโน กิญฺจ อตฺถํ อนุโภติ มีความว่า
ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนั้น ไม่ให้สำเร็จกรรมน้อยหนึ่ง คือ แม้มีประมาณ
เล็กน้อย แก่ภิกษุนั้น.
ข้อว่า ยุญฺชนฺตายสฺมนฺโต สกํ มีความว่า ท่านทั้งหลายจงทวง
เอาทรัพย์ของตน คือ จงตามเอาทรัพย์นั่นคืนไปเสีย.
ข้อว่า มา โว สกํ วินสฺส มีความว่า ทรัพย์ส่วนตัวของท่าน
จงอย่าสูญหายไปเลย, อนึ่ง ภิกษุใด ย่อมไม่ไปเอง ทั้งไม่ส่งทูตไป
ภิกษุนั้น ย่อมต้องทุกกฏ เพราะละเลยวัตร.

[ว่าด้วยกัปปิยการกและไวยาวัจกร]


ถามว่า ก็ในกัปปิยการกทั้งปวง จะพึงปฏิบัติอย่างนี้หรือ ?
แก้ว่า ไม่ต้องปฏิบัติ (อย่างนี้เสมอไป).