เมนู

สารยมาโน ตํ จีวรํ อภินิปฺผาเทยฺย อิจฺเจตํ กุสลํ จึงตรัสว่า ถ้าภิกษุ
สั่งไวยาวัจกรนั้นให้จัดสำเร็จ การให้จัดสำเร็จได้อย่างนี้นั้น เป็นการดี.
เมื่อทวงถึง 3 ครั้ง อย่างนั้น ถ้าจัดจีวรนั้นให้สำเร็จได้ คือ ย่อมอาจเพื่อ
ให้สำเร็จ ด้วยอำนาจ (ทำ) ให้ตนได้มา. การจัดการให้สำเร็จได้อย่างนี้
นั่นเป็นการดี คือ ให้สำเร็จประโยชน์ ดี งาม.
คำว่า จตุกฺขตฺตุํ ปญฺจกขตตุํ ฉกฺขตฺตุปรมํ ตุณฺหีภูเตน อุทฺทิสฺส
ฐาตพฺพํ
นี้ เป็นการแสดงลักษณะแห่งการยืน. ก็คำว่า ฉกฺขตฺตุปรมํ นี้
บอกภาวนปุงสกลิงค์. จริงอยู่ ภิกษุนี้ พึงยืนนิ่งเฉพาะจีวร 6 ครั้งเป็น
อย่างมาก. ไม่พึงกระทำกิจอะไร ๆ อื่น. นี้เป็นลักษณะแห่งการยืน.
เพื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้นิ่ง (ที่ตรัส) ไว้ในบทว่า ตุณฺหีภูเตน นั้น
ซึ่งเป็นสาธารณะแก่การยืนทุก ๆ ครั้งก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า
ตตฺถ คนฺตฺวา ตุณฺหีภูเตน เป็นต้น ในบทภาชนะ.

[อธิบายการทวงการยืน]


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า น อาสเน นิสีทิตพฺพํ มีความว่า
ภิกษุแม้อันไวยาจักรกล่าวว่า โปรดนั่งที่นี้เถิด ขอรับ ! ก็ไม่ควรนั่ง.
สองบทว่า น อามิสํ ปฏิคฺคเหตพฺพํ ความว่า แม้อันเขา
อ้อนวอนอยู่ว่า โปรดรับอามิสต่างโดยยาคูและของเคี้ยวเป็นต้น สักเล็ก
น้อย ขอรับ ! ก็ไม่ควรรับ.
สองบทว่า น ธมฺโม ภาสิตพฺโพ มีความว่า แม้ถูกเขาอ้อนวอน
อยู่ว่า โปรดกล่าวมงคล หรืออนุโมทนาเถิด ก็ไม่ควรกล่าวอะไรเลย
เมื่อถูกเขาถามอย่างเดียวว่า ท่านมาเพราะเหตุอะไร ? พึงบอบเขาว่า