เมนู

เอามาถวาย 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 10 จบ
นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ วรรคที่ 1 จบ

หัวข้อประจำเรื่อง


1. ทสาหปรมสิกขาบท ว่าด้วยการทรงอติเรกจีวรไว้ได้ 10 วัน
เป็นอย่างยิ่ง
2. เอกรัตติสิกขาบท ว่าด้วยการอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้ราตรี
หนึ่ง
3. มาสปรมสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บจีวรไว้ได้เดือนหนึ่งเป็น
อย่างยิ่ง
4. ปุราณจีวรโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ภิกษุณีซักจีวรเก่า
5. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท ว่าด้วยการรับจีวรจากมือภิกษุณี
6. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการขอจีวรต่อเจ้าเรือน
ผู้มิใช่ญาติ
7. ตทุตตริสิกขาบท ว่าด้วยการขอจีวรเกินกำหนด
8. อุททิสสิกขาบท ว่าด้วยมูลค่าจีวรของเจ้าทรัพย์รายเดียว
9. อุภินนอุททิสสิกขาบท ว่าด้วยมูลค่าจีวรของเจ้าทรัพย์สองราย
10. ทูตสิกขาบท ว่าด้วยมูลค่าจีวรที่เจ้าทรัพย์ส่งมาถวาย.

จีวรวรรคที่ 1 สิกขาบทที่ 10


พรรณนาราชสิกขาบท


ราชสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
ในราชสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถมูลเหตุปฐมบัญญัติ]


สองบทว่า อุปาสกํ สญฺญาเปตฺวา ได้แก่ ให้อุบาสกเข้าใจแล้ว.
อธิบายว่า กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ท่านจงซื้อจีวรด้วยมูลค่านี้แล้ว ถวาย
พระเถระ.
บทว่า ปญฺญาสพนฺโธ มีคำอธิบายว่า ถูกปรับ 50 กหาปณะ.
ปาฐะว่า ปญฺญาสมฺพนฺโธ ก็มี.
หลายบทว่า อชฺชุณฺโห ภนฺเต อาคเมหิ มีความว่า ท่านขอรับ !
วันนี้ โปรดหยุด คือ ยับยั้ง ให้กระผมสักวันหนึ่ง.
บทว่า ปรามสิ แปลว่า ได้ยืดไว้.
บทว่า ชิโนสิ มีความว่า ท่านถูกพวกเราชนะ คือ ชนะท่าน
50 กหาปณะ อธิบายว่า ท่านจะต้องเสียให้ 50 กหาปณะ.
บทว่า ราชโภคโค มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่าราชอำมาตย์ เพราะมี
เบี้ยเลี้ยงจะพึงบริโภค หรือพึงใช้สอย จากพระราชา. ปาฐะว่า ราชโภโค
ก็มี. ความว่า ผู้มีโภคะ (ความเป็นใหญ่) จากพระราชา.
บทว่า ปหิเณยฺย แปลว่า พึงส่งไป. แต่เพราะมีอรรถตื้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า ปหิเณยฺย นั้นไว้.
ก็บทว่า ปหิเณยฺย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสบทภาชนะไว้ฉันใด,