เมนู

พึงไปเองทรัพย์ก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร
มาเพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด
ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ ท่านจงทวงเอา
ทรัพย์ของท่านคืน ทรัพย์ของท่านอย่างได้ฉิบหายเสียหาย นี้เป็น
สามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์


[71] บทว่า อนึ่ง...เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของ
ภิกษุ คือทำภิกษุให้เป็นอารมณ์ใคร่จะให้ภิกษุครอง
ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ผู้ทรงราชย์
ที่ชื่อว่า ราชอำมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับความชุบเลี้ยง
ของพระราชา
ที่ชื่อว่า พราหมณ์ ได้แก่ พราหมณ์ โดยกำเนิด
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ เจ้าเรือน ยกพระราชา ราชอำมาตย์
พราหมณ์ นอกนั้นชื่อว่าคหบดี
ที่ชื่อว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้ว
มุกดา แก้วลาย หรือแก้วผลึก.
บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้
เฉพาะ.
บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน.
บทว่า ให้ครอง คือ จงถวาย.

ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่าย
จีวรนี้ นำมาเฉพาะท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ภิกษุนั้น
พึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่
พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้น
อย่างนี้ว่า ก็ใคร ๆ ผู้เป็นไวยาจักรของท่านมีหรือ ภิกษุผู้ต้องการจีวร
พึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม หรืออุบายสกให้เป็นไวยาจักรด้วยคำว่า
คนนั้นแลเป็นไวยาจักรของภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรกล่าวว่า จงให้แก่คุณ
นั้น หรือว่านั้นจักเก็บไว้ หรือว่าคนนั้นจักแลก หรือว่าคนนั้น
จักจ่าย ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาจักรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาจักรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจ
แล้ว ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล ภิกษุผู้ต้อง
การจีวรเข้าไปหาไวยาจักรแล้วพึงทวง พึงเตือนสองสามครั้งว่า รูป
ต้องการจีวร อย่าพูดว่า จงให้จีวรแก่รูป จงนำจีวรมาให้รูป จงแลก
จีวรให้รูป จงจ่ายจีวรให้รูป พึงพูดได้แม้ครั้งที่สอง พึงพูดได้แม้
ครั้งที่สาม ถ้าให้จัดสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็น
การดี ถ้าให้จัดสำเร็จไม่ได้ พึงไปยืนนิ่งต่อหน้าในที่ใกล้ไวยาจักร
นั้น ไม่พึงนั่งบนอาสนะ ไม่พึงรับอามิส ไม่พึงกล่าวธรรม เมื่อเขา
ถามว่า มาธุระอะไร พึงกล่าวว่า รู้เอาเองเถิด ถ้านั่งบนอาสนะก็ดี
รับอามิสก็ดี กล่าวธรรมก็ดี ชื่อว่าหักการยืนเสีย พึงยืนได้ครั้งที่สอง
พึงยืนได้แม้ครั้งที่สาม ทั้ง 4 ครั้งแล้ว พึงยืนได้ 4 ครั้ง ทวง 5 ครั้ง
แล้ว พึงยืนได้ 2 ครั้ง ทวง 6 ครั้งแล้ว จะพึงยืนไม่ได้ ถ้าเธอ
พยายามให้ยิ่งกว่านั้นยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นทุกกฏในประโยคที่

พยายาม เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ
หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-

วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์


ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน 3 ครั้ง
ด้วยยืนเกิน 6 ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ
พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็น
ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึง
ที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.

เสียสละแก่คณะ


ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าให้สำเร็จด้วยทวงเกิน 3 ครั้ง
ด้วยยืนเกิน 6 ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย