เมนู

พระบัญญัติ


29. 10. อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี
คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่าย
จีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าทูตนั้น
เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะ
ท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้น
อย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่
จีวรอันเป็นของควรโดยกาล ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็
ใคร ๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดง
ชนผู้ทำการในอารามหรืออุบาสกให้เป็นไวยาจักร ด้วยคำว่า คนนั้น
แลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้า
ใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยา-
วัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่าน
ครองจีวรตามกาล ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวง
พึงเตือนสองสามครั้งว่า รูปต้องการจีวร ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ สอง
สามครั้ง ยังไวยาจักรนั้น ให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วย
อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงยืนต่อหน้า 4 ครั้ง
5 ครั้ง 6 ครั้ง เป็นอย่างมาก เธอยืนนิ่งต่อหน้า 4 ครั้ง 5 ครั้ง 6 ครั้ง
เป็นอย่างมาก ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้
ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ ถ้าเธอพยายามให้ยิ่ง
กว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าให้สำเร็จไม่ได้

พึงไปเองทรัพย์ก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร
มาเพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด
ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ ท่านจงทวงเอา
ทรัพย์ของท่านคืน ทรัพย์ของท่านอย่างได้ฉิบหายเสียหาย นี้เป็น
สามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์


[71] บทว่า อนึ่ง...เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของ
ภิกษุ คือทำภิกษุให้เป็นอารมณ์ใคร่จะให้ภิกษุครอง
ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ผู้ทรงราชย์
ที่ชื่อว่า ราชอำมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับความชุบเลี้ยง
ของพระราชา
ที่ชื่อว่า พราหมณ์ ได้แก่ พราหมณ์ โดยกำเนิด
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ เจ้าเรือน ยกพระราชา ราชอำมาตย์
พราหมณ์ นอกนั้นชื่อว่าคหบดี
ที่ชื่อว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้ว
มุกดา แก้วลาย หรือแก้วผลึก.
บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้
เฉพาะ.
บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน.
บทว่า ให้ครอง คือ จงถวาย.