เมนู

คำว่า อปิมยฺยา เอวํ โหติ มีความว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า !
ความจริง ผมตั้งใจไว้อย่างนั้น. ปาฐะว่า อปิ เมยฺยา เอวํ โหติ แปลว่า
ข้าแด่พระคุณเจ้า ! ถึงผมก็มีความคิดอย่างนี้ ดังนี้ ก็มี.
บทว่า อุทฺทิสฺส ที่มีอยู่ในคำว่า ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส นี้ มี
อรรถว่า อ้างถึง คือ ปรารภถึง. ก็เพราะทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรที่พ่อ
เจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ตระเตรียมไว้เฉพาะภิกษุใด จัดว่าเป็นอัน
เขาตระเตรียมแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุนั้น; ฉะนั้น ในบทภาชนะแห่ง
บทว่า ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทสฺส นั้น ท่านพระอุบาลี จึงกล่าวว่า เพื่อ
ประโยชน์แก่ภิกษุ.

[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร]


คำว่า ภิกฺขุํ อารมฺมณํ กริตฺวา ได้แก่ กระทำภิกษุให้เป็นปัจจัย.
จริงอยู่ ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรที่พ่อเจ้าเรือน หรือแม่เจ้าเรือนตระ-
เตรียมไว้เฉพาะภิกษุใด ย่อมชื่อว่าเป็นอันเขาทำภิกษุนั้นให้เป็นปัจจัย
ตระเตรียมไว้โดยแน่นอนทีเดียว. เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ทำภิกษุให้
เป็นอารมณ์. ความจริง แม้ปัจจัย ก็มาแล้วโดยชื่อว่า อารมณ์ ในคำว่า
ลภติ มาโร อารมฺมณํ แปลว่า มารย่อมได้ปัจจัย ดังนี้เป็นต้น .
บัดนี้ เพื่อแสดงอาการของกัตตา (ผู้ทำ) ในบทว่า อุทฺทิสฺส นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ประสงค์จะให้ภิกษุครอง. จริงอยู่ คฤหบดี
ผู้ประสงค์จะให้ภิกษุครองนั้น ตระเตรียมไว้เฉพาะภิกษุนั้น, มิใช่ (ตระ-
เตรียม) เพราะเหตุอื่น. เพราะเหตุนี้ คฤหบดีนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ประสงค์