เมนู

เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ขอจีวรเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรเกินกำหนด
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ


เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ขอจีวร... ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย ขอจีวร...ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ


เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ...ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[61] ภิกษุนำเอาไปด้วยคิดว่า จักนำจีวรที่เหลือมาคืน 1 เจ้าเรือน
ถวายบอกว่า จีวรที่เหลือจงเป็นของท่านรูปเดียว 1 เจ้าเรือนไม่ได้ถวาย
เพราะเหตุจีวรถูกชิงไป 1 เจ้าเรือนไม่ได้ถวายเพราะเหตุจีวรหาย 1 ภิกษุ
ขอต่อญาติ 1 ภิกษุขอต่อคนปวารณา 1 ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน 1
ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 7 จบ

จีวรวรรคที่ 1 สิกขาบทที่ 7


พรรณนาตทุตตริสิกขาบท


ตทุตตริสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
ในตทุตตริสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องปวารณาเพื่อนำไป]
ศัพท์ว่า อภิ ในคำว่า อภิหฏฺฐุํ เป็นอุปสรรค. มีอรรถว่า เพื่อ
นำไป. มีคำอธิบายว่า เพื่อถือเอา.
บทว่า ปวาเรยฺย มีความว่า พึงให้ปรารถนา คือ ให้เกิดความ
ปรารถนา ความพอใจ, อธิบายว่า พึงบอก คือ พึงนิมนต์. เพื่อทรง
แสดงอาการที่ผู้ปวารณาเพื่อให้นำไปจะพึงกล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า อภิหฏฺฐุํ ไว้อย่างนี้ว่า ท่านต้องการจีวรเท่าใด
ก็จงรับไปเท่านั้นเถิด. อีกอย่างหนึ่ง ในบาทคาถานี้ว่า เนกฺขมฺมํ หฏฺฐุ-
เขมโต
มีอรรถว่า ทิสฺวา (เห็นแล้ว) ฉันใด, สองบทว่า อภิหฏฺฐุํ
ปวาเรยฺย แม้ในสิกขาบทนี้ ก็มีอรรถว่า เขานำมาแล้วปวารณา ฉันนั้น.
การนำมาในคำว่า อภิหริตฺวา นั้น มี 2 อย่างคือ การนำมาด้วย
กายอย่าง 1 การนำนาด้วยวาจาอย่าง 1. พ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี
ผู้มิใช่ญาติ นำผ้าทั้งหลายมาด้วยกายแล้ววางไว้ที่ใกล้เท้า พึงปวารณา
กล่าวว่า ท่านต้องการจีวรเท่าใด ก็จงรับไปเท่านั้นเถิด. อนึ่ง พึงกล่าว
ปวารณาด้วยวาจาว่า เรือนคลังผ้าของพวกข้าพเจ้า เต็มบริบูรณ์, ท่าน
ต้องการจีวรเท่าใด ก็จงรับไปเท่านั้นเถิด. ก็เพราะรวมการนำมาทั้งสอง
นั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน ตรัสเรียกว่า ปวารณาเพื่อนำไป.