เมนู

อนาปัตติวาร


[57] ภิกษุขอในสมัย 1 ภิกษุขอต่อญาติ 1 ภิกษุขอต่อคน
ปวารณา 1 ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น 1 ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์
ของตน 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 6 จบ

จีวรวรรคที่ 1 สิกขาบทที่ 6


พรรณนาอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท


อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้า
จะกล่าวต่อไป:- ในอญัญาตกวิญญัตติสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อ
ไปนี้:-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระอุปนันทศากยบุตร]
สองบทว่า อุปนนฺโท สกฺยปุตฺโต ได้แก่ บรรดาภิกษุผู้บวช
จากศากยตระกูลประมาณแปดหมื่นรูป พระอุปนันทศากยบุตรเป็นภิกษุ
เลวทราม มีชาติโลเล.
บทว่า ปฏฺโฐ ได้แก่ เป็นผู้ฉลาด สามารถ เฉียบแหลมถึงพร้อม
ด้วยเสียง คือประกอบด้วยความเป็นผู้มีลูกคอไพเราะ.
บทว่า กิสฺมึ วิย มีความว่า ดูเหมือนกระไรอยู่ ดูเป็นผู้มี
ความเศร้าหมอง คือเป็นดุจจะสะทกสะท้าน ดุจจะหวาดสะดุ้งด้วยอำนาจ
หิริและโอตัปปะ.

บทว่า อทฺธานมคฺคํ มีความว่า ทางยาว กล่าวคือทางไกลไม่ใช่
ทางถนนในเมือง.
คำว่า เต ภิกูขู อจฺฉินฺทึสุ มีความว่า ได้ปล้น คือได้แย่งชิง
เอาบาตรและจีวรของภิกษุเหล่านั้นไป.
บทว่า อนุยุญฺชาหิ ความว่า ท่านโปรดสอบถาม เพื่อต้องการ
ทราบความเป็นภิกษุ.
บทว่า อนุยุญฺชิยมานา ความว่า ภิกษุเหล่านั้นถูกท่านพระอุบาลี
สอบสวนถึงการบรรพชา อุปสมบท การอธิษฐานบาตรและจีวรเป็นต้น
อยู่.
ข้อว่า เอตมตฺถํ อาโรเจสุํ มีความว่า ทูลให้ทราบว่าเป็นภิกษุ
แล้ว ได้กราบทูลเรื่องที่ภิกษุเหล่านั้นกล่าว โดยนัยเป็นต้นว่า เป็นผู้
เดินทางไกลจากเมืองสาเกตสู่พระนครสาวัตถี.

[เมื่อถูกโจรชิงเอาจีวรไปห้ามเปลือยกายเดินทาง]


ในคำว่า อญฺญาตกํ คหปตึ วา เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบ
อนุปุพพีกถา ตั้งต้นแต่คำที่ตรัสไว้ข้างหน้าว่า ปกปิดแล้วด้วยหญ้าหรือ
ด้วยใบไม้ เป็นต้น โดยนัยดังจะกล่าวต่อไปอย่างนั้น:-
ถ้าพวกภิกษุหนุ่มเห็นพวกโจรแล้วถือเอาบาตรและจีวรหนีไป, พวก
โจรชิงเอาเพียงผ้านุ่งและผ้าห่มของพระเถระทั้งหลายเท่านั้นไป, พระเถระ
ทั้งหลายยังไม่ควรให้ขอจีวรทีเดียวก่อน, ยังไม่ควรจะหักกิ่งไม้และเด็ด
ใบไม้. ถ้าพวกภิกษุหนุ่มทิ้งห่อของทั้งหมดหนีไป, พวกโจรชิงเอาผ้านุ่ง
และผ้าห่มของพระเถระและห่อสิ่งของนั้นไป, พวกภิกษุหนุ่มมาแล้ว ยัง
ไม่ควรให้ผ้านุ่งและผ้าห่มของตนแก่พระเถระทั้งหลายก่อน. เพราะว่าพวก