เมนู

[แก้อรรถศัพท์เรื่องปฐมบัญญัติ]


บทว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺตา แปลว่า กลับจากบิณฑบาต.
ข้อว่า เยน อนฺธวนํ เตนุปสงฺกมิ มีความว่า เมื่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติสิกขาบท ภิกษุณีอุบลวรรณาเดินเข้าไปทาง
ป่าอันธวัน.
บทว่า กตกมฺมา ได้แก่ ผู้กระทำโจรกรรม. มีคำอธิบายว่า ปล้น
ภัณฑะของผู้อื่นด้วยกรรมมีการตัดช่องเป็นต้น .
บทว่า โจรคามณิโก ได้แก่ หัวหน้าโจร. ได้ยินว่า หัวหน้าโจร
นั้นรู้จักพระเถรีมาก่อน; เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อไปข้างหน้าของพวกโจร
เห็นพระเถรีนั้น จึงกล่าวว่า พวกเธออย่าไปทางนั้น จงมาทางนี้ทั้งหมด
ดังนี้ แล้วได้พาพวกโจรเหล่านั้นไปทางอื่น.
สองบทว่า สมาธิมฺหา วุฏฺฐหิตฺวา มีความว่า ได้ยินว่า พระเถรี
ออกจากสมาธิในเวลาที่กำหนดไว้นั่นแล. แม้นายโจรนั้นได้พูดอย่างนั้น
ในขณะนั้นเหมือนกัน; เพราะฉะนั้น พระเถรีนั้นจึงได้ยิน. ก็แลพระเถรี
ครั้นได้ยินเสียงนั้นจึงคิดว่า บัดนี้ ในที่นี้ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์อื่นนอก
จากเรา จึงได้ถือเอามังสะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์
ทั้งหลายจึงได้กล่าวว่า อถโข อุปฺปลวณฺณา ภิกขุนี ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า โอหียโก ได้แก่ คงอยู่คือเหลืออยู่, อธิบายว่า ถึงวาระ
เฝ้าวิหาร อยู่ในวิหารเพียงรูปเดียว.

[พระอุทายีขออันตรวาสกของพระเถรี]


ถามว่า เพราะเหตุไร พระอุทายีจึงกล่าวว่า ถ้าท่านพึงให้อันตร-
วาสกแก่เรา ดังนี้.

แก้ว่า พระอุทายีเห็นอันตรวาสกเนื้อละเอียดแน่นและเกลี้ยง จึง
กล่าวเพราะความอยากได้. อีกนัยหนึ่ง ความอยากได้ในอันตรวาสกของ
พระอุทายีนั้นเล็กน้อย, แต่โกฎฐาสสมบัติของพระเถรีถึงยอดสุด; เพราะ
เหตุนั้น พระอุทายีจึงคิดว่า เราจักดูความอวบอัดแห่งสรีระร่างของพระ-
เถรีนั้น แล้วยังความอยากได้ไม่สม่ำเสมอ (ความอยากได้ลุ่ม ๆ ดอน ๆ)
ให้เกิดขึ้น จึงได้กล่าวอย่างนี้.
บทว่า อนฺติมํ ได้แก่ จีวรเป็นผืนสุดท้ายเขาทั้งหมดแห่งจีวร 5 ผืน
ชื่อว่าผืนสุดท้าย คือ ผืนท้ายสุด. จีวรผืนอื่นที่วิกัป หรือปัจจุทธรณ์
เก็บไว้แม้ด้วยเลศก็ไม่มี; เพราะฉะนั้น พระเถรีกล่าวอย่างนี้ ด้วยอำนาจ
ที่ทรงจีวร 5 ผืน ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต ไม่ใช่ด้วยความ
โลภ. จริงอยู่ ความโลภของพระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่มี.
บทว่า นิปฺปีฬิยมานา มีความว่า นางถูกพระอุทายีแสดงอุปมา
แล้วคาดคั้นหนักเข้า.
ข้อว่า อนฺตรวาสกํ ทตฺวา อคมาสิ มีความว่า พระเถรีนุ่งผ้ารัดถัน
แล้วได้แสดง (จีวร) บนฝ่ามือเท่านั้นถวาย โดยอาการที่มโนรถของพระ-
อุทายีจะไม่เต็มที่ ได้ไปแล้ว.
ถามว่า เพราะเหตุไร ภิกษุณีทั้งหลายจึงกล่าวโทษพวกภิกษุผู้ไม่
รับจีวรที่แลกเปลี่ยน.
แก้ว่า เพราะเป็นผู้ถูกความขาดแคลนมือ คือ ปัจจัยบีบคั้นอย่างนี้
ว่า ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่มีความคุ้นเคยในพวกเรา แม้เพียงเท่านี้,
พวกเราจักดำเนินชีวิตไปได้อย่างไรกัน ?
ข้อว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อิเมสํ ปญฺจนฺนํ มีความว่า เราอนุญาต

ให้รับจีวรแลกเปลี่ยนกันของสหธรรมิก 5 จำพวกเหล่านี้ ผู้มีศรัทธาเสมอ
กัน มีศีลเสมอกัน มีทิฎฐิเสมอกัน.
สองบทว่า ปโยเค ทุกฺกฏํ มีความว่า เป็นทุกกฏในเพราะอาการ
มีอันเหยียดมือออก เพื่อประสงค์จะรับเป็นต้น .
บทว่า ปฏิลาเภน ได้แก่ เพราะรับ.
ก็พึงทราบวินิจฉัยในการรับนั้นดังนี้:- ภิกษุณีจงให้ที่มือด้วยมือ
ก็ตาม วางไว้ที่ใกล้เท้าก็ตาม โยนไปในเบื้องบนก็ตาม, ถ้าภิกษุยินดี,
จีวรย่อมเป็นอันภิกษุนั้นรับแล้วทีเดียว. ก็ถ้าว่าภิกษุรับเอาจีวรที่ภิกษุณี
ฝากไปในมือของนางสิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสกและอุบาสิกา
เป็นต้น, ไม่เป็นอาบัติ. บริษัททั้ง 4 นำจีวรและผ้าสีต่าง ๆ มาวางไว้
ใกล้เท้าเเห่งภิกษุผู้กล่าวธรรมกถา หรือยืนในอุปาจาร หรือละอุปจารโยน
ให้. บรรดาผ้าเหล่านั้น จีวรใดเป็นของนางภิกษุณีทั้งหลาย, เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้รับจีวรนั้นเหมือนกัน นอกจากแลกเปลี่ยนกัน.
ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรี และกุรุนทีว่า ก็ถ้าว่า จีวรทั้งหลาย
ย่อมเป็นอันบริษัท 4 โยนไปในเวลากลางคืน, ภิกษุไม่อาจรู้ได้ว่า นี้ของ
ภิกษุณี นี้ของคนอื่น, ไม่มีกิจด้วยการแลกเปลี่ยน. คำที่กล่าวไว้ในมหา-
ปัจจรีและกุรุนทีนั้น ไม่สมกัน เพราะสิกขาบทเป็นอจิตตกะ. ถ้าภิกษุณี
ถวายผ้าอาบน้ำฝน พึงกระทำให้เป็นของแลกเปลี่ยนเหมือนกัน. ก็ถ้า
ภิกษุณีวางไว้ที่กองหยากเยื่อเป็นต้นด้วยตั้งใจว่า ภิกษุทั้งหลายจงถือเอา
เป็นผ้าบังสกุล ดังนี้, ภิกษุจะอธิษฐานเป็นผ้าบังสกุลถือเอา ควรอยู่.
ข้อว่า อญฺญาติกาย อญฺญาติกสญฺญี คือ เป็นติกปาจิตตีย์.

สองบทว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย มีความว่า เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ
ผู้รับจากมือของภิกษุณีผู้อุปสมบท ในสำนักนางภิกษุณีทั้งหลาย (ฝ่ายเดียว)
แต่เป็นปาจิตตีย์ (แก่ภิกษุผู้รับจากมือ) ของภิกษุณีผู้อุปสมบทในสำนัก
แห่งภิกษุทั้งหลาย.
สองบทว่า ปริตฺเตน วา วิปุลํ มีความว่า ถ้าแม้นว่า ภิกษุจะรับ
ไตรจีวรมีค่ามาก ด้วยจีวรมีค่าน้อย หรือด้วยบริขารอื่นมีถุงรองเท้า ถลก-
บาตร ผ้าอังสะ และประคดเอวเป็นต้น, ไม่เป็นอาบัติ. แต่ในมหาปัจจรี
ท่านกล่าวว่า ชั้นที่สุดแม้ด้วยชิ้นสมอ.
สองบทว่า วิปุเลน วา ปริตฺตํ นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบโดยความวิปลาส
(ตรงกันข้าม) จากที่กล่าวแล้ว.
สองบทว่า อญฺญํ ปริกฺขารํ มีความว่า บริขารชนิดใดชนิดหนึ่งมี
ถลกบาตรเป็นต้น. แต่แม้ผ้ากรองน้ำมีขนาดเท่าจีวรอย่างต่ำที่ต้องวิกัป
ไม่ควร. จีวรใด ไม่พอที่จะอธิษฐานไม่พอที่จะวิกัป, จีวรนั้น ควร
ทุกอย่าง. ถ้าแม้นเป็นผ้าเปลือกฟูกมีขนาดเท่าเตียง ก็สมควรเหมือนกัน.
ก็จะป่วยกล่าวไปไยในผ้าถลกบาตรเป็นต้นเล่า ? บทที่เหลือมีอรรถตื้น
ทั้งนั้น.
บรรดาสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 6 เป็นทั้งกิริยา
ทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม
วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
พรรณนาจีวรปฏิคคหณสิกขาบทที่ 5 จบ

จีวรวรรค สิกขาบทที่ 6
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร


[53] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระ-
อุปนันทศากยบุตร เป็นผู้เชี่ยวชาญแสดงธรรมีกถา จึงเศรษฐีบุตรผู้หนึ่ง
เข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ครั้นแล้วอภิวาทที่ท่านพระอุปนันท-
ศากยบุตร แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้
ชี้แจงด้วยธรรมีกถาให้เศรษฐีบุตรสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงแล้ว
เศรษฐีบุตรนั้น อันท่านพระอุปนันทศากยบุตรชี้แจง ด้วยธรรมี-
กถา ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงแล้ว ได้ปวารณาท่านพระอุปนันท-
ศากยบุตรในทันใดนั้นแลอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าพึงบอก
สิ่งที่ต้องประสงค์ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขารอันเป็น
ปัจจัยของภิกษุไข้ ซึ่งข้าพเจ้าสามารถจะจัดถวายแด่พระคุณเจ้าได้
ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ได้กล่าวคำนี้กะเศรษฐีบุตรนั้นว่า ถ้า
ท่านประสงค์จะถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้
เศรษฐีบุตรได้กล่าวขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า กระผมเป็นกุลบุตรจะเดิน
ไปมีผ้าผืนเดียวดูกระไรอยู่ โปรดรออยู่ชั่วเวลาที่กระผมกลับไปบ้าน
กระผมไปถึงบ้านแล้ว จักจัดส่งผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้ หรือผ้าที่ดี
กว่านี้มาถวาย
แม้ครั้งที่สองแล ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็ได้กล่าวคำนี้กะ
เศรษฐีบุตรนั้นว่า ถ้าท่านประสงค์จะถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าสาฎก
ผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้