เมนู

อันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเข้าไปหาภิกษุณีนั้นถึงสำนัก ครั้นแล้ว
นั่งบนอาสนะ เปิดองค์กำเนิดเบื้องหน้าภิกษุณีนั้น แม้ภิกษุณีนั้นก็นั่ง
บนอาสนะ เปิดองค์กำเนิดเบื้องหน้าท่านพระอุทายี ๆ มีความกำหนัด
ได้เพ่งดูองค์กำเนิดของนาง อสุจิได้เคลื่อนจากองค์กำเนิดของท่านพระ-
อุทายี ๆ ได้พูดเคาะนางว่า ดูก่อนน้องหญิง เธอจงไปหาน้ำมา ฉันจะ
ซักผ้าอันตรวาสก
นางบอกว่า ส่งมาเถิดเจ้าข้า ดิฉันเองจักซักถวาย ครั้นแล้วนาง
ได้ดูดอสุจินั้นของท่านส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งได้สอดเข้าไปในองค์กำเนิด
นางได้ตั้งครรภ์เพราะเหตุนั้นแล้ว
ภิกษุณีทั้งหลายได้พูดกันอย่างนี้ว่า ภิกษุณีรูปนี้มิใช่พรหมจาริณี
ภิกษุณีรูปนี้จึงมีครรภ์
นางพูดว่า แม่เจ้า ดิฉันมิใช่พรหมจาริณีก็หาไม่ ครั้นแล้วนางได้
แจ้งความนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
ภิกษุณีทั้งหลาย พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่าน
พระอุทายี จึงได้ให้ภิกษุณีซักจีวรเก่า แล้วแจ้งความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี
จึงได้ให้ภิกษุณีซักจีวรเก่าเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์สอบถาม


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน
พระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า เธอให้ภิกษุณีซักจีวรเก่า จริงหรือ

ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ภ. นางเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ
อุ. มิใช่ญาติ ทรงพระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
ไม่ควรทำ บุรุษที่มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควร การกระทำ
อันน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใสของสตรีที่มิใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น
เธอยังให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักจีวรเก่าได้ การกระทำของเธอนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ยังเลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น
เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความ
เป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.

ทรงบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุทายี โดยอเนกปริยายดังนี้
แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก
ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ
เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า
เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า