เมนู

เอาเท้าเหยียบ เอามือดึงขึ้นแล้วรีดทีหลัง. จีวรนั้นแห้งแล้วด้วยแสงแดด
ก็มีประมาณเท่าเดิมนั่นแล. ภิกษุนั้นก็กระทำอย่างนั้นซ้ำอีก เพราะเหตุ
นั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า ดึงขึ้นแล้วรีดเป็นหลายครั้ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งที่พระคันธกุฎีนั่นแล ทอดพระเนตรเห็น
ภิกษุนั้นลำบากอยู่อย่างนั้น จึงเสด็จออกประดุจเสด็จไปสู่เสนาสนจาริก
ได้เสด็จไปในที่นั้น. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า
อทฺทสา โข ภควา เป็นต้น.
บทว่า เอกาทสมาเส ได้แก่ ตลอด 1 เดือนที่เหลือ เว้นเดือน
กัตติกาหลัง หนึ่งเดือน.
บทว่า สตฺตมาเส ได้แก่ 7 เดือนที่เหลือ เว้น 5 เดือน คือ
เดือนกัตติกานั้นด้วย 4 เดือนฤดูฝนด้วย.

[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยความหวังจะได้จีวร]


หลายบทว่า กาเลปิ อาทิสฺส ทินฺนํ มีความว่า จีวรที่ทายก
อุทิศถวายแก่สงฆ์ว่า นี้เป็นอกาลจีวร หรือที่ทายกถวายแก่บุคคลผู้เดียว
ว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทว่า สงฺฆโต วา มีความว่า จีวรเกิดขึ้นจากสงฆ์ด้วยอำนาจ
แห่งส่วนที่ถึงแก่ตนก็ดี.
บทว่า คณโต วา มีความว่า พวกทายกย่อมถวายแก่คณะอย่างนี้
ว่า พวกข้าพเจ้าถวายจีวรนี้แก่คณะแห่งภิกษุผู้เรียนพระสูตร, ถวายจีวรนี้
แก่คณะแห่งภิกษุผู้เรียนพระอภิธรรม, จีวรพึงเกิดขึ้นจากคณะนั้นด้วย
อำนาจเเห่งส่วนที่ถึงแก่ตนก็ดี.

คำว่า โน จสฺส ปาริปูริ คือ ถ้าผ้านั้นยังไม่พอ. อธิบายว่า
จีวรที่ควรอธิษฐานได้ อันภิกษุทำอยู่ด้วยผ้าประมาณเท่าใดจึงจะพอ, ถ้า
จีวรนั้น ประมาณเท่านั้นยังไม่มี คือขาดไป
ในคำว่า ปจฺจาสา โหติ สงฺฆโต วา เป็นต้น มีวินิจฉัย ดังนี้:-
มีความหวังจากสงฆ์ หรือจากคณะอย่างนี้ว่า ณ วันชื่อโน้น สงฆ์
จักได้จีวร, คณะจักได้จีวร, จีวรจักเกิดขึ้นแก่เรา จากสงฆ์ หรือจาก
คณะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า มีความหวังจากญาติ หรือจากมิตร
อย่างนี้ว่า ผ้าพวกญาติส่งมาแล้ว พวกมิตรส่งมาแล้วแก่เราเพื่อประโยชน์
แก่จีวร, ชนเหล่านั้นมาแล้ว จักถวายจีวร.
ก็ในบทว่า ปํสุกูลโต วา ผู้ศึกษาพึงประกอบคำว่า มีความ
หวังจะได้ อย่างนี้ว่า เราจักได้ผ้าบังสกุลก็ตาม.
สองบทว่า อตฺตโน วา ธเนน ความว่า มีความหวังอย่างนี้ว่า
เราจักได้ในวันชื่อโน้นด้วยทรัพย์มีฝ้ายและด้ายเป็นต้น ของตนก็ตาม.
ข้อว่า ตโต เจ อุตฺตรึ นิกฺขิเปยฺย สติยาปิ ปจฺจาสาย มีความว่า
ถ้าหากภิกษุพึงเก็บไว้เกินกว่าเดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง, เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์.
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้อย่างนี้ เพราะเมื่อจีวรที่หวังจะได้
มาเกิดขึ้นในระหว่าง จีวรที่หวังจะได้มาซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จีวรเดิมเกิด
ในรูป จนถึงวันที่ 20 ย่อมทำจีวรเดิมให้มีคติแห่งตน, ต่อจากวันที่ 20
นั้นไป จีวรเดิมย่อมทำจีวรที่หวังจะได้มาให้มีคติแห่งตน; ก็เพราะเหตุนั้น
เพื่อทรงแสดงความพิเศษนั้นจึงตรัสบทภาชนะโดยนัยมีอาทิว่า ตทหุปฺ-
ปนฺเน มูลจีวเร
ดังนี้. คำว่า. คำว่า ตทหุปฺปนฺเน เป็นต้น มีอรรถกระจ่างทีเดียว.

คำว่า วิสภาเค อุปฺปนฺเน มูลจีวเร มีความว่า ถ้าว่าจีวรเดิม
เนื้อละเอียด จีวรที่หวังจะได้มา เนื้อหยาบ ไม่อาจเพื่อประกอบเข้ากันได้
และราตรีก็ยังมีเหลือ คือยังไม่เต็มเดือนก่อน.
บทว่า น อกามา มีความว่า ภิกษุเมื่อไม่ปรารถนาก็ไม่พึงให้ทำ
จีวร. ได้จีวรที่หวังจะได้มาอื่นแล้วเท่านั้น พึงกระทำในภายในกาล.
แม้จีวรที่หวังจะได้มา พึงอธิษฐานเป็นบริขารโจล. ถ้าจีวรเดิมเป็นผ้า
เนื้อหยาบ, จีวรที่หวังจะได้มาเป็นผ้าเนื้อละเอียด พึงอธิษฐานจีวรเดิม
ให้เป็นบริขารโจล แล้วเก็บจีวรที่หวังจะได้มานั่นแล ให้เป็นจีวรเดิม.
จีวรนั้นย่อมได้บริหารอีกเดือนหนึ่ง ภิกษุย่อมได้เพื่อผลัดเปลี่ยนกันและกัน
เก็บไว้เป็นจีวรเดิมจนตราบเท่าที่ตนปรารถนา โดยอุบายนี้นั้นแล. คำที่
เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น. ปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียวกับ
ปฐมกฐินสิกขาบทนั้นแล.
พรรณนาตติยกฐินสิกขาบทที่ 3 จบ

จีวรวรรค สิกขาบทที่ 4


เรื่องพระอุทายี


[42] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ปุราณทุติยิกา
ของท่านพระอุทายี บวชอยู่ในสำนักภิกษุณี นางมายังสำนักท่านพระ-
อุทายีเสมอ แม้ท่านพระอุทายีก็ไปยังสำนักภิกษุณีนั้นเสมอ และบางครั้ง
ก็ฉันอาหารอยู่ในสำนักภิกษุณีนั้น เช้าวันหนึ่ง ท่านพระอุทายีครอง