เมนู

อาบัติทุกกฏ จีวรยังไม่ล่วงเดือนหนึ่ง ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


จีวรยังไม่ล่วงเดือนหนึ่ง ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง บริโภค ไม่ต้อง
อาบัติ.

อนาปัตติวาร


[41] ในภายในหนึ่งเดือน ภิกษุอธิษฐาน 1 ภิกษุวิกัปไว้ 1
ภิกษุสละให้ไป 1 จีวรหาย 1 จีวรฉิบหาย 1 จีวรถูกไฟไหม้ 1 โจร
ชิงเอาไป 1 ภิกษุถือวิสาสะ 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1
ไม่ต้องอาบัติแล.

จีวรวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ


จีวรวรรคที่ 1 สิกขาบทที่ 3


พรรณนาตติยกฐินสิกขาบท


ตติกฐินสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:- พึงทราบวินิจฉัยตติยกฐินสิกขาบท ดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถเรื่องภิกษุรูปหนึ่ง]


หลายบทว่า อุสฺสาเปตฺวา ปุนปฺปุนํ วิมชฺชติ มีความว่า ภิกษุ
นั่นสำคัญว่า เมื่อรอยย่นหายแล้ว จีวรนี้ จักใหญ่ขึ้น จึงเอาน้ำรด

เอาเท้าเหยียบ เอามือดึงขึ้นแล้วรีดทีหลัง. จีวรนั้นแห้งแล้วด้วยแสงแดด
ก็มีประมาณเท่าเดิมนั่นแล. ภิกษุนั้นก็กระทำอย่างนั้นซ้ำอีก เพราะเหตุ
นั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า ดึงขึ้นแล้วรีดเป็นหลายครั้ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งที่พระคันธกุฎีนั่นแล ทอดพระเนตรเห็น
ภิกษุนั้นลำบากอยู่อย่างนั้น จึงเสด็จออกประดุจเสด็จไปสู่เสนาสนจาริก
ได้เสด็จไปในที่นั้น. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า
อทฺทสา โข ภควา เป็นต้น.
บทว่า เอกาทสมาเส ได้แก่ ตลอด 1 เดือนที่เหลือ เว้นเดือน
กัตติกาหลัง หนึ่งเดือน.
บทว่า สตฺตมาเส ได้แก่ 7 เดือนที่เหลือ เว้น 5 เดือน คือ
เดือนกัตติกานั้นด้วย 4 เดือนฤดูฝนด้วย.

[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยความหวังจะได้จีวร]


หลายบทว่า กาเลปิ อาทิสฺส ทินฺนํ มีความว่า จีวรที่ทายก
อุทิศถวายแก่สงฆ์ว่า นี้เป็นอกาลจีวร หรือที่ทายกถวายแก่บุคคลผู้เดียว
ว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทว่า สงฺฆโต วา มีความว่า จีวรเกิดขึ้นจากสงฆ์ด้วยอำนาจ
แห่งส่วนที่ถึงแก่ตนก็ดี.
บทว่า คณโต วา มีความว่า พวกทายกย่อมถวายแก่คณะอย่างนี้
ว่า พวกข้าพเจ้าถวายจีวรนี้แก่คณะแห่งภิกษุผู้เรียนพระสูตร, ถวายจีวรนี้
แก่คณะแห่งภิกษุผู้เรียนพระอภิธรรม, จีวรพึงเกิดขึ้นจากคณะนั้นด้วย
อำนาจเเห่งส่วนที่ถึงแก่ตนก็ดี.