เมนู

[อนุบัญญัติแก้อรรถเรื่องภิกษุอาพาธ]


คำว่า อวิปฺปวาสสมฺมตึ ทาตุํ มีความว่า สมมติในการไม่อยู่ปราศ
(ไตรจีวร) ชื่ออวิปปวาสสมมติ. อนึ่ง สมมติ เพื่อการไม่อยู่ปราศ (ไตร
จีวร) ชื่ออวิปปวาสสมมติ. ก็ในอวิปปวาสสมมตินี้ มีอานิสงส์อย่างไร ?
ภิกษุอยู่ปราศจากจีวรผืนใด, จีวรผืนนั้น ย่อมไม่เป็นนิสสัคคีย์ และภิกษุ
ผู้อยู่ปราศจากไม่ต้องอาบัติ. อยู่ปราศจากได้สิ้นเวลาเท่าไร ? พระมหา-
สุมเถระกล่าวไว้ก่อนว่า ชั่วเวลาที่โรคยิ่งไม่หาย, แต่เมื่อโรคหายแล้ว
ภิกษุพึงรีบกลับมาสู่สถานที่เก็บจีวร ดังนี้. พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า
เมื่อภิกษุนั้นรีบด่วนมา โรคพึงกลับกำเริบขึ้น; เพราะฉะนั้น ควรจะ
ค่อย ๆ มา, ก็ภิกษุยังแสวงหาพวกเกวียน หรือว่า ทำความผูกใจอยู่ว่า
เราจะไป จำเดิมแต่กาลใด, จะอยู่ปราศจากจำเดิมแต่กาลนั้นไป ก็ควร,
แต่เมื่อภิกษุทำการทอดธุระอย่างนี้ว่า เราจักยังไม่ไปในเวลานี้ พึงถอน
เสีย, ไตรจีวรที่ถอนแล้วจักตั้งอยู่ในฐานะเป็นอติเรกจีวร ดังนี้.
ถามว่า ถ้าว่า โรคของเธอกลับกำเริบขึ้น, เธอจะพึงทำอย่างไร ?
แก้ว่า พระปุสสเทวเถระ กล่าวไว้ก่อนว่า ถ้าโรคนั้นนั่นเองกลับ
กำเริบขึ้น อวิปปวาสสมมตินั้นนั่นแล ยังคงเป็นสมมติอยู่ ไม่มีกิจที่จะ
ต้องให้สมมติใหม่; ถ้าโรคอื่นกำเริบ, พึงให้สมมติใหม่ ดังนี้. พระ-
อุปติสสเถระกล่าวว่า โรคนั้น หรือโรคอื่นก็ตาม จงยกไว้, ไม่มีกิจที่
จะต้องให้สมมติใหม่ ดังนี้.
ส่วนในบทว่า นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ภิกฺขุนา นี้ บัณฑิตอย่าเข้าใจอรรถ
เหมือนในสิกขาบทก่อน พึงทราบอรรถแห่งตติยาวิภัตติ ด้วยอำนาจแห่ง
ฉัฏฐีวิภัตติอย่างนี้ว่า นิฏฺฐิต จีวรสฺมึ ภิกฺขุโน เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จ

แล้ว ดังนี้. เพราะอรรถด้วยอำนาจแห่งตติยาวิภัตติว่า กิจชื่อนี้ อันภิกษุ
พึงกระทำ ดังนี้ ไม่มี, แต่ว่า อรรถด้วยอำนาจแห่งฉัฏฐีวิภัตติอย่างนี้ว่า
เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว และเมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุมีปลิโพธขาด
แล้วอย่างนี้ พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง ดังนี้ ย่อมสมควร
(เพราะเหตุใด; เพราะเหตุนั้น พึงทราบอรรถแห่งตติยาวิภัตติด้วยอำนาจ
ฉัฏฐีวิภัตติ).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติจีวเรน ได้แก่ จากบรรดาไตรจีวรที่
อธิษฐานแล้ว จีวรผืนใดผืนหนึ่ง. จริงอยู่ ภิกษุแม้อยู่ปราศจากจีวรผืน
เดียว ก็จัดว่าเป็นผู้อยู่ปราศจากไตรจีวร เพราะเป็นผู้อยู่ปราศจาก (จีวร
ผืนหนึ่ง) อันนับเนื่องในความสำเร็จเป็นไตรจีวร เพราะเหตุนั้นนั่นแล
ในบทภาชนะแห่งบทว่า ติจีวเรน นั้น พระองค์จึงตรัสคำว่า สงฺฆาฏิยา
เป็นต้น.
บทว่า วิปฺปวเสยฺย คือ พึงเป็นผู้อยู่ปราศจาก.

[อธิบายสถานที่เก็บจีวรและวิธีปฏิบัติ]


คำว่า คาโม เอกูปจาโร เป็นอาทิ ตรัสไว้เพื่อให้กำหนดลักษณะ
แห่งการไม่อยู่ปราศจาก (ไตรจีวร). ต่อจากคำว่า คาโม เอกูปจาโร
เป็นต้นนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงขยายบทมาติกา 15 บท
เหล่านั้นนั่นแล ให้พิสดารตามลำดับ จึงตรัสว่า คาโม เอกูปจาโร นาม
เป็นต้น. ในคำว่า คาโม เอกูปจาโร นั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
พระราชวังของพระราชาพระองค์หนึ่ง หรือบ้านของนายบ้านคน
หนึ่ง ชื่อว่าบ้านของตระกูลเดียว. บทว่า ปริกฺขิตฺโต มีความว่า ล้อม
แล้วด้วยกำแพง ด้วยรั้ว หรือด้วยคู อย่างใดอย่างหนึ่ง.