เมนู

จีวรวรรคที่ 1 สิกขาบทที่ 2



พรรณนาอุทโทสิตสิกขาบท


อุทโทสิตสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นอาทิ
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- วินิจฉัยในอุทโทสิตสิกขาบทนั้น พึงทราบ
ต่อไปนี้:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุหลายรูป]


บทว่า สนฺตรุตฺตเรน มีความว่า อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) ตรัส
เรียกว่า อันตระ. อุตราสงค์ (ผ้าห่ม) ตรัสเรียกว่า อุตตระ. ผ้าห่มกับ
ผ้านุ่งชื่อว่า สันตรุตตระ. มีแต่ผ้าห่มกับผ้านุ่งนั้น. อธิบายว่า พร้อมด้วย
ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก.
บทว่า ณฺณกิตานิ ได้แก่ เกิดราเป็นจุดดำ ๆ ขาว ๆ ในโอกาสที่
เหงื่อถูก.
คำว่า อทฺทสา โข อายสฺมา อานนฺโท เสนาสนจาริกํ อาหิณฺฑนฺโต
มีความว่า ได้ยินว่า พระเถระ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าสู่พระ-
คันธกุฏี เพื่อพระประสงค์จะพักผ่อนในกลางวัน ได้โอกาสนั้นแล้ว เก็บ
ภัณฑะไม้ และภัณฑะดิน ที่เก็บไว้ไม่ดี ปัดกวาดสถานที่ที่ไม่ได้กวาด
กระทำปฏิสันถารกับพวกภิกษุอาพาธ ไปถึงเสนาสนสถานแห่งภิกษุ
เหล่านั้นได้เห็นแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า
ท่านพระอานนท์ เที่ยวไปยังเสนาสนจาริกได้เห็นแล้วแล.

[อนุบัญญัติแก้อรรถเรื่องภิกษุอาพาธ]


คำว่า อวิปฺปวาสสมฺมตึ ทาตุํ มีความว่า สมมติในการไม่อยู่ปราศ
(ไตรจีวร) ชื่ออวิปปวาสสมมติ. อนึ่ง สมมติ เพื่อการไม่อยู่ปราศ (ไตร
จีวร) ชื่ออวิปปวาสสมมติ. ก็ในอวิปปวาสสมมตินี้ มีอานิสงส์อย่างไร ?
ภิกษุอยู่ปราศจากจีวรผืนใด, จีวรผืนนั้น ย่อมไม่เป็นนิสสัคคีย์ และภิกษุ
ผู้อยู่ปราศจากไม่ต้องอาบัติ. อยู่ปราศจากได้สิ้นเวลาเท่าไร ? พระมหา-
สุมเถระกล่าวไว้ก่อนว่า ชั่วเวลาที่โรคยิ่งไม่หาย, แต่เมื่อโรคหายแล้ว
ภิกษุพึงรีบกลับมาสู่สถานที่เก็บจีวร ดังนี้. พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า
เมื่อภิกษุนั้นรีบด่วนมา โรคพึงกลับกำเริบขึ้น; เพราะฉะนั้น ควรจะ
ค่อย ๆ มา, ก็ภิกษุยังแสวงหาพวกเกวียน หรือว่า ทำความผูกใจอยู่ว่า
เราจะไป จำเดิมแต่กาลใด, จะอยู่ปราศจากจำเดิมแต่กาลนั้นไป ก็ควร,
แต่เมื่อภิกษุทำการทอดธุระอย่างนี้ว่า เราจักยังไม่ไปในเวลานี้ พึงถอน
เสีย, ไตรจีวรที่ถอนแล้วจักตั้งอยู่ในฐานะเป็นอติเรกจีวร ดังนี้.
ถามว่า ถ้าว่า โรคของเธอกลับกำเริบขึ้น, เธอจะพึงทำอย่างไร ?
แก้ว่า พระปุสสเทวเถระ กล่าวไว้ก่อนว่า ถ้าโรคนั้นนั่นเองกลับ
กำเริบขึ้น อวิปปวาสสมมตินั้นนั่นแล ยังคงเป็นสมมติอยู่ ไม่มีกิจที่จะ
ต้องให้สมมติใหม่; ถ้าโรคอื่นกำเริบ, พึงให้สมมติใหม่ ดังนี้. พระ-
อุปติสสเถระกล่าวว่า โรคนั้น หรือโรคอื่นก็ตาม จงยกไว้, ไม่มีกิจที่
จะต้องให้สมมติใหม่ ดังนี้.
ส่วนในบทว่า นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ภิกฺขุนา นี้ บัณฑิตอย่าเข้าใจอรรถ
เหมือนในสิกขาบทก่อน พึงทราบอรรถแห่งตติยาวิภัตติ ด้วยอำนาจแห่ง
ฉัฏฐีวิภัตติอย่างนี้ว่า นิฏฺฐิต จีวรสฺมึ ภิกฺขุโน เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จ