เมนู

ชาตินั้น; เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า นิสสัคคีย์ ฉะนี้แล. นิสสัคคีย์
นั้น คืออะไร ? คือ ปาจิตตีย์. ในคำว่า ตํ อติกฺกามยโต นสฺสคฺคิยํ
ปาจิตฺติยํ
นี้ มีใจความดังนี้ว่า เป็นปาจิตตีย์มีการเสียสละเป็นวินัยกรรม
แก่ภิกษุผู้ให้ล่วงกาลนั้นไป.
แต่ในบทภาชนะ เพื่อทรงแสดงอรรถวิกัปแรกก่อน พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงทรงตั้งมาติกาว่า เมื่อภิกษุให้ล่วงกาลนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์
แล้วตรัสคำว่า ในเมื่ออรุณวันที่ 11 ขึ้น เป็นนิสสัคคีย์ คือ อันภิกษุ
พึงเสียสละ ดังนี้. และจีวรนั้น อันภิกษุพึงเสียสละแก่บุคคลใดพึงเสียสละ
โดยวิธีอย่างใด เพื่อทรงแสดงบุคคลและวิธีเสียสละนั้นอีก จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า สงฺฆสฺส วา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ในคำว่า เอกาทเส อรุณุคฺคมเน นี้ ผู้ศึกษา
พึงทราบว่า จีวรเกิดขึ้นในวันใด อรุณแห่งวันนั้น อาศัยวันที่จีวรเกิด
ขึ้น; เพราะเหตุนั้น จึงเป็นนิสสัคคีย์ ในเมื่ออรุณวันที่ 11 ขึ้นรวมกัน
วันที่จีวรเกิด ถ้าแม้ว่า จีวรเป็นอันมากผูกหรือพับรวมกันเก็บไว้ ก็เป็น
อาบัติเพียงตัวเดียว. ไม่จีวรที่พับไว้ไม่รวมกันเป็นอาบัติหลายตัวตาม
จำนวนแห่งวัตถุ.

[อธิบายวิธีเสียสละและวิธีแสดงอาบัติ]


ข้อว่า นิสฺสชฺชิตฺวา อาปตฺติ เทเสตพฺพา มีความว่า ถามว่า พึง
แสดงอาบัติอย่างไร ?
แก้ว่า พึงแสดงเหมือนอย่างที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
ขันธกะ.

ถามว่า ก็ตรัสไว้ในขันธกะนั้น อย่างไร ?
แก้ว่า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น พึงเข้า
ไปหาสงฆ์ กระทำอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้าแห่งภิกษุผู้แก่
ทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่ง ประนมมือ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อหํ ภนฺเต
อิตฺถนฺนามํ อาปตฺตึ อาปนฺโน ตํ ปฏิเทเส1มิ
(ท่านเจ้าข้า ! กระผมต้อง
อาบัติมีชื่ออย่างนี้ ขอแสดงคืนอาบัตินั้น ).
ก็ในอธิการนี้ ถ้าจีวรมีผืนเดียว พึงกล่าวว่า เอกํ นิสฺสคฺคิยํ
ปาจิตฺติยํ...
(ต้องแล้ว) ซึ่งนิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ตัวหนึ่ง. ถ้าจีวร 2 ผืน
พึงกล่าวว่า เทฺว... ซึ่งอาบัติ 2 ตัว. ถ้าจีวรมากผืนพึงกล่าวว่า สมฺพ-
หุลา... ซึ่งอาบัติหลายตัว. แม้ในการเสียสละ ถ้าว่า จีวรมีผืนเดียว
พึงกล่าวตามสมควรแก่บาลีนั่นแลว่า อิทํ เม ภนฺเต จีวรํ ท่านเจ้าข้า !
จีวรของกระผมผืนนี้ เป็นต้น ถ้าหากว่าจีวร 2 ผืน หรือมากผืน พึง
กล่าวว่า อิมานิ เม ภน เต จีวรานิ ทสาหาติกฺกนฺตานิ นิสฺสคฺคิยานิ
อิมานาหํ สงฺฆสฺส นิสฺสชฺชามิ
(ท่านเจ้าข้า ! จีวรของกระผมเหล่านี้ล่วง
10 วัน เป็นนิสสัคคีย์, กระผมเสียสละจีวรเหล่านี้แก่สงฆ์) เมื่อไม่สามารถ
จะกล่าวบาลีได้ พึงกล่าวโดยภาษาอื่นก็ได้. ภิกษุพึงรับอาบัติโดยนัย
ดังกล่าวไว้ในขันธกะนั่นแลว่า ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ. สมจริง
ดังที่ตรัสไว้ ในขันธกะนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงเผดียง
สงฆ์ว่า ท่านเจ้าข้า ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ระลีกได้
เปิดเผย กระทำให้ตื้น ย่อมแสดงซึ่งอาบัติ, ถ้าความพรั่งพร้อมแห่งสงฆ์
ถึงที่แล้ว, ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุมีชื่ออย่างนี้2 ดังนี้.
1. วิ. จุลฺล. 6/270. 2. วิ. จุลล. 6/370.

ภิกษุผู้แสดง อันภิกษุรับอาบัตินั้น พึงกล่าวว่า ปสฺสสิ (เธอเห็น
หรือ).
ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ (ขอรับ ! ผมเห็น)
ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ (เธอพึงสำรวมต่อไป).
ผู้แสดง: สาธุ สุฏฺฐุ สํวริสฺสามิ (ดีละ ผมจะสำรวมให้ดี).
ก็ในอาบัติ 2 ตัว หรือหลายตัวด้วยกัน ผู้ศึกษาพึงทราบความต่าง
แห่งวจนะโดยนัยก่อนนั่นแล แม้ในการให้จีวร (คืน) ก็พึงทราบความ
แตกต่างแห่งวจนะด้วยอำนาจแห่งวัตถุ คือ สงฺโฆ อิมํ จีวรํ อิมานิ
จีวรานิ... สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ พึงให้จีวรทั้งหลายเหล่านี้... ถึงในการ
เสียสละแก่คณะ และแก่บุคคล ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
ก็ในการแสดงและการรับอาบัติในอธิการนี้ มีบาลีดังต่อไปนี้:-
เตน ภิกขุเว ภิกฺขุนา ฯ เปฯ เอวมสฺสุ วจนียา อหํ ภนฺเต อิตฺถนฺนามํ
อาปตฺตึ อาปนฺโน ตํ ปฏิเทสมิ
2 แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อัน
ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุมากรูป กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ไหว้เท้าทั้งหลายแห่งภิกษุผู้แก่ทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี
พึงกล่าวอย่างนั้นว่า ท่านเจ้าข้า ! ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ ขอแสดงคืนซึ่ง
อาบัตินั้น.
อันภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงเผดียงภิกษุเหล่านั้นให้ทราบว่า สุณาตุ
เม ภนฺเต อายสฺมนฺตา อยํ อิตฺถนฺนาโม ภิกฺขุ อาปตฺตึ สรติ วิวรติ
อุตฺตานีกโรติ เทเสติ ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ อหํ อิตฺถนฺนามสฺส
ภิกฺขุโน อาปตฺตึ ปฏิคฺคณฺเห3ยฺยํ
แปลว่า ท่านเจ้าข้า ! ท่านผู้มีอายุ
1. วิ. จุลฺล. 6/370. 2-3. วิ. จุลฺล. 6/369-370

ทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ รูปนี้ย่อมระลึก ย่อมเปิด
เผย ย่อมกระทำให้ตื้น ย่อมแสดงอาบัติ, ถ้าว่าความพรั่งพร้อมแห่งท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุชื่อนี้.
ภิกษุผู้แสดง อันภิกษุผู้รับอาบัตินั้น พึงกล่าวว่า ปสฺสสิ (ท่าน
เห็นหรือ).
ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ (ขอรับ ! ผมเห็น).
ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ* (ท่านพึงสำรวมระวังต่อไป).
ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ทำอุตราสงค์เฉวียงบ่า แล้ว
นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ! ข้าพเจ้า
ต้องอาบัติ มีชื่ออย่างนี้แล้ว, จะแสดงคืนอาบัติ, ภิกษุผู้แสดง อันภิกษุ
ผู้รับอาบัตินั้นพึงกล่าวว่า ปสฺสสิ (ท่านเห็นหรือ).
ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ (ขอรับ ! ผมเห็น).
ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ (ท่านพึงสำรวมระวังต่อไป).
ในวิสัยแห่งการแสดงและรับอาบัตินั้น ผู้ศึกษาพึงทราบการระบุชื่อ
อาบัติและความต่างแห่งวจนะ โดยนัยก่อนนั่นแล. และพึงทราบบาลี
แม้ในการสละแก่ภิกษุ 2 รูป เหมือนในการสละแก่คณะฉะนั้น. ก็ถ้าว่า
จะพึงมีความแปลกกันไซร้, พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสบาลีไว้แผนกหนึ่ง
แม้ในการสละแก่ภิกษุ 2 รูปนี้ เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสปาริสุทธิ-
อุโบสถแก่ภิกษุ 3 รูป โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาต
ให้ภิกษุ 3 รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แลภิกษุเหล่านั้น
พึงทำอุโบสถเหล่านั้นอย่างนี้; ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงเผดียงภิกษุ
* วิ. จุลฺล. 6/369/-370.

เหล่านั้นให้ทราบ แล้วตรัสปาริสุทธิอุโบสถแก่ภิกษุ 2 รูปอีกแผนกหนึ่ง
ต่างหาก โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ภิกษุ 2 รูป
ทำปาริสุทธิอุโบสถ, ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แลภิกษุเหล่านั้น พึงทำอุโบสถ
นั้นอย่างนี้ ภิกษุเถระพึงทำอุตราสงค์เฉวียงบ่า* ดังนี้ ฉะนั้น. ก็เพราะ
ไม่มีความแปลกกัน; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมิได้ตรัสไว้ ทรง
ผ่านไปเสีย เพราะฉะนั้น บาลีในการสละแก่ภิกษุ 2 รูปนี้ เป็นบาลีที่
ตรัสไว้เเก่คณะเหมือนกัน.
ส่วนในการรับอาบัติมีความแปลกกันดังนี้:- บรรดาภิกษุ 2 รูป
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง อย่าตั้งญัตติ เหมือนภิกษุผู้รับอาบัติ ตั้งญัตติ ใน
เมื่อภิกษุผู้ต้องอาบัติสละแก่คณะแล้วแสดงอาบัติ พึงรับอาบัติเหมือน
บุคคลคนเดียวรับฉะนั้น. แท้จริง ชื่อว่าการตั้งญัตติสำหรับภิกษุ 2 รูป
ย่อมไม่มี. ก็ถ้าหากจะพึงมี, พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่พึงตรัสปาริสุทธิ-
อุโบสถไว้แผนกหนึ่ง สำหรับภิกษุ 2 รูป แม้ในการให้จีวรที่เสียสละ
แล้วคืน จะกล่าวว่า อิมํ จีวร อายสฺมโต เทม พวกเราใหัจีวรผืนนี้แก่
ท่าน เหมือนภิกษุรูปเดียวกล่าวว่า อิมํ จีวรํ อายสฺมโต ทมฺมิ ผมให้
จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้ ก็ควร. จริงอยู่ แม้ญัตติทุติยกรรม ซึ่งหนักกว่า
นี้ ตรัสว่า ควรอปโลกน์ทำ ก็มี วินัยกรรมมีการสละนี้ สมควรแก่
ญัตติทุติยกรรมเหล่านั้น. แต่จีวรที่สละแล้ว ควรให้คืนทีเดียว, จะไม่ให้
คืนไม่ได้. ก็การให้คืนจีวรที่สละเสียแล้วนี้เป็นเพียงวินัยกรรม. จีวรนั้น
เป็นอันภิกษุนั้นให้แก่สงฆ์ หรือแก่คณะ หรือแก่บุคคล หามิได้
ทั้งนั้นแล.
* วิ. มหา. 4/243-244.

[แก้อรรถบทภาชนีย์ว่าด้วยอติเรกจีวรล่าง 10 วันเป็นต้น ]


ข้อว่า ทสาหาติกฺกนฺเต อติกฺกนฺตสญฺญี ได้แก่ ผู้มีความสำคัญใน
จีวรที่ล่วง 10 วันแล้วอย่างนี้ว่า จีวรนี้ล่วง (10 วัน) แล้ว. อีกอย่างหนึ่ง
ความว่า เมื่อ 10 วันล่วงแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า 10 วันล่วงไป
แล้ว.
ข้อว่า นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ มีความว่า ความสำคัญที่กล่าวไว้ใน
บทว่า อติกฺกนฺตสญฺญี นี้คุ้มอาบัติไม่ได้, ถึงภิกษุใดจะมีความสำคัญ
อย่างนี้, จีวรนั้น ของภิกษุแม้นั้น ก็เป็นนิสสัคคีย์ และภิกษุนั้น ก็ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ด้วย, หรือเป็นปาจิตตีย์ มีการเสียสละเป็นวินัยกรรม;
เพราะฉะนั้น อรรถวิกัปทั้ง 2 ย่อมถูกต้อง. ทุก ๆ บทก็มีนัยเช่นนี้.
ข้อว่า อวิสฺสชฺชิเต วิสฺสชฺชิตสญฺญี ได้แก่ ผู้มีความสำคัญใน
จีวรที่ตนไม่ได้ให้ คือ ไม่ได้สละให้แก่ใคร ๆ อย่างนี้ว่า เราสละแล้ว.
ข้อว่า อนฏฺเฐ นฏฺฐสญฺญ มีความว่า โจรทั้งหลาย ย่อมลักเอา
ซึ่งจีวรเป็นอันมากของภิกษุเหล่าอื่น ที่เก็บรวมไว้กับจีวรของตน, บรรดา
ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุรูปนี้ เป็นผู้มีความสำคัญในจีวรของตนซึ่งไม่ได้หาย
ไป ว่าหายแล้ว. แม้ในจีวรที่ไม่ได้เสียหายเป็นต้น ก็มีนัยเช่นนี้
ก็ในบทว่า อวิลุตฺเต นี้ พึงทราบสันนิษฐานว่า ในจีวรที่มิได้ถูก
ชิงไป ด้วยอำนาจที่พังห้องแล้วข่มขู่ชิงเอาไป.
ข้อว่า อนิสฺสชฺชิตฺวา ปริภุญฺชติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า
ภิกษุไม่เปลื้องจีวรที่นุ่งครั้งเดียว หรือห่มครั้งเดียวออกจากกายแล้วเที่ยว
ไป แม้ตลอดวัน เป็นอาบัติตัวเดียวเท่านั้น. ภิกษุเปลื้องออกแล้วนุ่ง
หรือห่มจีวรที่ยังไม่สละนั้น เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ประโยค. จัดจีวรที่นุ่งไม่