เมนู

อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ ย่อมทราบได้ด้วยการอนุมานบ้าง
ย่อมทราบได้โดยนัยนี้บ้างว่า ท่านพระสารีบุตร เมื่อทนอดกลั้นความวิโยค
(พลัดพราก) จากพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่สิ้นวันมีประมาณเท่านี้, บัดนี้
นับแต่นี้ไป จักไม่เลยวันชื่อโน้น, ท่านจักมาแน่นอน, จริงอยู่ ชน
ทั้งหลายผู้ซึ่งมีปัญญามาก ย่อมมีความรักและความเคารพในพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามาก ดังนี้. พระเถระย่อมทราบได้ด้วยเหตุหลายอย่างด้วยประการ
อย่างนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกราบทูลว่า จักมาในวัน ที่ 9 หรือวันที่
10 พระพุทธเจ้าข้า ! ดังนี้ เมื่อพระอานนทเถระกราบทูลอย่างนี้แล้ว
เพราะสิกขาบทนี้มีโทษทางพระบัญญัติ มิใช่มีโทษทางโลก; เพราะเหตุ
นั้น ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงทำวันที่ท่านพระอานนท์
กราบทูลนั่นแลให้เป็นกำหนด จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ทรงอดิเรกจีวรไว้ 10 วันเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้
ถ้าหากว่า พระเถระนี้ จะพึงทูลแสดงขึ้นกึ่งเดือน หรือเดือนหนึ่ง, แม้
กึ่งเดือน หรือเดือนหนึ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็จะพึงทรงอนุญาต.

[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยการเดาะกฐิน]


บทว่า นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ได้แก่ เมื่อจีวรสำเร็จแล้ว โดยการสำเร็จ
อย่างใดอย่างหนึ่ง. ก็เพราะจีวรนี้ ย่อมเป็นอันสำเร็จแล้ว ด้วยการ
กระทำบ้าง ด้วยเหตุมีการเสียหายเป็นต้นบ้าง; ฉะนั้น เพื่อทรงแสดง
เพียงแต่อรรถเท่านั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ นั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า ภิกฺขุนา จีวรํ กตํ วา โหติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตํ คือ อันภิกษุกระทำแล้วด้วยกรรม
มีสูจิกรรมเป็นที่สุด. ที่ชื่อว่า กรรมมีสูจิกรรมเป็นที่สุด ได้แก่การทำ

กรรมที่ควรทำด้วยเข็มอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการติดรังดุมและลูกดุมเป็นที่สุด
แล้วก็เก็บเข็มไว้ (ในกล่องเข็ม).
บทว่า นฏฺฐํ คือ ถูกพวกโจรเป็นต้นลักเอาไป. จริงอยู่ แม้
จีวรนั่น ท่านเรียกว่า สำเร็จแล้ว ก็เพราะความกังวล ด้วยการกระทำ
นั่นเอง สำเร็จลงแล้ว
บทว่า วินฏฺฐํ คือ ถูกพวกสัตว์มีปลวกเป็นต้นกัดแล้ว.
บทว่า ทฑฺฒํ คือ ถูกไฟไหม้.
สองบทว่า จีวราสา วา อุปจฺฉินฺนา มีความว่า หมดความหวังใน
จีวรซึ่งบังเกิดขึ้นว่า เราจักได้จีวรในตระกูลชื่อโน้นก็ดี. อันที่จริง ควร
ทราบความที่จีวรแม้เหล่านี้สำเร็จแล้ว เพราะความกังวลด้วยการกระทำ
นั่นแล สำเร็จลงแล้ว.
สองบทว่า อุพฺภตสฺมึ กฐิเน คือ (เมื่อจีวรสำเร็จแล้ว) และเมื่อ
กฐินเดาะเสียแล้ว. ด้วย บทว่า อุพฺภตสฺมึ กฐิเน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงความไม่มีแห่งปลิโพธที่ 2 ก็กฐินนั้น อันภิกษุทั้งหลายย่อม
เดาะด้วยมาติกาอย่างหนึ่งในบรรดามาติกา 8 หรือด้วยการเดาะในระหว่าง
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อฏฺฐนฺนํ มาติกานํ เป็นต้น
ในนิเทศแห่งบทว่า อุพฺภตสฺมึ กฐิเน นั้น
บรรดามาติกาและการเดาะในระหว่างนั้น มาติกา1 8 มาแล้วใน
กฐินขันธกะอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! มาติกาแห่งการเดาะกฐิน 8
เหล่านี้ คือ ปักกมนันติกา นิฏฐานันติกา สันนิฏฐานันติกา นาสนันติกา
สวนันติกา อาสาวัจเฉทิกา สีมาติกกันติกา สหุพภารา.

แม้การเดาะกฐินในระหว่าง ก็มาในภิกขุนีวิภังค์2 อย่างนี้ว่า
1 . วิ. มหา. 1/139. 2. วิ. ภิกฺขุนีวิ. 1/145.

สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ สงฺโฆ กฐินํ อุธเรยฺย
เอสา ญตฺต, สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ กฐินํ อุทฺธรติ ยสฺสายสฺมโต ขมติ
กฐินสฺส อุพฺภาโร โส ตุณฺหสฺส ยสฺส นกฺขมติ โส ภาเสยฺย, อุพฺภติ
สงฺเฆน กฐินํ ขมติ สงฺฆสฺส ตสฺมา ตุณฺหี เอวเมตํ ธารยามิ
แปลว่า
ท่านเจ้าข้า ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า, ถ้าความพรั่งพร้อมแห่งสงฆ์ถึงที่แล้ว,
สงฆ์พึงเดาะกฐิน, นี้คำเสนอ, ท่านเจ้าข้า ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า, สงฆ์
ย่อมเดาะกฐิน, การเดาะกฐินควรแก่ท่านผู้มีอายุใด ท่านผู้มีอายุนั้นพึง
นิ่งอยู่, ถ้าไม่ควรแก่ท่านผู้มีอายุใด ท่านผู้มีอายุนั้น พึงพูดขึ้น, กฐิน
อันสงฆ์เดาะแล้วย่อมควรแก่สงฆ์; เพราะฉะนั้น สงฆ์พึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้า
จะทรงไว้ซึ่งความเป็นผู้นิ่งอยู่แห่งสงฆ์อย่างนั้นแล.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาคำที่ควรกล่าวในมาติกา เละอันตรุพภารานั้น
ทั้งหมด ในอาคตสถานนั้นแล, แต่เมื่อจะกล่าวเสียในที่นี้ บาลีที่ควรจะ
นำมาก็ดี เนื้อความที่ควรจะกล่าวก็ดี แม้จะเป็นอันกล่าวแล้ว, แต่ก็เป็น
เรื่องที่รู้ได้ไม่ง่าย เพราะกล่าวไว้ในฐานะอันไม่ควร.
บทว่า ทสาหปรมํ มีวิเคราะห์ว่า 10 วัน เป็นกำหนดอย่างยิ่ง
แห่งกาลนั้น; เพราะเหตุนั้น กาลนั้นจึงชื่อว่ามี 10 วันเป็นอย่างยิ่ง
อธิบายว่า จีวรนั้น อันภิกษุพึงทรงไว้ ตลอดกาลมี 10 วันเป็นอย่างยิ่ง.
แต่เพื่อจะทรงแสดงแต่อรรถเท่านั้น ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า พึงทรงไว้ได้ 10 วันเป็นอย่างยิ่ง จริงอยู่ มีคำอธิบายว่า
ความเป็นกาลมี 10 วันเป็นอย่างยิ่ง ที่ตรัสไว้ในบทว่า ทสาหปรมํ นี้
ภาวะแห่งกาละมี 10 วันเป็นอย่างยิ่งนั้น มีใจความดังนี้ว่า พึงทรงไว้
ได้ชั่วกาลประมาณเท่านี้ที่ยังไม่ล่วงเลยไป จีวรที่ชื่อว่า อติเรก เพราะ

ไม่นับเข้าในจำพวกจีวรที่อธิษฐานและวิกัปไว้; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อดิเรกจีวร. ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า อติเรกจีวร นั้น จึง
ตรัสว่า จีวรที่ไม่ได้อธิษฐาน และไม่ได้วิกัปไว้.

[อธิบายกำเนิดจีวร 6 ชนิด]


ข้อว่า ฉนฺนํ จีวรานํ อญฺญตรํ มีความว่า บรรดาจีวร 6 ชนิด
เหล่านี้ คือ จีวรผ้าเปลือกไม้ 1 จีวรผ้าฝ้าย 1 จีวรผ้าไหม 1 จีวรผ้า
กัมพล 1 จีวรผ้าป่าน 1 จีวรหาผสมกัน* 1 จีวรอย่างใดอย่างหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกำเนิดแห่งจีวร ด้วยคำว่า ฉนฺนํ
เป็นต้นนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงขนาด (แห่งจีวรนั้น) จึงตรัสว่า จีวร
อย่างต่ำควรจะวิกัปได้ ดังนี้. ขนาดแห่งจีวรนั้น ด้านยาว 2 คืบ ด้าน
กว้าง คืบหนึ่ง ในขนาดแห่งจีวรนั้น มีพระบาลีดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้วิกัปจีวรอย่างต่ำ ด้านยาว 9 นิ้ว กว้าง 4 นิ้ว
โดยนิ้วพระสุคต2.
ข้อว่า ตํ อติกฺกามยโต นิสฺสคฺคิยํ มีความว่า เมื่อภิกษุ
ยังจีวรมีกำเนิดและประมาณตามที่กล่าวแล้วนั้น ให้ล่วงกาลมี 10 วันเป็น
อย่างยิ่ง คือ เมื่อไม่ทำโดยวิธีที่จะไม่เป็นอติเรกจีวรเสียในระหว่างกาลมี
10 วัน เป็นอย่างยิ่งนี้ เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์. อธิบายว่า จีวรนั้น เป็น
นิสสัคคีย์ด้วย เป็นอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง การ
เสียสละ ชื่อว่า นิสสัคคีย์. คำว่า นิสสัคคีย์ นั่นเป็นชื่อของวินัยกรรม
อันภิกษุพึงกระทำในกาลเป็นส่วนเบื้องต้น, การเสียสละมีอยู่ แก่ธรรม-
1. วิ. มหา. 5/192. 2. วิ. มหา. 5/214.