เมนู

บทว่า สุกกะ อธิบายว่า สุกกะมี 10 อย่าง คือ สุกกะสีเขียว 1
สุกกะสีเหลือง สุกกะสีแดง 1 สุกะสีขาว 1 สุกกะสีเหมือนเปรียง 1
สุกกะสีเหมือนน้ำท่า 1 สุกกะสีเหมือนน้ำมัน 1 สุกกะสีเหมือนนมสด 1
สุกกะสีเหมือนนมส้ม 1 สุกกะสีเหมือนเนยใส 1
การกระทำอสุจิให้เคลื่อนจากฐานตรัสเรียกว่า การปล่อย ชื่อว่า
การปล่อย.
บทว่า เว้นไว้แต่ฝัน คือว่า ยกเว้นความฝัน.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น
ได้ ชักเข้าหาอาบัติเดิมได้ ให้มานัตได้ เรียกเข้าหมู่ได้ ไม่ใช่คณะมาก
รูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆา-
ทิเสส
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของหมวด
อาบัตินั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์


(อุบาย 4)


[304] ภิกษุปล่อยสุกกะในรูปภายใน 1 ปล่อยสุกกะในรูปภาย
นอก 1 ปล่อยสุกกะในรูปทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอก 1 ปล่อยเมื่อ
ยังสะเอวให้ไหวในอากาศ 1

(กาล 5)


ปล่อยเมื่อเวลาเกิดความกำหนัด 1 ปล่อยเมื่อเวลาปวดอุจจาระ
ปล่อยเมื่อเวลาปวดปัสสาวะ 1 ปล่อยเมื่อเวลาต้องลม 1 ปล่อยเมื่อเวลา
ถูกบุ้งขน 1