เมนู

[655] บทว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเท้าถึงสิกขาบทก่อน.
บทว่า อนิยต แปลว่า ไม่แน่นอน คือ เป็นสังฆาทิเสสก็ได้ เป็น
ปาจิตตีย์ก็ได้.

บทภาชนีย์


[656] ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ
พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ
ตามอาบัติ
ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ
เพราะการนั่ง
ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่
พึงปรับ
ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ
ตามอาบัติ
ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึง
ปรับตามอาบัติ
ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ
เพราะการนั่ง
ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ
ไม่พึงปรับ.
อนิยตสิกขาบทที่ 2 จบ

บทสรุป


[657] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมคืออนิยต 2 สิกขาบท ข้าพเจ้า
ยกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ อนิยต 2
สิกขาบทเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถาม
แม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้
ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้
บริสุทธิ์แล้วในธรรม คือ อนิยต 2 สิกขาบทเหล่านี้ เหตุนั้น จึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
อนิยตภัณฑ์ จบ

หัวข้อประจำเรื่อง


อนิยต 2 สิกขาบท คือ นั่งในที่ลับพอจะทำการได้ 1 แลนั่ง
ในที่เช่นนั้น แต่หาเป็นที่พอจะทำการได้ไม่ 1 พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ผู้คงที่ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว ดังนี้แล.

พรรณนาอนิยตสิกขาบทที่ 2


อนิยตสิกขาบทที่ 2 ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น
ข้าพเจ้าจะขอกล่าวต่อไป:- ในอนิยตสิกขาบทที่ 2 นั้น มีวินิจฉัยดัง
ต่อไปนี้ :-
ไม่คำว่า ภควตา ปฏิกฺขิตฺตํ เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบสัมพันธ์
อย่างนี้ว่า ภิกษุรูปเดียว พึงสำเร็จการนั่งใด ในที่ลับ คือ อาสนะกำบัง