เมนู

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน
พระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือใน
อาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จริงหรือ
ท่านพระอุทายีทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
ไม่ควรทำ ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ
ในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า การ
กระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดย
ที่แท้ การกระทำของเธอนั้น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใส
แล้ว
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริ-
ยาย ดังนี้แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุง
ยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี
ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน
บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก-

ปริยายแล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่
เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความรับ
ว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อ
ป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิด
ในอนาคต 1 เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่ง
พระสัทธรรม 1 เพื่อถือตามพระวินัย 1
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


18. 1. อนึ่ง ภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือใน
อาสนะกำบัง พอจะทำการได้มาตุคามผู้เดียว อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อ
ได้ เห็นภิกษุกับมาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม 3 ประการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วย
ปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม 3 ประการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วย
ปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วย
ธรรมใด ภิกษุนั้นพิงถูกปรับด้วยธรรมนั้น ธรรมนี้ชื่อ อนิยต.
เรื่องพระอุทายีกับนางวิสาขา จบ